วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เพชรน้ำเอก ในบวรพระพุทธศาสนา สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) โดย - พิสุทธิ์ เกรียงบูรพา

หลังจากที่ชาวไทยกำลังตกอยู่ในภาวะโศกเศร้า อาดูรต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นเวลาเดือนกว่า พระองค์ทรงมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่ชาวไทย คือ  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์อุ่นใจ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา  

และในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ หรือวันพ่อ ที่เราประทับไว้ในดวงใจตลอดกาล เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นี่คือข่าวดีที่ชุบชีวิตชีวาให้พวกเราชาวพุทธเป็นอย่างมาก ที่ท่านเจ้าประคุณ ป.อ.ปยุตฺโต ได้รับการถวายโปรดเกล้าฯ จากชั้นพรหมขึ้นเป็น สมเด็จฯ นับเป็นสมเด็จรูปสุดท้ายในรัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์รูปแรกในรัชกาลที่ ๑๐ เลยในคราวเดียวกัน 
เพชรน้ำเอก ในบวรพระพุทธศาสนา
ใครที่เคยไปกราบนมัสการท่านเจ้าประคุณประยุทธ์ หรือฟังธรรม อ่านหนังสือ ศึกษางาน จริยวัตรของท่าน ก็คงทราบว่าท่านเป็นพระที่เรียบง่ายมาโดยตลอด ผู้เขียนเคยไปเยี่ยมบ้านเกิดท่านที่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ผู้นำชุมชนที่นั่นก็ยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ ปัจจุบันเป็น "ชาติภูมิสถาน ป.อ.ปยุตฺโต" จัดตั้งขึ้นโดยมูลนิธิ ชาติภูมิ ป.อ.ปยุตฺโต โดยทุนบริจาคจากชาวท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญเพื่อเชิดชูเกียรติแก่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และเป็นศูนย์ข้อมูลชีวประวัติและผลงานของนักปราชญ์แห่งยุคสมัย 
ผมเข้าไปกราบรูปท่าน เดินสำรวจอย่างละเอียด เดินขึ้นไปชั้นสอง นั่งลงบนพื้นไม้ ทำสมาธิครู่หนึ่งเพื่อเป็นอาจาริยบูชา เกิดความอิ่มเอมใจที่สุด
ความอาพาธ เสมือนเป็นวิบากของสังขารร่างกายของท่าน ที่ต้องเผชิญมาตั้งแต่วัยเด็ก จนท่านสามารถใช้ธรรมะแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ควบคุมไว้ได้ทั้งหมด ควบคุมได้ในที่นี้ มิได้หมายถึง ไม่ให้เกิดความเจ็บป่วยแก่ร่างกาย แต่ฝึกจิตมิให้เกิดความทุกข์ต่างหาก ท่านเล่าไว้ว่า...
...พระพุทธองค์เคยตรัสสอนไว้ว่า ให้ทำในใจ ตั้งใจไว้ว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วยไปด้วย” การตั้งใจแบบนี้เรียกว่า “มีสติ” ทำให้จิตใจไม่ตกอยู่ในอำนาจครอบงำของความแปรปรวนทางร่างกายนั้น เมื่อมี “สติ” อยู่ ก็รักษา “ใจ” ไว้ได้... 
“กาย” เป็นหน้าที่ของแพทย์ แพทย์ก็รักษาไป แต่ “ใจ” นั้นเป็นหน้าที่ของเรา เราต้องรักษาใจของตนเอง... จริงอยู่ เป็นธรรมดาที่ว่า ทุกขเวทนา ความเจ็บปวดต่างๆ ความอ่อนแรง กำลังของร่างกายนั้น ย่อมมีผลต่อจิตใจ พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้เสมอว่า ให้รักษา “ใจ” ของตนเอง รักษาด้วยอะไร ก็รักษาด้วย “สติ” อาจจะเป็นคำภาวนาไว้ในใจตลอดเวลาก็ได้ว่า กายป่วยใจไม่ป่วย กายป่วยใจไม่ป่วยๆๆ อยู่เสมอ ใจเรา ก็จะไม่เลื่อนลอย เคว้งคว้างไป (อ้างอิง...หนังสือ “รักษาใจยามป่วยไข้” กองทุนวุฒิธรรม ๒๕๓๕)
๒๐ กว่าปีที่แล้ว ผมเคยนำประโยคนี้ พูดให้สติคุณพ่อตัวเอง ก่อนเข้าห้องผ่าตัด ซึ่งเป็นการเข้าโรงพยาบาลครั้งแรกในชีวิตชายวัย ๗๐ กว่า ชาวจีนโพ้นทะเลจากแผ่นดินใหญ่ สีหน้าที่วิตกและจิตใจที่กำลังหวาดกลัวของท่าน เป็นอันระงับไป
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังมีไหวพริบในคำอรรถาธิบายธรรมของท่าน ให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า อย่างเช่นเรื่องหลักอริยสัจ ๔ ท่านสอนไว้ว่า...
ทุกข์คือตัวปัญหา เรามีหน้าที่ต่อมันอย่างไร ก็คือ หน้าที่ที่ต้องทำความรู้จัก (ทุกข์ ต้องกำหนดรู้) ปัญหาของเราคืออะไร ขอบเขตของมันอยู่ที่ไหน อะไรเป็นที่ตั้งของปัญหา ถ้าจับไม่ถูกก็เดินหน้าต่อไปไม่ได้ จับตัวปัญหาให้ได้เสียก่อน แล้วเรียนรู้สิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหานั้นทั้งหมด...
สมุทัยคือเหตุของทุกข์ สืบสาวหามันให้พบ กระบวนการที่ทำให้มันเกิดขึ้นเป็นอย่างไร (ปฏิจจสมุปบาท) แล้วกำขัดมันเสีย (สมุทัย ต้องละ)
นิโรธคือความดับทุกข์ สภาวะปราศจากปัญหา เป็นความมุ่งหมายของการแก้ปัญหาสำเร็จแล้ว คืออะไร (นิโรธต้องทำให้แจ้ง)
และอริยสัจข้อสุดท้าย มรรค ทางเดิน ก็คือข้อปฏิบัติ ซึ่งเรามีหน้าที่ต้องลงมือทำ ตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ ไตรสิกขา (มรรคต้องเจริญ) ... ฯลฯ
  นอกจากนี้ ท่านยังสรุปคุณค่าที่เด่นของหลักอริยสัจ ไว้ว่า
๑. เป็น วิธีการแห่งปัญญา แก้ไขปัญหาตามระบบเหตุผล
๒.เป็นวิธีจัดการกับชีวิตของตนด้วย สติปัญญาของมนุษย์เอง
๓ เป็นความจริง ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และเกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน
๔.เป็นหลักความจริงกลางๆ ที่ติดเนื่องอยู่กับชีวิต หลักอริยสัจนี้ยังคงยืนยงและใช้ประโยชน์ได้ตลอดทุกกาล
หากสังเกตงานเขียน ตำราต่างๆ ของท่าน จะพบว่า ท่านใช้ความพยายามอุตสาหะอย่างเต็มที่ เพื่อจะรวบรวม เรียบเรียงให้งานออกมาที่สมบูรณ์ที่สุด แม้จะต้องใช้เวลาถึงสิบกว่าปี ในบางเล่ม เช่น หนังสือพุทธธรรม ซึ่งก็ถือว่าคุ้มค่าความเพียรของท่านจริงๆ เพราะนับเป็นงานเพชรน้ำเอกในวงการพุทธศาสนา ชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ท่านเป็นผู้ริเริ่มนำพระไตรปิฎกลงซีดีรอมด้วย ผมรู้สึกนับถือจากใจจริง เพราะนอกจากท่านจะรู้จริง สร้างงานได้ยอดเยี่ยมแล้ว ท่านยังเป็นพระที่สมถะ ไม่สนใจในลาภ ยศ สรรเสริญอีกต่างหาก  ท่านมักเขียนระบุไว้ท้ายหนังสือบางเล่มที่ท่านเขียน หรือกล่าวไว้ในโอกาสต่างๆ กัน ทำนองว่า... หากท่านผู้อ่าน ได้ประโยชน์จากงานชิ้นนี้ ผู้เขียนก็ขออนุโมทนาด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องมาหา หรือมาเยี่ยมเยียนตัวผู้เขียนแต่อย่างใด  
ความหมายนั้น ไม่ใช่ว่า ท่านไม่อยากให้พบ แต่เมื่อใครอ่านงานท่าน แล้วพบธรรมะ คือความสงบเย็นในใจ แก้ปัญหาชีวิตตนเองได้ นั่นก็คือ ผู้นั้นมีธรรมะแล้ว ธรรมะไม่ได้อยู่ที่ผู้อื่น
ความสม่ำเสมอของท่านนั้น ความไม่ยึดมั่นในอัตตาหรือยึดติดในทิฐิ ยังเป็นเช่นนั้นเสมอมา ดูจากคำสัมโมทนียกถา ที่ท่านกล่าวไว้เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ที่ผ่านมา ...
สัมโมทนียกถา... สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เวลา ๒๐.๓๐ น. "การได้รับสมณศักดิ์อะไรต่าง ๆ ไม่สำคัญ สำคัญที่ว่าวันนี้คือวันที่ ๕ ธันวาคม สำคัญกว่าที่พวกเราจะต้องสำนึกในพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่มีต่อบวรพุทธศาสนา...คาดเดาจากความเป็นจริง...เพราะอาตมาไม่เคยเข้าวัง ออกงานหลวงใด ๆ เลยมา ๒๕ ปี ย้ายไปอยู่ตามดงตามป่ามากกว่าอยู่วัดญาณเวศกวัน แต่สิ่งที่ไม่เคยหยุดเลยคือการแต่งหนังสือ...และสิ่งนี้เองก็ไม่ได้เล็ดลอดสายพระเนตรของในหลวงรัชกาลที่ ๙... เรื่องสมณศักดิ์เลื่อนกันไปเรื่องของในรั้วในวัง แต่พระก็ยังเป็นพระคนหนึ่งเหมือนเดิม จะเรียกท่านเจ้าประคุณอะไรก็ไม่สำคัญ ก็เป็นหลวงปู่หลวงพ่อนั่นล่ะ... ต่อไปนี้ก็ต้องดูว่าสิ่งที่ต้องทำกับสิ่งที่ต้องเป็นจะเป็นอย่างไร.... ขอบพระคุณพระมหาเถระทุกท่าน และขออนุโมทนาโยมญาติมิตรทุกท่าน"
นี่ล่ะครับ ชัยมงคลแห่งชาติ หน่อเชื้อแห่งการสืบพระศาสนาของเรา พระสมเด็จรูปสุดท้าย ที่ได้รับสมณศักดิ์จากการทำงานเพื่อพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ท่านมิได้ติดในสมณศักดิ์ใดๆเลย ตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้งมา ท่านจึงปรารถนาให้เรียกท่านอย่างเรียบง่าย แบบเดิมๆ ว่า หลวงพ่อ หลวงปู่ พระอาจารย์
ข้าพเจ้าขออนุโมทนาสาธุการครับ
พระเสาหลัก Low profile อยู่เบื้องหลัง
ไม่โด่งดัง แต่บารมี กลับสาดแสง
เรืองรองทั่ว สยาม ข้ามถึงต่างแดน
ท่านแน่นแฟ้น ในแก่นธรรม เสมอมา
ไม่ฉาบฉวย สร้างแบรนด์ สำแดงภูมิ
ไม่ชักจูง ศิษย์ใด ให้โหยหา (ศรัทธา)
ปลีกวิเวก อยู่แต่ป่า เขียนตำรา
ยังย้ำว่า ไม่ต้องมา กราบเยี่ยมเยียน
แม้อาพาธ มาแต่เกิด ยังเฉิดฉาย
  คงรักษา ธรรมวินัย ไม่ผิดเพี้ยน
  ร่างกายพร่อง ใช่ขัดข้อง ซึ่งความเพียร
  สร้างงานเขียน เพชรน้ำเอก เป็นหลักฐาน
เป็นอาจารย์ ของพระ ในทุกสาย
พิสุทธิ์ใส ไร้มลทิน ศีลของท่าน
สมเด็จพระ พุทธะ โฆษาจารย์
พระนามท่าน สร้างมงคล แก่ชนชาติไทยฯ  
ล้อมกรอบ 
ชาติภูมิสถาน ป.อ.ปยุตฺโต
ที่ตั้ง:เลขที่ ๔๙ หมู่๓ ตลาดศรีประจันต์ ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรีโทรศัพท์ ๐-๓๕๕๔-๘๗๒๒ เวลาทำการ:ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ เว้นวันจันทร์ (ไม่หยุดในวันนักขัตฤกษ์) เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น. ไม่เสียค่าเข้าชม
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก คม ชัด ลึก
Cr : http://www.komchadluek.net/news/amulets/252318

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ปลาทูไหม้..

โครตซึ้ง!! สามีภรรยาทำงานหนักมาทั้งวัน..พอถึงบ้านภรรยาทอด “ปลาทูไหม้” ให้ทานอีก สามีจึงต้องพูดแบบนี้..ทำเอาน้ำตาไหลพราก!!
ชอบเรื่องนี้มาก อ่านบ่อยๆ เตือนตัวเอง

เรื่องปลาทูไหม้..

“แม่ของผม เป็นคนทำ อาหารที่บ้านประจำ ทุกวัน… คืนหนึ่ง หลังจากที่ แม่ทำงานหนัก มาตลอดทั้งวัน แม่ กลับบ้านมา ด้วยความเหนื่อยล้า และทำอาหารเย็น ให้เราตามปกติ ที่โต๊ะอาหาร แม่วางจาน ที่มี ปลาทูไหม้เกรียม บนโต๊ะ ต่อหน้าพ่อ และทุกๆคน ผมรอว่า แต่ละคน จะว่าอย่างไร
แต่… พ่อไม่พูดอะไร และตั้งหน้าตั้งตา กิน ปลาทูไหม้ตัวนั้น และหันมา ถามผมว่า ที่โรงเรียน เป็นอย่างไรบ้าง

คืนนั้น หลังอาหารเย็น ผมจำได้ว่า ได้ยิน แม่ ขอโทษพ่อ ที่ทอดปลาทูไหม้ และ ผมไม่เคยลืม ที่พ่อ
พูดกับแม่เลย “โอย… ผมชอบ ปลาทูทอด เกรียมๆ อร่อยมาก นะแม่”

คืนต่อมา ผมเก็บคำถามในใจ ก่อนนอน และถามพ่อว่า “พ่อชอบปลาทูทอด เกรียมๆ จริงๆ เหรอ”
พ่อลูบหัวผม และตอบว่า
“แม่ของลูก
ทำงานหนัก มาทั้งวัน…
ปลาทูไหม้ 1 ตัว ไม่เคยทำร้ายใคร แต่คำพูด ที่ต่อว่า กันนั้นต่างหาก ที่จะทำร้ายกัน”

“ชีวิตคนเรา
เต็มไปด้วย ความไม่สมบูรณ์แบบ และ แต่ละคน ก็ ไม่ได้เกิดมา สมบูรณ์แบบ
ตัวเราเอง
ก็ไม่ได้มีอะไร ดีกว่าใครๆ”ปลาทู

แต่สิ่งที่ พ่อเรียนรู้ ในช่วงชีวิต คือ…..

การเรียนรู้ ที่จะยอมรับ

ความผิด ของคนอื่น และ ของตัวเอง

การเลือก ที่จะยินดีกับ

ความคิดต่างกันของ

แต่ละบุคคล เป็นสิ่งสำคัญ ในการรักษา ชีวิตครอบครัว ที่มีความสุข และยืนยาว

“ชีวิตเรา สั้นเกินกว่า ที่จะตื่นขึ้นมา พร้อมกับ
ความเสียใจ ที่ว่า เราทำผิดกับ คนที่เรารัก
และรักเรา ให้ดูแล และ
ทะนุถนอม คนที่รักเรา และพยายามเข้าใจ และให้อภัย จะดีกว่า”

** ถ้าเรารู้ เราจะ ทำไหม? **

• เราจะบีบแตร ใส่คนที่ ยืนยึกยัก ริมถนน แยกที่ผ่านมาไม๊– ถ้าเรารู้ว่า เค้าใส่ขาเทียม

• เราจะเบียดชน คนข้างหน้า ที่เดินช้ามากไม๊ – ถ้าเรารู้ว่า เค้าเพิ่งตกงาน

• เราจะขำ คนที่ แต่งตัวเชยไม๊ – ถ้าเรารู้ว่า เค้ามีชุดเก่ง แค่ชุดเดียว

• เราจะรำคาญ สาวโรงงาน ที่มาเดิน พารากอนไม๊ – ถ้าเรารู้ว่า นั่นคือ

การฉลองวันเกิดของเธอ

• เราจะหมั่นไส้ ลุงที่หัวเราะ
เสียงดังลั่น คนนั้นไม๊ – ถ้ารู้ว่า แกเป็นมะเร็ง ขั้นสุดท้าย

• เรารู้แจ่มชัดเสมอ
ว่าชีวิตเรา กำลังเจออะไร

แต่เรา ไม่มีวันรู้ว่า
“คนที่เราเจอ – กำลังเจอ กับอะไร”

-------Advertisement----------

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ถ้อยธรรมกถา สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธิ์ ปยุตฺโต) 5 ธันวาคม 2559


"พระนั้น  จะแต่งตั้งไปชั้นไหน ชั้นไหน
ก็ยังเป็นพระอยู่เหมือนเดิม
ทางพระพุทธศาสนา ท่านไม่นิยมถามว่า "จะเป็นอะไร"
แต่สำคัญที่ว่า "จะทำอะไร"
ให้เรื่อง "เป็น" มาเกื้อหนุน เรื่อง "ทำ" ให้ได้
ท่านจึงว่า "ให้เป็นนั่นเป็นนี่ เพื่อจะได้ทำนั่นทำนี่ได้สะดวกขึ้น"

ถ้อยธรรมกถา
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ประยุทธิ์ ปยุตฺโต)
๕ ธันวาคม  ๒๕๕๙



ในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ ฯทรงโปรดฯสถาปนาพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามจารึกในชั้นสุพรรณบัฎว่า "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลกวรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี"

สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ สถิต ณ วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม

๕ ธันวาคม ๒๕๕๙

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โลกต้องการคนดี ไม่ใช่เพื่อให้มารับรางวัล ( ป.อ.ปยุตฺโต )

โลกต้องการคนดี
ไม่ใช่เพื่อให้มารับรางวัล
แต่เพื่อมาช่วยกันทำชีวิต
และสังคมให้ดีขึ้น
( ป.อ.ปยุตฺโต )

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Condo for sale !!


Condo For Sale !!
Special Offer 
5.0 MBOnly

ขายด่วน คอนโดหรู 
ทำเลทอง หาดจอมเทียน พัทยา
เพียง 5 ล้านบาทเท่านั้น

(ติดต่อกับเจ้าของโดยตรง)
Tel : 08-0830-9708
JEE  จิ (Owner)

ด่วน !!!

**สุดพิเศษ เจ้าของจะไปอยู่ต่างประเทศ**
ปริ้นต์หรือโชว์หน้าโฆษณานี้เพื่อยืนยันราคานี้ไม่ผ่านนายหน้า



3 เหตุผลที่ทำไมบริษัทดัง "กูเกิ้ล" ไม่สนใจ "จ้างงาน" คนที่จบจากมหาลัยดังๆ




ข้อมูลข่าวโดย : 
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์






บริษัทดังระดับโลก กูเกิ้ล ซึ่งด้านหนึ่งกูเกิ้ลมีการวิเคราะห์กลุ่มบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการทำงานกับกูเกิ้ล โดยไม่ได้นำเรื่องของเกรดเฉลี่ย โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยดัง และกลุ่มที่แสดงออกว่าฉลาดเฉลียวระหว่างการสัมภาษณ์งานมาเกี่ยวข้อง

ในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ของหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการณ์ด้านบุคลากรของกูเกิ้ล ลาซโล บ๊อก ได้เล่าถึงรายละเอียดบุคลากรที่กูเกิ้ลมองหามาร่วมงานให้ฟัง และแน่นอนไม่ได้เกี่ยวกับโพรไฟล์ส่วนตัวอะไรด้วย

--กูเกิ้ล บอกว่า ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ มีโอกาสที่จะขาดสิ่งที่เรียกว่า "ความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญญา"


ขยายความได้ว่า คนที่เพิ่งเรียนหนังสือจบในแบบที่คะแนนเกรดเฉลี่ยดีเข้าข่ายประสบความสำเร็จในอายุยังน้อยอาจจะปรับตัวยากในการเรียนรู้อะไรที่ท้าทายเพราะคิดว่าไม่สามารถที่จะล้มเหลวได้

กูเกิ้ลจึงมองหาคนที่สามารถจะยอมถอยและรับฟังให้เกียรติความคิดคนอื่นๆถ้านั่นเป็นสิ่งที่ดีกว่าเรียกว่ามีความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญหานั่นเอง เพราะถ้าไม่มีสิ่งนี้ ก็ยากที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ หรือไม่สามารถเรียนรู้อะไรจากความล้มเหลวได้

--กูเกิ้ล บอกว่า คนที่สามารถทำอะไรเจ๋งๆได้โดยไม่ต้องมีคำว่า "มหาวิทยาลัย"มาเกี่ยวข้อง มักจะเป็นกลุ่มคนที่มี "ความโดดเด่น" อยู่เสมอ

"บ๊อก" หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการณ์ด้านบุคลากรของกูเกิ้ล ให้ความเห็นว่า หลายครั้งที่พบว่าบุคลากรในหลายที่ตามที่ทำงานต่างๆใช้ความเป็นสถาบันการศึกษามาช่วยเป็นไม้ค้ำให้ตัวเองและมันก็ไม่ได้ผล(บ๊อก : ใช้คำว่า ไม้ยันรักแร้ช่วยพยุง)

บ๊อกมองว่าระบบการศึกษาขณะนี้ไม่ได้ให้การเรียนรู้ที่จะเป็นประโยชน์ในโลกการทำงาน

--กูเกิ้ล บอกว่า ความสามารถในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าไอคิว


ด้วยแนวคิดวที่ว่าคนที่ประสบความสำเร็จทางวิชาการหรือการศึกษาไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ที่บอกได้ว่าจะมีความสามารถในการทำงานเสมอไป

"บ็อก" กล่าวว่า ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถสร้าง "สภาพแวดล้อมเทียม" ขึ้นมาได้ นั่นคือการสร้างเงื่อนไขเฉพาะทางขึ้นมา เป็นต้นว่าเรื่อง "ไอคิว" ซึ่งเขามองว่า "ไอคิว" มีค่าน้อยกว่าการเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะเรียนรู้ หรือคนประเภท On the fly (คนที่สามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงได้ดีและรวดเร็ว) ซึ่งกูเกิ้ลจะประเมินโดยการใช้การสัมภาษณ์ที่พิจารณาผ่านพฤติกรรมด้วย

"การหาคนของกูเกิ้ล จึงเน้นหาคนที่สามารถที่จะเรียนรู้ และมีความสามารถในการปรับตัวทันท่วงที ไม่ได้เน้นต้องการหาคนแนวที่เคยเป็นผู้นำชมรมต่างๆในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย แต่เราหาคนที่มีความสามารถจะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำในยามที่มีสถานการณ์จำเป็น"

เครดิต: ประชาชาติฯออนไลน์แปลและเรียบเรียง

รีไทร์พระ บทความโดย : วินทร์ เลียววาริณ

ชาวพุทธแต่โบราณมีกฎกติกาจัดการกับพระไม่ดีอย่างชัดเจนและเข้มงวด ผู้ที่บวชแล้วทำให้ศาสนาเสื่อม จะถูกอัปเปหิจากวัดทันที

อย่าว่าแต่การทำผิดวินัยสงฆ์เลย แม้แต่พระที่ไม่มีความรู้ทางธรรม บวชแล้วไม่ศึกษาจนรู้ ก็ให้สึกเหมือนกัน

พระพรหมคุณาภรณ์เคยเล่าว่า ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีหน่วยทดสอบความรู้ของพระ ถ้าพระผู้เข้าสอบไม่รู้พอ กรรมการก็จะยื่นผ้าขาวให้ เป็นความหมายว่าให้สึกเสียนะ

สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็มีกองสอบความรู้เหมือนกัน สอบไม่ผ่าน ก็รีไทร์สถานเดียว

สมัยนี้ถ้าให้พระทั้งประเทศสอบแบบนี้ เราอาจเหลือพระน้อยลงไปมาก

ก็เหมือนทุกระบบที่เมื่อคนรักษากฎอ่อนแอ กฎก็หย่อนยาน มีตัวอย่างในบ้านเรามากมายจนเบื่อหน่าย

ถ้าเป็นพระระดับเล็กๆ หนีเที่ยวกลางคืนหรือพาสีกาเข้ากุฏิ ก็ถูกจับสึกทันทีทันใจ เจ้าหน้าที่มาเร็วเคลมเร็ว

ถ้าเป็นพระระดับใหญ่ ทำเรื่องชั่วขนาดไหน ก็ต้องตีความก่อน

"เรื่องมันละเอียดอ่อน"

อืม! เห็นปลวกขึ้นบ้านตำตาแล้วต้องตีความก่อนว่า "ปลวกมาทำอะไรกันจ๊ะ" และ "เรื่องมันละเอียดอ่อน" คงไม่นานหรอกนะที่บ้านพังครืนลงมา

นานมาแล้วรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระบรมราโชวาทว่า "ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"

พระบรมราโชวาทดังกล่าวสามารถขยายความไปยังหมู่สงฆ์ได้ด้วย เนื่องจากพระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ หากอลัชชีนำทางชาวบ้านหลงทาง ก็ย่อมเป็นอันตรายมิเพียงต่อจิตวิญญาณของคนคนเดียว แต่ทั้งประเทศ

นี่ไม่ใช่เรื่องเล่น เพราะหากคนไร้คุณภาพ หัวมีแต่ความโลภหลง บ้านเมืองก็พังได้

ดังนั้นอยากให้พุทธศาสนาขนานแท้อยู่คู่กับประเทศไทย พุทธบริษัททั้งสี่ก็ต้องช่วยกันดูแลอย่างเข้มงวด ไม่ยอมให้ปลวกเกาะกิน

ไม่เพียงแต่สอบเช็กระดับความรู้เท่านั้น ความจริงเราควรเริ่มระบบสอบเข้าเหมือนเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย ผู้ที่อยากบวชควรจะศึกษาก่อน ไม่ใช่ไม่รู้จะทำอะไร ก็ไปบวช

ถ้ามีการสอบเข้าและสอบไล่เป็นพักๆ ศาสนาก็น่าจะแข็งแรงขึ้น

ปลวกน่ะไม่มีทางหมดไปจากโลกหรอก แต่คนมีปัญญาต้องรู้จักเชิญปลวกไปอยู่นอกบ้าน

ยอมมีพระน้อยรูปดีกว่ามีมาก และสร้างปัญหามาก

………………..

ขอขอบคุณบทความโดย : วินทร์ เลียววาริณ
เฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/winlyovarin/


วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เล่นไอจีต้องรู้! Instagram เปิดระบบแจ้งเตือนคนแอบแคปภาพหน้าจอ

เล่นไอจีต้องรู้! Instagram เปิดระบบแจ้งเตือนคนแอบแคปภาพหน้าจอ โดย ไทยรัฐออนไลน์ 30 พ.ย. 2559 13:07 7,316 ครั้ง กลายเป็นเรื่องฮือฮาและพูดถึงใน

อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/797796

สมเด็จพระราชาคณะรูปสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 
5 ธันวาคม 2559 
   ทรงโปรดให้มีการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ 1 รูป คือ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต ป.ธ.9) วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลกวรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาส นามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

ทั้งนี้พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต ป.ธ.9) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ในราชทินนามที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พัทยา เมืองท่องเที่ยวชายทะเลระดับโลก #แนะนำที่พักดีๆ

Pattaya City
 เที่ยวทะเลพัทยา กินลม ชมวิววสวย และแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย ธรรมชาติแสนงาม หรือ เที่ยวชมศาสนสถาน ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น คาบาเร่โชว์ อาหารการกิน อีกทั้งยังมีสวนสัตว์ สวนน้ำหรือสวนสนุก ตลาดน้ำ ตลาดสด อาหารทะเลสดๆ ศูนย์รวม แหล่งซ็อปปิ้งนำสมัย หรือจะท่องราตรีให้สนุกสุดเหวี่ยงกันตลอดคืนในรูปแบบไนท์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์หลายหลายรูปแบบ ร้านอาหารชั้นเลิศ ผับ บาร์ ตอบสนองความต้องการทุกไลฟ์สไตล์
ซึ่งในแต่ล่ะปี เมืองพัทยาจะตอนรับแขกบ้าน แขกเมือง นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะในฤดูท่องเที่ยว หรือไฮ ซีซั่น (ราวเดือนพฤศจิกายนเรื่อยไปจนถึงพฤษภาคมปีถัดไป) มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกๆปี จากห้า หกล้านคนจนถึงราวเกือบสิบล้านคนต่อปีกันเลยทีเดียว (ส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยวแบบลองเทอร์ม คือมาอยู่ยาวๆ เป็นสี่ ห้าเดือน จึงจะบินกลับ) ซึ่งนั่นคือเม็ดเงินมหาศาลที่เข้าสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเมืองพัทยานับหลายพันล้านบาทต่อปี

 และนักท่องเที่ยวไทยเราเองก็เช่นกัน อยากไปเที่ยวทะเล คงมีที่นี่อยู่ในความคิดอยู่แล้วนะครับ เป็นซ้อยส์หนึ่งที่อยากไปเที่ยว...
เที่ยวทะเลพัทยา..... เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ใช่ไหมล่ะครับ

#พัทยาเมืองน่าเที่ยว
ผมขอแนะนำที่พักดีๆราคาโดนๆในพัทยาให้หนึ่งที่นะครับ

โรงแรมปาล์มการ์เด้น....  
โฉมไหม่ ไฉไลกว่าเดิม  ปรับปรุงใหม่ให้มีคุณภาพอยู่สม่ำเสมอ
ในช่วงสองสามปีนี้ มีการปรับปรุงหลังจบฤดูท่องเที่ยวให้พร้อมตอบสนองนักท่องเที่ยวอย่างดีขึ้นเรื่อยๆ เช่นทาสีใหม่ทั้งสามตึก เปลี่ยนตู้เย็นใหม่ เปลี่ยนแอร์ใหม่ ล่าสุดในปีนี้ได้ทำสระน้ำใหม่ ทาสีบาร์สระน้ำใหม่อีกด้วย พักผ่อนสบายๆ บรรยากาศร่มรื่น ในมารตฐานโรงแรมขนาดไม่ต้องใหญ่ สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน การเดินทางสะดวกสบาย นักท่องเที่ยวต่างชาติที่นี่ 80 % ขึ้นไปเป็นแขกประจำ ส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป ออสเตรเลีย และอเมริกา เข้าพักแบบลองเทอร์ม สาม สี่เดือนขึ้นไป ไม่มีแขกกรุ๊ปทัวร์เข้าพัก จึงทำให้สามารถพักผ่อนได้อย่างเป็นส่วนตัว สงบ และสะดวกสบาย...
....  วันหยุดสุดสัปดาห์ มาเที่ยวพัทยา เชิญลองมาพักที่

                  โรงแรมปาล์มการ์เด้น พัทยา
ริมถนนพัทยาสาย 2 ติดวงเวียนโลมา พัทยาเหนือ-ลงชายหาดพัทยา









Most watched