จากเมืองที่ไม่เคยหลับไหล.. กลายเป็นเมืองที่เงียบเหงาและถนนที่ไร้รถรา.. |
-เขียนโดย สุบรรณ์ คำแพง-
เศรษฐกิจไทยที่เปราะบางเพราะต้องพึ่งพาและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกหรือนานาประเทศทั้งหลาย..
แม้ว่าไทยเองจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิด19ได้ดีกว่าใครๆ... แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้น เจ็บตัวอีกครา.. เพราะพึ่งพาการท่องเที่บว และส่งออก เมื่อการระบาดของโควิด19ส่งผลกับกิจกรรมเศรษฐกิจที่หยุดนิ่ง จากมารตการหยุดการระบาดของนานาประเทศ การ Lockdown หรือปิดประเทศเกือบทั้งโลก การท่องเที่ยวต้องหยุดชงักทันที ภาคการท่องเที่บวก็ต้องเดี้ยงอย่างปฏิเสธไม่ได้ ทั้งการบิน ทัวร์ โรงแรม นิ่งทันที !! คาดการว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยถดถอย ติดลบไม่น้อยกว่าร้อยละห้าในปีนี้..
ผลจากวิกฤติการเงินสหรัฐเมื่อปี2008 และมีวิกฤติซ้ำซากเรื่อยมา สงครามการค้าของสหรัฐ-จีน
ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตเพียงน้อยนิดเรื่อยมาเช่นกัน...
Update : Covid19 04 พ.ค.2563
ติดเชื้อแล้วกว่าสามล้านคนทั่วโลก ยอดผู้เสียชีวิตทะลุเกินสองแสนคนแล้ว และสหรัฐอเมริกา ยังคงมีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลก ตัวเลขผู้ติดเชื้อทะลุเกินหนึ่งล้านคนและ ยอดผู้เสียชีวิตร่วมๆเจ็ดหมื่นคนแล้ว
ข้อมูล ณ 04 พ.ค.2563
รวมติดเชื้อ 3,591,703
เสียชีวิตแล้ว 249,057
สหรัฐอเมริกาพบผู้ติดเชื้อเพิ่มวันเดียวสามพันกว่าคน และมีคนตายเพิ่มวันเดียวสูงถึงร้อยกว่าคน
UK. ติดเชื้อแสนแปดกว่าๆ
เสียชีวิตใกล้ๆสามหมื่นแล้ว
จีนยังคงอยู่ที่แปดหมื่นกว่าๆ
ตายเกือบห้าพัน
รัสเซียก็ทะลุไปล้านกว่าๆ
ตายพันกว่าคน
สถานการณ์ยังคงวิกฤติต่อไป เมื่อยังวิจัยวัคซีนไม่สำเร็จ.. ตัวเลขคงเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย...
Toggle navigation ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโล เวลานี้ คงไม่มีประเด็นใดที่คนสนใจได้มากเท่ากับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ยกระดับให้เป็น “ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic)” แล้ว แม้มีข่าวดีจากจีนที่สถานการณ์เริ่มทรงตัว แต่การแพร่ระบาดในประเทศอื่นนอกจีนกลับขยายไปมากกว่า 60 ประเทศ โดยข้อมูล ณ 15 มี.ค. 63 มีผู้ติดเชื้อสะสม 1.4 แสนราย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 10 อันดับแรกมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันสูงถึงกว่า 2 ใน 5 ของโลก
This Time is Different: ผลกระทบครั้งนี้ไม่เหมือนอดีต
นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกออกมาวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกว่าจะมีผลกระทบผ่านห่วงโซ่อุปทานโลกจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบ เนื่องจากจีนซึ่งเป็นโรงงานผลิตและส่งออกสินค้าขั้นกลางรายใหญ่ของโลก จำเป็นต้องหยุดการผลิตตามที่ทางการจีนมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด “อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” ต่างจากการระบาดของโรคซาร์สในมณฑลกวางตุ้งในปี 2546 โดยเฉพาะการปิดเมืองอู่ฮั่นซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดรวมทั้งเมืองใหญ่อื่น ๆ
ต้องไม่ลืมว่าเมืองอู่ฮั่นเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ เป็นศูนย์กลางการค้าการขนส่งของจีน ทั้งรถไฟและสนามบินที่เชื่อมต่อกับสายการบินหลักของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่วิกฤตินี้จะส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรง อย่างไรตาม ผลกระทบต่อการผลิตอาจต่างกันในแต่ละประเทศขึ้นกับการพึ่งพาวัตถุดิบขั้นกลางจากจีนและความแตกต่างกันของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ส่วนใหญ่มีระบบการผลิตแบบสินค้าคงคลังเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory) หรือ Just in time มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงมากกว่า
ผลกระทบคาดว่าจะรุนแรงกว่าซาร์ส
หลายสถาบันคาดว่า COVID-19 จะสร้างมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงกว่ากรณีของโรคซาร์สที่มีจุดกำเนิดที่จีนเช่นกัน โดยครั้งนั้นมีการประเมินว่าทำให้ GDP โลกลดลง 54,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็น 0.14%สำหรับผลกระทบครั้งนี้ ในด้านการค้าโลกรายงานของ UNCTAD (2020) ชี้ว่าดัชนีภาคการผลิต (PMI) ของจีนเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ลดลงต่ำสุดตั้งแต่ปี 2547 และประเมินว่าจะสร้างความเสียหายต่อการส่งออกในห่วงโซ่อุปทาน 50,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีผลกระทบมากสุดใน EU (15,600 ล้านดอลลาร์ สรอ.) รองลงมาคือ สหรัฐฯ (5,800 ล้านดอลลาร์ สรอ.) ญี่ปุ่น (5,200 ล้านดอลลาร์ สรอ.) เกาหลี (3,800 ล้านดอลลาร์ สรอ.) เวียดนาม (2,300 ล้านดอลลาร์ สรอ.) ขณะที่ไทยติดอยู่ที่อันดับ 11 ด้วยมูลค่าความเสียหาย 700 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยอุตสาหกรรมผลิตยางและพลาสติก เครื่องมือเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์ ในไทยเป็นสาขาที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด
ด้านการท่องเที่ยว สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ประเมินว่ากรณีที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัด รายรับการท่องเที่ยวโลกจะลดลง 63,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเอเชียจะได้รับผลกระทบสูงสุด รองลงมาคือ ยุโรปอื่น ญี่ปุ่น อิตาลี และเยอรมนี ซึ่งล้วนเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนักท่องเที่ยวจีนขณะที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประเมินว่า จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และสูญเสียรายได้กว่า 2.5 แสนล้านบาท
เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลกระทบครั้งนี้คาดว่าจะมากกว่าในกรณีของการระบาด 3 ครั้งใหญ่ ได้แก่ โรคซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ 2009 และโรคเมอร์ส เนื่องจากเศรษฐกิจจีนมีขนาดใหญ่กว่าเดิม รวมทั้งมีความเชื่อมโยงทั้งการค้า การลงทุน การขนส่งกับโลกมากขึ้น ในปี 2561 เศรษฐกิจจีนมีขนาด 16% ของเศรษฐกิจโลก ใหญ่กว่าช่วงการระบาดของซาร์ส 4 เท่า และมีขนาดคิดเป็น 13% ของมูลค่าการส่งออกโลก 39% ของการผลิตอุตสาหกรรมโลก และคิดเป็น 18% ของมูลค่าการท่องเที่ยวโลก รวมทั้งปัจจุบันที่มีระดับโลกาภิวัตน์ขั้นสูงที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกันทั้งด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคมวัฒนธรรมมากขึ้นกว่าในอดีต

สถานการณ์ข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาสและสร้างบทเรียนเสมอ
สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดการเงินโลกเคลื่อนไหวเร็วตามความกังวลของนักลงทุน ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี รวมถึงตลาดหุ้นไทยปรับลดลงทุบสถิติต่ำสุดในรอบหลายปี OECD (3 มี.ค. 63) มองเหตุการณ์เป็น 2 สถานการณ์ สถานการณ์แรก การแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัด โดยสถานการณ์ในจีนจะรุนแรงสูงสุดในไตรมาส 2 และทยอยคลี่คลายลง ขณะที่สถานการณ์นอกจีนมีการแพร่ระบาดมากขึ้นแต่ยังอยู่ในวงจำกัด ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกปี 2563 ขยายตัวต่ำลง 0.5% แต่จะกลับมาดีขึ้นในไตรมาส 3 สถานการณ์ที่สอง การแพร่ระบาดขยายวงกว้าง ประเทศอื่นนอกจีนควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ กรณีนี้ความเสียหายน่าจะสูงและกินเวลานานเป็นปี ขณะที่ความเห็นของ IMF (4 มี.ค. 63) ระบุว่าผลกระทบจะทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวต่ำกว่าปีก่อน แต่จะลดลงเท่าใดคาดเดายาก ขึ้นกับความสามารถในการควบคุมการระบาดของประชาคมโลก

แม้สถานการณ์จะรุนแรงแต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาสและสร้างบทเรียนเสมอ รายงานของ World Economic Forum (2020) นำเสนอกรณีศึกษาของจีนพบว่า การระบาดครั้งนี้ทำให้เห็นพัฒนาการหลายอย่าง อาทิ (1) ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชนในการจัดการวิกฤติ COVID-19 ที่มีความโปร่งใส รับฟังความเห็นของประชาชนผ่าน Social Media ทั้ง WeChat และ Weibo (2) การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังที่รวดเร็วเพื่อลดผลกระทบ และ (3) โอกาสใหม่ๆ ของภาคธุรกิจ วิกฤติครั้งนี้ช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี มีการให้บริการแก่ผู้บริโภคทางออนไลน์มากขึ้นทั้งการค้า การศึกษา และธุรกิจบันเทิง

ในระยะข้างหน้า สิ่งสำคัญที่เราน่าจะได้เห็นจากเหตุการณ์นี้คือ การพัฒนาด้านสาธารณสุขและการยกระดับความร่วมมือการทางแพทย์ทั่วโลกจะมีความสำคัญมากขึ้น การเปิดรับ Social Norms ใหม่ ๆ ที่เป็นผลพวงจากการใช้ระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อาทิ สังคมไร้เงินสด การทำงานทางไกล และ เหนือสิ่งอื่นใด ประชาคมโลกต้องร่วมกันปฏิบัติตามมาตรฐานสุขภาพระหว่างประเทศเพื่อลดผลกระทบจากภัยคุกคามนี้ และเราจะผ่านเหตุการณ์นี้ไปด้วยกันเพราะ “We are in the same boat and live under the same sky”
เอกสารอ้างอิง:
- Knobler S, Mahmoud A, Lemon S, et al., editors. Learning from SARS: Preparing for the Next Disease Outbreak: Workshop Summary. Washington (DC): National \Academies Press (US); 2004.Available from:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK92473/
- IATA (2020), COVID-19 Initial impact Assessment of the Novel Coronavirus, IATA Economics, 20 February
- UNCTAD (2020), Technical Note Global trade impact of the Coronavirus (COVID-19) Epidemic 4 Marchhttps://unctad.org/en/PublicationsLibrary/ditcinf2020d1.pdf
- UNCTAD (2020), Coronavirus Outbreak Has Cost Global Value Chains $50 billion in Exports, UNCTAD news, 4 March
- UN (2020), Coronavirus COVID-19 Wipes $50 billion off Global Exports in February Alone, as IMF Pledges Support for Vulnerable Nations, Economic Development, UN News, 4 Marchhttps://news.un.org/en/story/2020/03/1058601
- WEF World Economic Forum (2020), Coronavirus in China – Insights on the Impacts and Opportunities for Change, 4 March
Source : ธนาคารแห่งประเทศไทย
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
----------------------------------------
ติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์
ข้อความคำคมแวะเติมกำลังใจ
ปลุกพลังบวก และ หลักคิด
ข่าวสารการตลาดที่น่าสนใจ
----------------------------------------
Suban Kampaeng
064-005-1137
Blogger
Cryptocurrency Expert
SubanBlog |suban2008.blogspot.com
license number|pub-1584973184431863