วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

นายจิมมี่ ชวาลา นักธุรกิจผู้ประกอบการค้าผ้ารายใหญ่ของ จ.นครศรีธรรมราช จะสมทบโครงการร่วมบริจาคในโครงการ “ก้าวคนละก้าว” ของ “ตูน บอดี้สแลม” ในนามของชาวนครศรีธรรมราชทุกคน คนละ 10 บาท รวมจำนวนเงิน 16 ล้านบาท


นายจิมมี่ ชวาลา นักธุรกิจผู้ประกอบการค้าผ้ารายใหญ่ของ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสังคมถึงการเป็นผู้ให้ จะสมทบโครงการร่วมบริจาคในโครงการ “ก้าวคนละก้าว” ของ “ตูน บอดี้สแลม” ในนามของชาวนครศรีธรรมราชทุกคน คนละ 10 บาท รวมจำนวนเงิน 16 ล้านบาท


ซึ่งไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นแต่อย่างใด เนื่องจากทุกคนต่างทราบกันดีถึงการเป็นผู้ให้ของนายจิมมี่ และทุกครั้งที่นายจิมมี่ บริจาคสมทบทุนในงานบุญคราวละมากๆ นั้น จะไม่เคยประกาศในนามของตัวเองเลย แต่จะประกาศทุกครั้งในนามของ “ชาวนครศรีธรรมราช”


♢♢♢♢♢♢♢♢♢♢♢♢

 เผยประวัตินาย “จิมมี่ ชวาลา” มหาเศรษฐีผู้ใจบุญ


เผยประวัตินาย “จิมมี่ ชวาลา” มหาเศรษฐีผู้ใจบุญ หลังจากชาวพุทธแห่ติดตามข่าว บริจาคเงิน 28 ล้าน นำไปซื้อทองคำหนัก 20 กิโลกรัม เพื่อใช้บูรณะฯปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร-ผู้ดั้นด้นจากอินเดียสู่การเป็น“มังกรเมืองคอน”มหาเศรษฐีผู้ใจบุญ-ยึด”กฎไตรลักษณ์”เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต
จากกรณีที่นายจิมมี่ ชวาลา อายุ 58 ปี คหบดีมหาเศรษฐีเจ้าของกิจการ “จิมมี่คลังผ้า”ใจกลางเมืองนครศรีธรรมราช จะบริจาคทองคำ 20 กิโลกรัม มูลค่า 28 ล้านบาทในนามชาวนครศรีธรรมราช เพื่อบูรณะฯ ปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช
ที่มีคราบสนิมและหมองคล้ำเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2558 และถวายเป็นพุทธบูชาและจนกลายเป็นข่าวที่สร้างความฮือฮายกย่องชื่นชมนายจิมมี่ อย่างกว้างขวาง ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
(9 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าชาวพุทธแห่ติดตามข่าว บริจาคเงิน 28 ล้าน นำไปซื้อทองคำหนัก 20 กิโลกรัม เพื่อใช้บูรณะฯป ลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยได้เข้าไปติดตามความคืบหน้าของข่าวตามสำนักข่าวต่าง ๆ ในโลกออนไลน์หลายหมื่นคน โดยส่วนใหญ่อยากทราบถึงประวัติความเป็นมากของนายจิมมี่ มหาเศรษฐีผู้ใจบุญว่าเป็นใคร มาจากไหน
ทำไมจึงยอมควักเงินมหาศาลบริจาคเพื่อพุทธศาสนาและถวายเป็นพระราชกุศล นอกจากนี้ได้แห่เดินทางไปอุดหนุนซื้อผ้าร้านจิมมี่ และถามหาตัวนายจิมมี่เพื่อขอถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกจนร้านจิมมี่ มีผู้คนแน่นขนัดตลอดทั้งวัน
สำหรับประวัตินายจิมมี่ ชวาลา อายุ 58 ปี เป็นคนสัญชาติอินเดีย บิดาชื่อนายราม ชวาลา บิดาชาวอินเดียซึ่งนายราม และนายชม บิดานายราม (คุณปู่นายจิมมี่) ได้เดินทางมาจากประเทศอินเดีย เข้ามาปักหลักทำมาหากินในเมืองนครศรีธรรมราช
โดยค้าขายผ้า ต่อมาได้เปิดเป็นร้านขายผ้าชื่อ “ร้านนายชม” ใน ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ในขณะที่นายราม บิดานายจิมมี่ นอกจากจะขายผ้าแล้วยังชื่นชอบ”มวยไทย” ศิลปะการต่อสู้ของเมืองไทยจึงได้ฝึกฝนและชกมวยเป็นอาชีพ โดยชื่อ “รามซิง ศิษย์สุริยะ” จนมีโอกาสเข้าไปชกในเวทีราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร จนมีชื่อเสียงโด่งดัง
นายราม บิดา ได้หันมาเปิดร้านค้าผ้าในตลาดท่าวัง อ.เมืองนครศรีธรรมราชอย่างเต็มตัว โดยธุรกิจรุ่งเรือง เป็นที่รู้จักกันดีของชาวนครศรีธรรมราช ต่อมาในปี 2518 นายจิมมี่ ได้เดินทางจากประเทศอินเดียเข้ามาช่วยดูแลร้านขายผ้าของนายราม บิดา จนกระทั่งนายราม บิดาได้เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 59 ปี นาย นายจิมมี่ ชวาลา จึงได้สืบทอดธุรกิจค้าผ้าต่อจากนายรามบิดา โดยปรับปรุงและเปิดเปิดร้านค้าผ้าใหม่ชื่อร้าน “จิมมี่ คลังผ้า” บริเวณริมถนนราชดำเนิน ใกล้สี่แยกท่าวัง ต.ท่าวัง อ.เมืองนครศรีธรรมราช จนธุรกิจค้าผ้าเจริญรุ่งเรือง เติบโตมาจนถึงปัจจุบัน รวมกว่า 40 ปีมาแล้ว
โดยตลอดระยะเวลาที่นายจิมมี่ ทำธุรกิจค้าผ้าใน จ.นครศรีธรรมราช จนฐานะร่ำรวยระดับเศรษฐีระดับต้น ๆ ของ จ.นครศรีธรรมราช แต่ไม่เคยแล้งน้ำใจและไม่เคยบุญคุณแผ่นดินไทย
นายจิมมี่ ได้เคยบริจาคช่วยเหลือด้านสาธารณะบุญงานกุศลต่าง ๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชแบบไม่เคยคิดที่จะเอาคืนเป็นจำนวนมากและอย่างต่อเนื่อง และส่วนใหญ่จะบริจาคในนามชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่นเดียวกับการบริจาคเงิน 28 ล้านบาท ใช้ซื้อทองคำ 20 กิโลกรัม เพื่อบูรณะฯ แก้ปัญหาคราบสนิมปลียอดพระธาตุนครศรีธรรมราช
นายจิมมี่ ได้ระบุชัดเจนว่า เงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่พี่น้องชาวนครศรีธรรมราช ที่มาอุดหนุนร้านค้าผ้าของนายจิมมี่ มาตลอดเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้วเงินยังเหลือจึงนำเงินเหล่านี้กลับคืนสู่สังคมนครศรีธรรมราช และบริจาคให้ในนามชาวนครศรีธรรมราช บ่งบอกถึงการเป็นเศรษฐีใจบุญและทดแทนบุญคุณแผ่นดินนครศรีธรรมราช และแผ่นดินไทยอย่างแท้จริง
“ในการมอบเงิน 28 ล้านในครั้งนี้เราเป็นเพียงบุรุษไปรษณีย์เท่านั้น โดยเงินนี้เป็นเงินที่มาจากประชาชนชาวนครศรีธรรมราชทั้งนั้น ประชาชนมาอุดหนุนซื้อผ้าจากร้านของเราได้เงินมาหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้วเราก็เก็บเอาไว้ตามปกติ แต่นี่เงินมันเหลือจะเอาไปไหน โดยตาม “กฎไตรลักษณ์”ซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ไม่มีใครเอาอะไรไปได้
เมื่อมันเป็นเงินที่พี่น้องชาวนครศรีธรรมราชมาอุดหนุนร้านจิมมี่และมันเหลือจะเอาไปไหนละ จะให้ลูกหลานหมดเลยหรือ ตัวผมเองพ่อแม่ไม่ได้ทำอะไรไว้ให้มากมายนอกจากให้ชีวิตที่เป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่สุด จะให้เราส่งต่ออะไรให้ลูกหลานมากมายมันคงไม่ใช่ เขาก็สร้างของเขาเองได้ ดังนั้นเราก็เอาส่วนที่เหลือนี้ถวายกลับให้แผ่นดิน เพื่อเป็นพระราชกุศล ทุกคนก็มีรอยยิ้ม พี่ ๆ นักข่าวเองก็มีรอยยิ้มเพราะมันไปในที่ที่ดีทั้งหมด ถ้าเราคิดดี พูดดี และเราทำดี มันก็คือสิ่งดี ๆ ก็ควรจะปล่อยความดีไว้ให้เป็นความดี”นายจิมมี่ กล่าวย้ำหนักแน่น
นายจิมมี่ ได้สร้างฮือฮาในสังคมอีกครั้งหนึ่งเมื่อ เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ปี 2549 นายจิมมี่ ได้จัดงานแต่งงานอย่างสุดหรูให้นายนายวิษณุหรือแซนดี้ ลูกชายวัย 26 ปี โดยทุ่มเงินกว่า 3 ล้านบาทปิดโรงแรมทวินโลตัส เป็นโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว ใจกลางเมืองนครศรีธรรมราช ทั้ง 18 ชั้น เชิญแขกกว่า 2,000 คนมาร่วมงานจนแน่นโรงแรม โดยประกาศไม่ขอรับซองจากแขก แต่หากแขกที่มาร่วมงานท่านใดจะให้ซองก็ให้ใส่ในตู้บริจาค ปรากฏว่าได้เงินกว่า 1 ล้านบาท นำขึ้นทูลเกล้าถวายโดยเสด็จพระราชกุศล
นอกจากนี้ยังประกาศว่าใครสวมใส่ชุดสาหรี่ในงานยังประกาศแจกเงิน  1 แสนบาททันที สำหรับแขกคนไหนที่แต่งชุดสาหรี่มาร่วมงานแต่งลูกชายจนจะมอบเงินให้คนละ 100,000 บาท และในวันงานมีผู้แต่งชุดสาหรี่มาร่วมงานได้รับเงินคนละ 100,000 บาทไปหลายคนจนเป็นที่ฮือฮามาจนถึงทุกวันนี้
“จิมมี่” เป็นหนึ่งในบรรดาผู้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและด้วยจิตวิญญาณของการเป็นผู้ให้ ที่สร้างสีสรร เรื่องราว และสร้างคุณประโยชน์นานาประการให้เกิดขึ้น โดยนายจิมมี่ ประกาศด้วยสำเนียงภาษาไทยปักษ์ใต้อย่างชัดเจนว่า "ผมเป็นคนนคร " ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้ยกย่องว่า“มังกรเมืองคอนมหาเศรษฐีใจบุญ นายจิมมี่ ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็น "คนดีศรีเมืองนคร"
และได้รับปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การตลาด) จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช โดยนายจิมมี่ ยึดหลักการ “รู้คุณ–ทดแทนคุณ” และหลักธรรมของพระพุทธศาสดาคือกฏ“ไตรลักษณ์” อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หมายถึงเกิดมา ตั้งอยู่ และดับไฟ เป็นหลักในการดำเนินชีวิตและธุรกิจมาโดยตลอด.

ไพฑูรย์ อินทศิลา/กัญญาณัฐ เพ็ญสวัสดิ์ /นครศรีธรรมราช

ขอขอบคุณเนื้อหา/ที่มา

วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ข้าวอันดับ 1 ของคนไทย


ข้าวหอมมะลิ ข้าวอันดับ 1 ของคนไทย ประโยชน์มากมาย
ข้าวหอมมะลิ ถือเป็นข้าวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย และเป็นสินค้าการส่งออกทางการเกษตรที่สำคัญมาก สร้างรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท และถือว่ามีบทบาทสำคัญกับชาวนานอย่างยิ่ง ด้วยการคิดค้นสายพันธุ์ของคนไทยทำให้เราได้ข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลกมาไว้ครอบครองเป็นของตัวเอง และทั่วโลกต่างให้การยอมรับและสั่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง นอกจากความอร่อยของข้าวหอมมะลิแล้ว ข้าวหอมมะลิยังมีประโยชน์อีกมากมาย และมีลักษณะเฉพาะที่บางคนอาจจะยังไม่รู้ ถ้าอย่างนั้นแล้วเรามาดูกันครับว่าข้าวหอมมะลิมีลักษณะเฉพาะอะไรบ้าง


ลักษณะจำเพาะของกลิ่นหอมมะลิ

คุณทราบกันไหมครับว่าความหอมของข้าวหอมมะลินั้นสามารถระเหยและหายไปได้ หากเก็บรักษาไม่ถูกวิธี โดยวิธีที่ถูกต้องนั้น ท่านต้องเก็บข้าวหอมมะลิไว้ในที่เย็น โดยมีอุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส และหากเป็นข้าวเปลือกให้เก็บในที่ที่มีความชื้นต่ำ 14-15% ข้าวหอมมะลิส่วนมากนิยมปลูกในที่นาดอน

ข้าวหอมมะลิ เป็นอย่างไร

ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดเท่ามีสายพันธุ์ข้าวในประเทศไทย และยังมีราคาที่แพงที่สุดอีกด้วย เพราะด้วยความอร่อยชวนรับประทานและสามารถปลูกได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมบริโภคอย่างมากสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ สำหรับตลาดในต่างประเทศนั้น มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นมากถึง 148,544 ตัน ประเทศสำคัญต่างที่เป็นลูกค้าหลักในการซื้อข้าวหอมมะลิของไทย ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีคุณภาพสูง และมีข้าวเปลือกเรียวยาว ได้ขนาดมาตรฐานข้าวชั้นหนึ่ง เมื่อสีเป็นข้าวสารจะได้ เมล็ดข้าวที่เรียวยาว ขาวใส เงาแกร่ง และมีท้องไข่น้อย มีกลิ่นหอมอย่างมากเมื่อนำมาหุงเป็นข้าวสุก มีรสชาติ ดี ข้าวหอมมะลิมีอะมิโลสต่ำ คือ ประมาณ 12-18% ทำให้เมื่อข้าวสุกแล้วจะมีความอ่อนนุ่มนิ่มข้าวหอมมะลิเป็นชื่อที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการค้าข้าว นิยมเรียก โดยที่จริงแล้วเพี้ยนมากจากชื่อ ขาวดอกมะลิ และมีชื่อที่เป็นทางการว่า ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งมีความหมายว่า ประเภทข้าวขาว เพราะข้าวเปลือกมีสีขาว และมีกลิ่นหอม ส่วนหมายเลข 105 นั้น ได้มาจากลำดับขั้นตอนในการปรับปรุงพันธุ์

เกรดต่างๆ ของข้าวหอมมะลิ 

ในการจำหน่าย

1. ข้าวหอมมะลิชั้น 1 มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5%
2. ข้าวหอมมะลิชั้น 2 มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15%
3. ข้าวหอมมะลิชั้น 3 มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30%
เชื่อว่าหลายคนคงนิยมบริโภค ข้าวหอมมะลิ เป็นอันดับ 1 แน่นอนใช่ไหมครับเพราะประโยชน์ของข้าวหอมมะลิมีมากมายเหลือเกิน
พูดถึง ประโยชน์ของข้าวหอมมะลิ กันบ้างเชื่อว่าหลายที่ท่านนิยมทานข้าวหอมมะลินั้นเพราะว่าติดใจในรสชาติอร่อย หอม มัน และนุ่มลิ้น แต่จะมีสักกี่คนครับที่รู้ว่าแท้จริงแล้วข้าวหอมมะลิมีคุณประโยชน์มากมายกว่าที่คิด วันนี้เราจะมาดูกันครับว่า ข้าวหอมมะลินั้น มีประโยชน์อะไรบ้าง เพื่อเป็นความรู้รอบตัว

ประโยชน์ของข้าวหอมมะลิ

1. ช่วยบำรุงร่างกาย และเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ช่วยในฟื้นฟูกำลัง สามารถป้องกันอาการอ่อนเพลียได้ เพราะมีวิตามินบี2
2. ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายเจริญโตได้อย่างสมบรูณ์
3. ช่วยบำรุงผิวพรรณสดใส ไม่แห้งแตกมีน้ำมีนวล เพราะมีวิตามินอี
4. บำรุงสุขภาพผิวหนัง และลิ้นได้ดี
5. ช่วยเสริมสร้างและบำรุงการทำงานของระบบประสาท
6. ช่วยป้องกันและลดโอกาสการเกิดโรคความจำเสื่อมอย่างได้ผล
7. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหารได้ เพราะมีวิตามินบี2
8. ช่วยสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง เพราะมีฟอสฟอรัส
9. ช่วยเสริมสร้างการสึกหรอในส่วนต่างๆของร่างกาย เพราะมีโปรตีน
10. สารลูทีนในข้าวหอมมะลิ ยังสมารถช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคต้อกระจก
11. ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง เพราะมีธาตุเหล็ก และธาตุทองแดงในตัวของข้าวหอมมะลิ
12. ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด เพราะมีสารเบต้าแคโรทีน
13. ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง และช่วยส่งออกซิเจนในเลือดไปสู่อวัยวะต่าง ๆของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น เพราะมีธาตุเหล็ก
14. ประโยชน์ของข้าวหอมมะลิ ใยอาหารของข้าวหอมมะลิกล้องสามารถช่วยดูดซับของเสียและสารพิษต่าง ๆ ให้ไปออกจากร่างกายได้ดีมาก
15. สำหรับข้าวหอมมะลิกล้อง มีสรรพคุณช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
16. สำหรับข้าวหอมมะลิแดงสามารถช่วยป้องกันโรคคอหอยพอก เพราะมีไอโอดีน
17. ข้าวหอมมะลิสามารถช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก และริมฝีปากบวม
18. ช่วยในระบบการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้
19. สามารถช่วยลดการเกิดหรือลดอาการของการเป็นตะคริวได้ เพราะมีแคลเซียม
20. อีกทั้งเมล็ดข้าว ยังนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับอีกด้วย
21. ในส่วนของรำข้าวสามารถนำมาทำเป็น น้ำมันรำข้าว สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ ทำลิปสติก ทำยาหม่อง ทำแวกซ์ หรือทำเป็นโลชั่นบำรุงผิว และยังสามารถนำมาแปรรูปได้อีกมากมาย

ตกใจกันเลยทีเดียวใช่ไหมครับกับประโยชน์ของข้าวหอมมะลิที่ทุกท่านอาจจะยังไม่รู้ เห็นไหมครับว่าข้าวหอมมะลินั้นมีประโยชน์มากมายอย่างที่ผมได้กล่าวมา แต่นี่เป็นเพียงประโยชน์บางส่วนเท่านั้น นอกจากนี้ข้าวหอมมะลิยังมีประโยชน์และสรรพคุณอีกเยอะมากเกินกว่าจะบรรยายได้หมด เพราะเหตุผลเหล่านี้ทำให้ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่นิยมบริโภคกันมากที่สุดในประเทศไทย แต่เราจะสังเกตได้อย่างไรว่าข้าวหอมมะลิแท้ต่างจากข้าวหอมมะลิเทียมอย่างตามมาอ่านต่อกันเลย

สำหรับหลายคนซึ่งมีความเข้าใจผิดกันเป็นอย่างมากสำหรับการเลือกซื้อข้าวหอมมะลิตามซุปเปอร์มาเก็ต และคิดว่าข้าวหอมมะลิที่เราซื้อมานั้นเป็นข้าวหอมมะลิแท้ แต่ที่จริงท่านกำลังคิดผิดครับเพราะหลายท่านเวลาเข้าไปในซุปเปอร์มาร์เกตแล้วเห็นคำว่า ข้าวหอมบนถุง ก็หลงเข้าใจว่าเป็นข้าวหอมมะลิแท้ แต่ที่จริงมันเพียงข้าวหอมธรรมดาเท่านั้น

ข้าวหอมมะลิแท้ VS ข้าวหอม

ข้าวหอมมะลิ คือข้าวที่มีสายพันธ์ให้ผลผลิตที่ดีมีกลิ่นหอม เม็ดยาวเรียว ขาวสวย ข้าวหอมมะลิแท้ จะเป็นข้าวนาปีเท่านั้น ข้าวนาปีคือข้าวที่สามารถปลูกได้เพียงปีละหนึ่งครั้ง นิยมปลูกในเขตอีสานหรือภาคเหนือเพราะพื้นที่เพาะปลูกเหมาะมากสำหรับการปลูกข้าวหอมมะลิ จะทำให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดี การเก็บข้าวหอมมะลิเราควรเก็บในที่ซึ่งอุณหภูมิต่ำ ไม่มีความร้อน และมีความชื้นต่ำ หากเราเก็บไว้ในที่ซึ่งมีอุณหภูมิสูงจะทำให้หมดกลิ่นหอม เราจะสังเกตได้ว่าบนถุงของข้าวหอมมะลิแท้ มักเขียนต่อท้ายว่าข้าวจากทุ่งกุลาร้องไห้ นั่นก็เพราะว่าทุ่งกุลาร้องไห้นั้น เป็นบริเวณแหล่งดินทราย ซึ่งทำให้สามารถปลูกข้าวหอมมะลิที่ได้ดี มีรสชาติหอม อร่อย
ข้าวหอม หลายคนสับสนและเข้าใจผิดว่าข้าวหอมคือข้าวหอมมะลิแท้ที่จริงแล้วนั้น ข้าวหมอเป็นเพียงข้าวขาวทั่วไปที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิแต่อย่างใด เพียงแต่ว่า ข้าวหอมนั้นมีกลิ่นหอมที่ใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิก็เท่านั้นเอง ข้าวหอมส่วนใหญ่หมายถึงข้าวพันธ์หอมปทุม ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่มีการพัฒนาเพื่อให้มีความหอมอร่อยใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ และส่วนที่แตกต่างออย่างสิ้นเชิงระหว่างข้าวหอมกับข้าวหอมมะลิคือ ข้าวหอมเป็นข้าวที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี บางครั้งปีหนึ่งปลูกได้ถึง 3 ครั้งเลยทีเดียว ในขณะที่ข้าวหอมมะลิสามารถปลูกได้เพียงปีละครั้ง และให้ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 30-40 ถังในขณะที่ข้าวหอมจะให้ผลผลิตที่ 80-100 ถังต่อไร่ ซึ่งข้าวหอมจะให้ผลผลิตที่มากกว่าและสามารถปลูกได้บ่อยมากกว่า ทำให้ในช่วงหลังเกษตรกรไทยนิยมหันมาปลูกข้าวหอมกันมากกว่าข้าวหอมมะลิ

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าข้าวหอมมะลินั้นจะให้ผลผลิตที่น้อยกว่าและปลูกได้เพียงปีละครั้ง แต่ราคาของข้าวหอมมะลิก็สูงกว่าข้าวหอมเป็นอย่างมาก และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจำนวนมาก เพราะว่า ข้าวหอมมะลิมีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย และมีหอมคล้ายใบเตย อีกทั้งยังมีความนุ่มเวลารับประทาน ทำให้ข้าวหอมมะลิเป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีความนิยมของบริโภคมากที่สุดในประเทศไทย


▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪

ข้าวหอมสุรินทร์แท้
เก็บเกี่ยวเสร็จใหม่ๆ 

จากชาวนา บ้านหนองคู ตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
สั่งซื้อจำนวนมากในราคาพิเศษยินดีส่งให้ถึงที่ 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 
โทรฯ : 09-1678-7156 
คุณกัณณิกา(นาง)

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อย่าแค่แขวนพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ไว้ในบ้าน...



อย่าแค่แขวนพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ไว้ในบ้าน...

ศาสตราจารย์แมนเฟรด คราเมส (Prof.Manfred Krames) เป็นคนเยอรมัน เขาอาศัยอยู่ในศรีลังกาหลายปี กระทั่งหลังเกิดมหาสึนามิไม่นานเขาจึงย้ายมาพำนักที่ ประเทศไทย ณ จังหวัดเชียงใหม่ ฝรั่งคนนี้มีมุมมองที่น่าสนใจยิ่งในเรื่องในหลวงกับคนไทย

เขาบอกว่า เวลาได้ยินคนไทยพูดว่า รักในหลวง เขารู้สึกเศร้าใจ

เขาถามว่า เป็นคุณ ๆ จะไม่เศร้าใจหรือถ้าคุณมีลูกที่ไม่เคยเชื่อคำสอนของคุณเลย ไม่เคยเดินตามแนวทางที่คุณวางไว้ ไม่ต้องการเรียนรู้อะไรจากคุณ

"สิ่งที่พวกเขาทำนั้นเพียงแค่ก่อปัญหาแล้วก็เรียกร้องให้ท่านยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเสมอ ในขณะเดียวกันก็พร่ำพูดว่า ลูกรักพ่อ ถ้าท่านเป็นพ่อ ท่านจะรู้สึกอย่างไร"

ในทัศนะของเขา ในหลวงคือ ครูผู้ยิ่งใหญ่ หรือ บรมครูผู้ที่เราต้องเรียนรู้จากพระองค์ท่าน

"...ทรงเป็นครูของเรา แต่ได้โปรดตระหนักไว้เสมอว่า อย่าศึกษาเล่าเรียนเพื่อเอาใจครู  แต่จงศึกษาเล่าเรียนเพื่อประโยชน์และความดีงามให้แก่ตัวท่านเอง...

...ผมคิดว่า เป็นการไม่รับผิดชอบ ที่จะนั่ง ๆนอน ๆ ใช้ชีวิตอย่างสบายและให้คนคนเดียวทำงานอย่างหนัก เพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาของชาติ ท่าทีเช่นนี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงความไม่เคารพพระองค์ ซึ่งแย่เสียกว่าการพูดถึงพระองค์ในทางที่ไม่ดีในที่สาธารณะ

ประเทศหลายแห่งในโลกจะดีใจมาก  ที่มีพระมหากษัตริย์เช่นนี้ แต่ท่านเองเป็นคนไทย มีพระองค์เป็นกษัตริย์ แต่ไม่ได้นำประโยชน์จากพระองค์มาใช้ประโยชน์ในชีวิตเลย

ผมคิดว่า น่าละอาย ถ้าหากเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไปสู่วาระใหม่และมีกระแสลมแรงมาจากทิศทางอื่น ประเทศหลายแห่งในโลกจะชี้มายังประเทศไทยและดูแคลนว่า ดูสิ พวกเขามีครูที่ยิ่งใหญ่แต่ได้เรียนรู้จากพระองค์น้อยมาก !

ผมรู้สึกสงสารพระองค์อย่างสุดซึ้ง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นบุคคลเพียงคนเดียว ที่พยายามพัฒนาชาติ ในขณะที่คนอื่นๆในชาติเฝ้าแต่รอให้สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้น..."

ศ.คราเมส ระบุว่า จะพบเห็นว่า นักการเมืองจำนวนมากในเอเซีย ที่หลังจากครองอำนาจ และได้ผลประโยชน์แล้ว มักจะไม่ได้ช่วยเหลืออะไรแก่ประชาชนเลย นักการเมืองเหล่านั้น ทำให้ในหลวงทุกข์ใจ  พวกเขาเสแสร้งว่า ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ แต่นั่นเป็นการสร้างภาพไม่ใช่ความจริง !

"พวกเขาเพียงแค่ต้องการใช้ภาพความจงรักภักดีนี้  เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนเทคะแนนให้ ในการเลือกตั้ง และขึ้นสู่อำนาจในเวลาต่อมาเท่านั้น ประชาชนไทยมุ่งหวังว่า นักการเมืองจะอุทิศตนเพื่อประเทศชาติ เฉกเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  แต่พวกเขาก็ทำให้คนไทยทั้งชาติผิดหวัง พวกเขาไม่สามารถเป็นเช่นนั้นได้เพราะพวกนักการเมืองไทย ได้รับอิทธิพลแนวคิดแบบตะวันตก และมีหัวใจที่ถูกครอบงำไว้ด้วยธุรกิจ

สำหรับผม พวกเขาจึงไม่ได้มีความเป็นไทยอีกแล้ว นั่นคือ เหตุผลที่ว่า ทำไมคนธรรมดาสามัญทั้งหลาย จึงรู้สึกรับไม่ได้กับการคอร์รับชั่น ฉ้อราษฏร์บังหลวงและนักโกหกที่ทำลายประเทศ ลงด้วยมือของพวกเขาเอง..."

ศ.คราเมส เสนอแนะว่า คนไทยจะต้องเข้าใจคุณค่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างถ่องแท้ และผสมผสานแนวทางแห่งพระพุทธศาสนาของพระองค์ ลงไปในการดำเนินชีวิตประจำวันและถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ในโรงเรียนเพื่อให้คนรุ่นใหม่ ๆ ได้ศึกษาด้วย

เขาเห็นว่า พระราชดำริหรือสิ่งที่ทรงทำในทุก ๆ เรื่องนั้น ทรงใช้หัวใจทั้งสิ้น เพราะพระองค์เข้าใจดี ถึงคุณค่าของความรักและความซื่อสัตย์. คนไทยทั้งหลายรู้สึกเชื่อมโยงถึงพระองค์ท่านได้ก็เพราะสิ่งนี้

เขาคิดว่า คำสอนของในหลวงนั้นเป็นสากลเช่นเดียวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้ คนทั่วโลกถึงเรียนรู้และปรับเอาความรู้จากในหลวงไปใช้ได้เช่นกัน

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงเป็นทั้งสัญลักษณ์ของความชาญฉลาด แบบตะวันตก และภูมิพลังปัญญาแบบตะวันออก ในบุคคลเดียวกัน ซึ่งถือว่า เป็นสิ่งสมบูรณ์พร้อมอย่างมาก..."

ศ.คราเมส ระบุว่า นักการเมืองไทยนั้นตกอยู่ในค่านิยมตะวันตก มักกระตุ้นคนด้วยการบริโภคนิยม กับอำนาจล่อใจของอิทธิพลทางการเมือง
และวัตถุนิยมกำลังเข้มแข็งมากเกินไปในสังคมไทย. เพราะมองเห็นเช่นนี้เขาจึงเตือนว่า
"คำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงกำลังสูญหายไปตลอดกาล หากยังไม่มีใครตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญแห่งคำสอนนั้น..
ทุกคนควรตระหนักว่า  หนทางเดียวที่จะแสดงความเคารพต่อครูก็คือ เรียนรู้จากพระองค์เพื่อที่จะนำความรู้นั้นไปช่วยเหลือคนอื่น ไม่ใช่เพียงแค่แขวนพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ไว้ในบ้าน.”..

...หากคนทุกช่วยกันเก็บรักษาเจตนารมย์ อันแรงกล้าและคำสอนของพระองค์เอาไว้ ให้อยู่สืบต่อไปตราบชั่วลูกชั่วหลาน ผมเชื่อเหลือเกินว่า พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของทุกคน พระองค์นี้จะอยู่ในหัวใจคนไทยตลอดกาล"

ฝรั่งคนนี้เป็นใครยังไม่ได้สืบค้น แต่หลายคำของเขานั้นมีคุณค่าน่าเอามาใส่ใจ

บัดนี้ สิ่งที่เขาเตือนคนไทยมาหลายปีนั้น ปรากฎชัดว่า เป็นเช่นนั้นจริง ๆ เช่น หลายประเทศในโลก เห็นคุณค่าของในหลวง กับสิ่งที่พระองค์คิด และสิ่งที่พระองค์ทำ แม้กระทั่งองค์การสหประชาชาติก็ยกย่องสดุดีพระองค์ท่าน

ในไม่ช้านี้ คำเตือนของเขาอีกหลายอย่างก็คงจะเกิดขึ้นตามมา

น่าคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่เราควรช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันสืบทอด ช่วยกันบำรุงรักษา หรือพัฒนาพระราชมรดก ที่พระราชทานไว้ให้แก่สังคมเราสืบต่อไปได้อย่างไร

ภัทระ คำพิทักษ์ เรียบเรียงจากบทความเรื่อง
เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว โดย ศาสตราจารย์แมนเฟรด คราเมส (Prof.Manfred Krames)
ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Lips ปีที่ 4 ฉบับที่ 16 วันที่ 6 สิงหาคม 2552

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

๙ คำที่พ่อสอน


๙ คำที่พ่อสอน

๑."ความเพียร"


••••••••••••••••

๑."ความเพียร"

“ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรม และพึงประสงค์นั้นคือความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างหนึ่ง กับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีงาม ให้บังเกิดขึ้นและระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไป อย่างหนึ่ง ความเพียรทั้งสองประการนี้ เป็นอุปการะอย่างสำคัญ ต่อการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน ถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว ประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อม ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม”
(พระราชดำรัสพระราชทานในพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองราชย์ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539)
▪▪▪▪▪▪▪▪▪

๒."ความซื่อสัตย์"

    "...ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้ จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้ แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้มีความ รู้มากแต่ไม่มีความสุจริตไม่มีความบริสุทธิ์ใจ..."
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะคณาจารย์โรงเรียนต่างๆ
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 18 มีนาคม 2523
▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪

 ๓."พูดจริง ทำจริง"

 ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม 

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540

▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪

๔."ความรู้ตน"


     เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน 


พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2521
▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪

 ๕."อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ"

 ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม 
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496
▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪

๖."เป็นผู้รับและเป็นผู้ให้"

คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้ 
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521
▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪

๗."ความพอดี"

ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้น
จะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป 
ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง
และความพอเหมาะพอดี 
ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง 
หรือทำด้วยความเร่งรีบ 
เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว 
จึงค่อยสร้างค่อยเสริม
ความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น 
ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน 
มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ 18 ธันวาคม 2540

▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪

๘.หนังสือเป็นออมสิน"

หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ 
หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้
และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ 
ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514
▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪

 ๙."การชนะใจตน"

ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ 

พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม 2513


วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ (๒)

ปาราชิกกัณฑ์ ปฐมปาราชิกสิกขาบท
เรื่องพระสุทินน์
[๑๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ณ สถานที่ไม่ห่างจากพระนครเวสาลี
มีบ้านตำบลหนึ่ง ชื่อ กลันทะ ในบ้านนั้นมีบุตรชาวบ้านกลันทะผู้หนึ่ง 
ชื่อ สุทินน์ เป็นเศรษฐีบุตร ครั้งนั้น สุทินน์ กลันทบุตรได้เดินธุระบางอย่างใน
พระนครเวสาลีกับสหายหลายคน ขณะนั้นแล พระผู้มีพระภาค
อันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้วประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ 
สุทินน์ กลันทบุตรได้แลเห็นพระผู้มีพระภาค อันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม
ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ เพราะได้เห็น ความตรึกนี้ ได้มี
แก่เขาว่า ไฉนหนอเราจะพึงได้ฟังธรรมบ้าง แล้วเขาก็เดินผ่านเข้าไป
ทางบริษัทนั้น ครั้นถึงแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ความรำพึงนี้ได้มีแก่เขาผู้นั่ง
 ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งฉะนี้ว่า ด้วยวิธีอย่างไรๆ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์
นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย 
ไฉนหนอ เราพึงปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ครั้นบริษัทนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงแสดง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว 
หลังจากบริษัทลุกไปแล้วไม่นานนัก เขาได้เดินเข้าไปใกล้ที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว 
นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
             สุทินน์กลันทบุตรนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธ-
*เจ้าข้า ด้วยวิธีอย่างไรๆ ข้าพระพุทธเจ้าจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยัง
ครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์
ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสุทินน์ ก็มารดาบิดาอนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตแล้วหรือ?
             สุทินน์กลันทบุตรกราบทูลว่า ยังไม่ได้อนุญาต พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ดูกรสุทินน์ พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่บวชบุตรที่มารดาบิดายังมิได้อนุญาต.
             สุ. ข้าพระพุทธเจ้าจักกระทำโดยวิธีที่มารดาบิดาจักอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า.
ขออนุญาตออกบวช
[๑๑] หลังจากนั้นแล สุทินน์กลันทบุตรเสร็จการเดินธุระที่ในพระนครเวสาลีนั้นแล้ว กลับสู่กลันทคามเข้าหามารดาบิดา แล้วได้กล่าวคำนี้กะมารดาบิดาว่า ข้าแต่มารดาบิดา ด้วยวิธี อย่างไรๆ ลูกจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะ ประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำ ไม่ได้ง่าย ลูกปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. เมื่อสุทินน์กลันทบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว มารดาบิดาของเขาได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์ เจ้าเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยง นางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ ปรารถนาจะจาก เหตุไฉนเราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า. แม้ครั้งที่สอง สุทินน์กลันทบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะมารดาบิดาว่า ข้าแต่มารดาบิดา ด้วย วิธีอย่างไรๆ ลูกจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ลูกปรารถนาจะปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. แม้ครั้งที่สอง มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์ เจ้าเท่านั้นเป็นบุตร คนเดียว เป็นที่รักเป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงม มาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า. แม้ครั้งที่สาม สุทินน์กลันทบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะมารดาบิดาว่า ข้าแต่มารดาบิดา ด้วย วิธีอย่างไรๆ ลูกจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ลูกปรารถนาจะปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. แม้ครั้งที่สาม มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์ เจ้าเท่านั้นเป็นบุตร คนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบ ประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า. ทันใดนั้นแล สุทินน์กลันทบุตรแน่ใจว่า มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เราออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต จึงนอนลงบนพื้นอันปราศจากเครื่องลาด ณ สถานที่นั้นเอง ด้วยตัดสินใจว่า การ ตายหรือการบวชจักมีแก่เราในสถานที่นี้แหละ และแล้วเขาไม่บริโภคอาหารแม้หนึ่งมื้อ ไม่บริโภค อาหารแม้สองมื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้สามมื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้สี่มื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้ห้ามื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้หกมื้อ ไม่บริโภคอาหารแม้เจ็ดมื้อ.
มารดาบิดาไม่อนุญาต
[๑๒] จะอย่างไรก็ตาม มารดาบิดาของเขาได้กล่าวคำนี้ว่า ลูกสุทินน์ เจ้าเท่านั้นเป็น บุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนม ประคบประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะ จาก เหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า จงลุกขึ้น เถิด ลูกสุทินน์ จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกาม ทำบุญ อยู่เถิด เราไม่อนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. เมื่อมารดาบิดากล่าวอย่างนี้แล้ว สุทินน์กลันทบุตรได้นิ่ง. แม้ครั้งที่สอง มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์ เจ้าเท่านั้นเป็นบุตร คนเดียว เป็นที่รักเป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงม มาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า จงลุกขึ้นเถิดลูกสุทินน์ จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกาม ทำบุญอยู่เถิด เราไม่อนุญาต ให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้ครั้งที่สอง สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง. แม้ครั้งที่สาม มารดาบิดาของเขาก็ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ลูกสุทินน์ เจ้าเท่านั้นเป็นบุตร คนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบ ประหงมมาด้วยความสุข เจ้าไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เจ้าจะตายเราก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน เราจักอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า จงลุกขึ้นเถิด ลูกสุทินน์ จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่มรื่นเริง บริโภคกาม ทำบุญอยู่เถิด เราไม่อนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. แม้ครั้งที่สาม สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง.
พวกสหายช่วยเจรจา
[๑๓] ยิ่งกว่านั้น พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร ก็ได้เข้าไปหาสุทินน์กลันทบุตร ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า สุทินน์เพื่อนรัก เธอเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่ พอใจของมารดาบิดา บิดาเป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วย ความสุข เธอไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เธอจะตายมารดาบิดาก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉน ท่านทั้งสองจักอนุญาตให้เธอผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า ลุกขึ้นเถิดสุทินน์ เพื่อนรัก จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกาม ทำบุญอยู่เถิด มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. เมื่อขอกล่าวอย่างนี้แล้ว สุทินน์กลันทบุตรได้นิ่ง. แม้ครั้งที่สอง พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า สุทินน์เพื่อนรัก เธอเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่พอใจของมารดาบิดา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เธอไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เธอจะตาย มารดาบิดา ก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉนท่านทั้งสองจักอนุญาตให้เธอผู้ยังมีชีวิตอยู่ ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า ลุกขึ้นเถิดสุทินน์เพื่อนรัก จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จงสมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกาม ทำบุญอยู่เถิด มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เธอออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต. แม้ครั้งที่สอง สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง. แม้ครั้งที่สาม พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร ก็ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า สุทินน์เพื่อนรัก เธอเท่านั้นเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของมารดาบิดา เป็นผู้เจริญมาด้วยความสุข อันพี่เลี้ยงนางนมประคบประหงมมาด้วยความสุข เธอไม่รู้จักความทุกข์สักน้อย แม้เธอจะตาย มารดาบิดาก็ไม่ปรารถนาจะจาก เหตุไฉนท่านทั้งสองจักอนุญาตให้เธอผู้ยังมีชีวิตอยู่ ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า ลุกขึ้นเถิดสุทินน์เพื่อนรัก จงกิน จงดื่ม และจงรื่นเริง จง สมัครใจกิน ดื่ม รื่นเริง บริโภคกาม ทำบุญอยู่เถิด มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เธอออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต. แม้ครั้งที่สาม สุทินน์กลันทบุตรก็ได้นิ่ง. เมื่อไม่สำเร็จ พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร จึงเข้าไปหามารดาบิดาของสุทินน์ กลันทบุตร ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ข้าแต่มารดาบิดา สุทินน์นั่นนอนลงบนพื้นอันปราศจาก เครื่องลาด ด้วยตัดสินใจว่าการตายหรือการบวชจักมีแก่เรา ณ ที่นี้แหละ ถ้ามารดาบิดาไม่ อนุญาตให้สุทินน์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ความตายจักมาถึง ณ ที่นั้นเอง ถ้าอนุญาต ให้สุทินน์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตก็จักได้เห็นเขาแม้ผู้บวชแล้ว ถ้าสุทินน์จักไม่ยินดีใน การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาจักมีทางดำเนินอื่นอะไรเล่า เขาจักกลับมา ณ ที่นี้แหละ ขอมารดาบิดาจงอนุญาตให้สุทินน์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. อนุญาตจ้ะ ให้ลูกสุทินน์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มารดาบิดากล่าวยินยอม.
สุทินน์กลันทบุตรออกบวช
[๑๔] ทันใดนั้น พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร เข้าไปหาสุทินน์กลันทบุตร แล้ว ได้บอกเขาว่า ลุกขึ้นเถิด สุทินน์เพื่อนรัก มารดาบิดาอนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตแล้ว พอสุทินน์กลันทบุตรได้ทราบว่า มารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตแล้ว ก็ร่าเริงดีใจ ลุกขึ้นลูบเนื้อลูบตัวด้วยฝ่ามือ ครั้นเยียวยากำลังอยู่สองสามวันแล้ว จึงเข้าไปสู่พุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่งเฝ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขานั่งเฝ้าอยู่ อย่างนั้นแล ได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระพุทธเจ้าอันมารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ได้โปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิดพระ- *พุทธเจ้าข้า. สุทินน์กลันทบุตรได้รับบรรพชาอุปสมบทในพุทธสำนักดังนี้ ก็แลเห็นท่านพระสุทินน์ อุปสมบทแล้วไม่นาน ประพฤติสมาทานธุดงคคุณเห็นปานนี้ คือ เป็นผู้ถืออรัญญิกธุดงค์ ปิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์ สปทานจาริกธุดงค์ พำนักอยู่ใกล้หมู่บ้านชาววัชชีตำบลหนึ่ง.
พระสุทินน์เยี่ยมสกุล
[๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มี กระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือ บาตรแสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้น ท่านพระสุทินน์ได้มีความคิดเห็นว่า เวลานี้วัชชีชนบทอัตคัด อาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุ- *สงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย ก็แลญาติของเราในพระนคร เวสาลีมีมาก ล้วนเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปพำนักอยู่ใกล้หมู่ญาติ แม้หมู่ญาติก็จักได้อาศัยเราให้ทานทำบุญ และภิกษุทั้งหลายก็จักได้ลาภ ทั้งเราก็จักไม่ลำบากด้วย บิณฑบาต ดั่งนั้น ท่านพระสุทินน์จึงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรจีวรหลีกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ พระนครเวสาลี เที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลีแล้ว ทราบว่า เธอพำนักอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น. บรรดาญาติของท่านพระสุทินน์ ได้ทราบข่าวว่า พระสุทินน์กลันทบุตรกลับมาสู่พระนคร เวสาลีแล้ว จึงนำภัตตาหารมีประมาณ ๖๐ หม้อไปถวายท่านพระสุทินน์ๆ สละภัตตาหารประมาณ ๖๐ หม้อนั้นถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วเช้าวันนั้นครองอันตรวาสกถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาต ยังกลันทคาม เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกในกลันทคาม ใกล้จะถึงเรือนบิดาของตน ก็พอดีทาสีของญาติท่านพระสุทินน์ กำลังมีความมุ่งหมายจะเทขนมสดที่ค้างคืน จึงท่านพระสุทินน์ ได้กล่าวคำนี้กะนางว่า น้องหญิง ถ้าของนั้นมีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา ขอท่านจงเกลี่ยลงใน บาตรของเรานี้เถิด ขณะที่นางกำลังเกลี่ยขนมสดที่ค้างคืนนั้นลงในบาตร นางจำเค้ามือ เท้าและ เสียงของพระสุทินน์ได้ จึงรีบเข้าไปหามารดาของท่านพระสุทินน์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะ มารดาของท่านว่า คุณนายเจ้าขา โปรดทราบ พระสุทินน์บุตรคุณนายกลับมาแล้วเจ้าค่ะ. แม่ทาสี ถ้าเจ้าพูดจริง เราจะปลดเจ้ามิให้เป็นทาสี มารดาท่านพระสุทินน์กล่าว. ขณะที่ท่านพระสุทินน์กำลังอาศัยพะไลเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมสดที่ค้างคืนนั้น พอดีบิดา ของท่านพระสุทินน์เดินกลับมาจากที่ทำงาน ได้แลเห็นท่านพระสุทินน์กำลังอาศัยพะไลเรือน แห่งหนึ่งฉันขนมสดที่ค้างคืนนั้นอยู่ จึงเดินเข้าไปหาท่านพระสุทินน์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้ กะท่านว่า มีอยู่หรือ พ่อสุทินน์ นี่พ่อจักฉันขนมสดที่ค้างคืน พ่อสุทินน์ พ่อควรไปเรือน ของตนมิใช่หรือ. คุณโยม รูปได้ไปสู่เรือนของคุณโยมแล้ว ขนมสดที่ค้างคืนนี้ รูปได้มาแต่เรือนของ คุณโยม พระสุทินน์ตอบ. ทันใดนั้น บิดาของท่านพระสุทินน์จับแขนท่าน แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านว่า มาเถิด พ่อสุทินน์ เราจักไปเรือนกัน. ลำดับนั้น ท่านพระสุทินน์ได้เดินตามเข้าไปสู่เรือนบิดาของตน ครั้นถึงแล้วนั่งบน อาสนะที่เขาจัดถวาย จึงบิดาของท่านได้กล่าวคำนี้กะท่านว่า จงฉันเถิดพ่อสุทินน์. อย่าเลยคุณโยม ภัตกิจในวันนี้ รูปทำเสร็จแล้ว พระสุทินน์กล่าวตอบ. บิดาอาราธนาว่า พ่อสุทินน์ ขอพ่อจงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้เถิด. ท่านพระสุทินน์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ และแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.
บิดาวิงวอนให้สึก
[๑๖] ครั้งนั้นแล มารดาของท่านพระสุทินน์สั่งให้ไล้ทาพื้นแผ่นดินด้วยโคมัยสด ให้ จัดทำกองทรัพย์ไว้สองกอง คือเงินกอง ๑ ทองกอง ๑ เป็นกองใหญ่ กระทั่งบุรุษยืนอยู่ข้างนี้ ไม่แลเห็นบุรุษยืนอยู่ข้างโน้น บุรุษยืนอยู่ข้างโน้นก็ไม่แลเห็นบุรุษยืนอยู่ข้างนี้ ให้ปิดกองทรัพย์ เหล่านั้นด้วยลำแพน ให้จัดอาสนะไว้ในท่ามกลาง ให้แวดวงด้วยม่าน เสร็จโดยล่วงราตรีนั้น แล้วเรียกปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์มาสั่งว่า ลูกหญิง เพราะลูกสุทินน์จะมา เจ้าจง แต่งกายด้วยเครื่องประดับ อันจะเป็นเหตุให้ลูกสุทินน์เกิดความรักใคร่พอใจ. อย่างนั้นเจ้าข้า นางรับคำมารดาของท่านพระสุทินน์. ณ เวลาเช้าวันนั้นแล ท่านพระสุทินน์ครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่เรือน บิดาของตน แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย. ลำดับนั้นแล บิดาของท่านพระสุทินน์เข้าไปหาท่านพระสุทินน์ ครั้นแล้วให้คนเปิด กองทรัพย์เหล่านั้นออก ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ นี้ทรัพย์ของมารดาพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วนของปู่ต่างหาก พ่อ สุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด. คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ. แม้ครั้งที่สอง บิดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ นี้ทรัพย์ของมารดาพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วน ของปู่ต่างหาก พ่อสุทินน์ พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด. คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ. แม้ครั้งที่สาม บิดาของพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ นี้ ทรัพย์ของมารดาพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วน ของปู่ต่างหาก พ่อสุทินน์ พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติ และบำเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด. ท่านพระสุทินน์ตอบว่า คุณโยม รูปขอพูดกะคุณโยมบ้าง ถ้าคุณโยมไม่ตัดรอน. บ. พูดเถิด พ่อสุทินน์. สุ. คุณโยม ถ้าเช่นนั้น คุณโยมจงสั่งให้เขาทำกระสอบป่านใหญ่ๆ บรรจุเงินและทอง ให้เต็มบรรทุกเกวียนไป แล้วให้จมลงในกระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำคงคา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี การเฝ้ารักษาก็ดี อันมี ทรัพย์นั้นเป็นเหตุ ที่จักเกิดแก่คุณโยมนั้น จักไม่มีแก่คุณโยมเลย. เมื่อท่านพระสุทินน์กล่าวอย่างนี้แล้ว บิดาของท่านได้มีความไม่พอใจว่า ไฉนลูกสุทินน์ จึงได้พูดอย่างนี้ และแล้วได้เรียกปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์มาบอกว่า ลูกหญิง เพราะเจ้า เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ บางทีลูกสุทินน์จะพึงทำตามคำของเจ้าบ้าง. ทันใดนั้น นางได้จับเท้าท่านพระสุทินน์ถามว่า ข้าแต่ลูกนาย นางอัปสร ผู้เป็นเหตุให้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์นั้น ชื่อเช่นไร? น้องหญิง ฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่งนางอัปสรเลย พระสุทินน์ ตอบ. บัดดล นางน้อยใจว่า สุทินน์ลูกนาย เรียกเราด้วยถ้อยคำว่า น้องหญิง ในวันนี้ เป็นครั้งแรก แล้วสลบล้มลงในที่นั้นเอง. ท่านพระสุทินน์ได้กล่าวคำนี้กะบิดาว่า คุณโยม ถ้าโภชนะที่จะพึงให้มีอยู่ ก็จงให้เถิด อย่ารบกวนรูปเลย. ฉันเถิด พ่อสุทินน์ มารดาบิดาของท่านพระสุทินน์กล่าวดังนี้แล้ว ได้อังคาสท่าน พระสุทินน์ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จนให้ห้ามภัตร และแล้วมารดาของ ท่านพระสุทินน์ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ผู้ฉันเสร็จ ลดมือจากบาตรแล้วว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญ บุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด. คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ. แม้ครั้งที่สอง มารดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญ บุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด. คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ. แม้ครั้งที่สาม มารดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและมีเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อสุทินน์ ดังนั้น พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้ ไม่ริบทรัพย์สมบัติของเรา อันหาบุตรผู้สืบสกุลมิได้ไปเสีย. สุ. คุณโยม เฉพาะเรื่องนี้รูปอาจทำได้. ม. พ่อสุทินน์ ก็เวลานี้พ่อพำนักอยู่ที่ไหน? ที่ป่ามหาวันจ้ะ ท่านพระสุทินน์ตอบ และแล้วได้ลุกจากอาสนะหลีกไป.
เสพเมถุนธรรม
[๑๗] หลังจากนั้น มารดาของท่านพระสุทินน์สั่งกำชับปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์ ว่า ลูกหญิง ถ้ากระนั้นเมื่อใดเจ้ามีระดู ต่อมโลหิตเกิดมีแก่เจ้า เมื่อนั้นเจ้าพึงบอกแก่แม่. นางรับคำมารดาของท่านพระสุทินน์แล้ว ต่อมาไม่ช้านัก นางได้มีระดู ต่อมโลหิตได้ เกิดขึ้นแก่นาง นางจึงได้แจ้งแก่มารดาของท่านพระสุทินน์ว่า ดิฉันมีระดู เจ้าค่ะ ต่อมโลหิตเกิดขึ้น แก่ดิฉันแล้ว. มารดาของท่านพระสุทินน์กล่าวว่า ลูกหญิง ถ้ากระนั้น เจ้าจงแต่งตัวด้วยเครื่องประดับ อันจะเป็นเหตุให้ลูกสุทินน์เกิดความรักใคร่พอใจ. จ้ะ คุณแม่ นางรับคำมารดาของท่านพระสุทินน์แล้ว จึงมารดาพานางเข้าไปหาท่าน พระสุทินน์ที่ป่ามหาวัน แล้วรำพันว่าพ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทอง และเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมา เป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็น คฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด. คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ. แม้ครั้งที่สอง มารดาของท่านพระสุทินน์ ก็ได้รำพันว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มี ทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็น ทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด. คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ. แม้ครั้งที่สาม มารดาของท่านพระสุทินน์ ก็ได้รำพันว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มี ทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็น ทรัพยากรมาก พ่อสุทินน์ ดั่งนั้นพ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้ไม่ริบทรัพย์สมบัติ ของเรา อันหาบุตรผู้สืบสกุลมิได้ไปเสียเลย. คุณโยม เฉพาะเรื่องนี้รูปอาจทำได้ ท่านพระสุทินน์ตอบแล้วจูงแขนปุราณทุติยิกาพาเข้าป่า มหาวัน เป็นผู้มีความเห็นว่าไม่มีโทษ เพราะสิกขาบทยังมิได้ทรงบัญญัติ จึงเสพเมถุนธรรมกับ ปุราณทุติยิกา ๓ ครั้ง นางได้ตั้งครรภ์เพราะอัฌาจารนั้น.
เทพเจ้ากระจายเสียง
[๑๘] เหล่าภุมเทพกระจายเสียงว่า ท่านผู้เจริญ โอ ภิกษุสงฆ์ ไม่มีเสนียดไม่มีโทษ พระสุทินน์กลันทบุตรก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว เทพชั้นจาตุมหาราช ได้สดับเสียง เหล่าภุมเทพแล้วกระจายเสียงต่อไป เทพชั้นดาวดึงส์ เทพชั้นยามา เทพชั้นดุสิต เทพชั้น นิมมานรดี เทพชั้นปรนิมมิตวสวดี เทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้สดับเสียงแล้วกระจายเสียงกัน ต่อๆ ไปว่า ท่านผู้เจริญ โอ ภิกษุสงฆ์ ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ พระสุทินน์กลันทบุตรก่อ เสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว โดยทันใดนั้น ครู่หนึ่งนั้น เสียงได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยอาการอย่างนี้แล. สมัยต่อมา ปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์ อาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น คลอดบุตร แล้ว จึงพวกสหายของท่านพระสุทินน์ได้ตั้งชื่อทารกนั้นว่า พีชกะ ตั้งชื่อปุราณทุติยิกาของท่าน พระสุทินน์ว่า พีชกมาตา ตั้งชื่อท่านพระสุทินน์ว่า พีชกปิตา ภายหลังเขาทั้งสองได้ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว.
พระสุทินน์เกิดวิปฏิสาร
[๑๙] ครั้งนั้น ความรำคาญ ความเดือดร้อน ได้เกิดแก่ท่านพระสุทินน์ว่า มิใช่ลาภ ของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะเราบวชใน พระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ให้ บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิต เพราะความรำคาญนั้นแหละ เพราะความเดือดร้อนนั้นแหละ ท่านได้ ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น มีเรื่องในใจ มีใจหดหู่ มีทุกข์โทมนัส มีวิปฏิสาร ซบเซาแล้ว. จึงบรรดาภิกษุที่เป็นสหายของท่านพระสุทินน์ ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า อาวุโส สุทินน์ เมื่อก่อนคุณเป็นผู้มีผิวพรรณ มีอินทรีย์สมบูรณ์ มีสีหน้าสดใส มีฉวีวรรณผุดผ่อง มีน้ำมีนวล บัดนี้ ดูคุณซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่ง ด้วยเอ็น มีเรื่องในใจ มีใจหดหู่ มีทุกข์โทมนัส มีวิปฏิสาร ซบเซาอยู่ คุณจะไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์กระมังหนอ? อาวุโสทั้งหลาย ความจริง มิใช่ว่าผมจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ พระสุทินน์ค้าน แล้วแถลงความจริงว่า เพราะบาปกรรมที่ผมทำไว้มีอยู่ ผมได้เสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกา ผมจึงได้มีความรำคาญ ความเดือดร้อนว่า มิใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่ว แล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะเราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้ แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิต ดังนี้. อาวุโส สุทินน์ จริง การที่คุณบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้ แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตนั้น พอที่คุณจะรำคาญ พอที่คุณจะเดือดร้อน. อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่ เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว เพื่อคลาย ความกำหนัด คุณยังจะคิดเพื่อมีความกำหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยังจักคิดเพื่อ ความประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น. อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่ง ราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่ง อาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อ ความดับทุกข์ เพื่อนิพพานมิใช่หรือ? อาวุโส การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม การ เพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม พระผู้มีพระภาคตรัสบอก ไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ? อาวุโส การกระทำของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของคุณนั่น เป็นไปเพื่อ ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส แล้ว. ภิกษุสหายเหล่านั้น ติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ได้กราบทูลเนื้อ ความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
[๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระสุทินน์ว่า ดูกรสุทินน์ ข่าวว่าเธอ เสพเมถุนธรรม ในปุราณทุติยิกา จริงหรือ? ท่านพระสุทินน์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ เธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีอย่างนี้ แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า. ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่ เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมี ความถือมั่นมิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้นอันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิด เพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความ ไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น. ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อ เป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อ เป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับ แห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ มิใช่หรือ? ดูกรโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดย อเนกปริยาย มิใช่หรือ? ดูกรโมฆบุรุษ องค์กำเนิด อันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้าย ยังดีกว่า อันองค์ กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงูเห่า ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอ สอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชนยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย. ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร? เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือ ความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้า แต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิด เข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ. ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้น มีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็น เรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของ คนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่กระทำอกุศลธรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็น อันมาก การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว. พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
พระปฐมบัญญัติ
๑. ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.
สุทินนภาณวาร จบ
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : www.84000.org

(ข่าวสด)มนุษย์เงินเดือนซีด สปส. ชงรีดเพิ่มเงินประกันสังคม สูงสุด 1,000 บาท อ้างผลสำรวจคนเห็นด้วย




เมื่อวันที่ 20 ต.ค. นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงการเตรียมขยายเพดานเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมว่า ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปลายปี 2559 โดยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งร้อยละ 81 เห็นด้วยกับการขยาย
เพดานเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมว่า ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปลายปี 2559 โดยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งร้อยละ 81 เห็นด้วยกับการขยายเพดานการเก็บเงินสมทบ จาก 15,000 เป็น 20,000 บาท โดยเก็บร้อยละ 5 ของค่าจ้าง แต่สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท เช่น คนที่ได้เงิน 16,000 บาท เก็บ 800 บาท เงินเดือน 17,000 บาท เก็บ 850 บาท คือสูงสุดเก็บไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนผู้ที่มีฐานเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไป จะเก็บเงินสมทบเข้ากองทุน 1,000 บาท ซึ่งคณะกรรมการ สปส. ได้ทำเป็นร่างกฎกระทรวง เสนอกระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาเสนอเข้าครม. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป คาดว่าน่าใช้ได้จริงภายใน 3 เดือนนี้

อ่านรายละเอียดข่าว  :  ข่าวสด
Source:/ขอขอบคุณรูปภาพและข่าวโดยข่าวสด
https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_583103

Most watched