วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

News ไทย BBC News บีบีซีไทย นาวิเกชัน หมวดข่าว โควิด-19 : Update 03 พ.ค.2563 ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกมีกว่า 3.38 ล้านราย ในสหรัฐฯ ยอดผู้เสียชีวิตทะลุ 6.5 หมื่นคน

GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพชาวอเมริกันทั่วประเทศออกมาประท้วงการใช้มาตรการล็อกดาวน์ของทางการอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาก
ผ่านไป 4 เดือนหลังการระบาดในจีน จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ทั่วโลกมีกว่า 3.38 ล้านราย และยอดผู้เสียชีวิตกว่า 240,654 ราย ใน 185 ประเทศ เขตเศรษฐกิจ และ ดินแดน ทั่วโลก
หลายฝ่ายเชื่อว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจริงจะมีมากกว่าตัวเลขข้างต้นที่รวบรวมโดย มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์
ใช้เวลาเพียงเดือนครึ่งเท่านั้น ที่จำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลกพุ่งไปถึง 100,000 รายแรก และด้วยอัตราการพุ่งขึ้นเป็นทวีคูณในรอบสัปดาห์นี้ทำให้ยอดรวมทั่วโลกพุ่งเป็น 1 ล้านคนแล้ว โดยราว ¼ ของยอดผู้ติดเชื้อรวมอยู่ในสหรัฐอเมริกา และ ½ อยู่ในทวีปยุโรป
สถานการณ์โลก 2 พ.ค.
สหรัฐฯ มียอดผู้เสียชีวิตกว่า 65,244 รายแล้ว นอกจากนี้ ยังมียอดผู้ติดเชื้อมากกว่า 1,115,848 คน หรือเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อทั่วโลก โดยที่นครนิวยอร์กแห่งเดียวมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโนาสายพันธุ์ใหม่แล้วอย่างน้อย 18,399 คน
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ อนุมัติการใช้ยาต้านไวรัสเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อรักษาไวรัสอีโบลา ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่อาการอยู่ในขั้นวิกฤติ หลังจากผลงานวิจัยบ่งชี้ว่ายาชนิดนี้ใช้ได้ผล
โรคภูมิแพ้แห่งชาติของสหรัฐฯ ( เอ็นไอเอช ) ได้ทำการทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาเรมเดซิเวียร์ กับกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 1,063 คน ใน 68 ประเทศ
ผลปรากฏว่าการใช้ยาเรมเดซิเวียร์ช่วยลดระยะเวลาการรักษาได้ราว 31% โดยผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นภายใน 11 วันหลังจากได้รับยา ในขณะที่การรักษาด้วยวิธีปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 15 วัน
แม้สถานการณ์การระบาดในสหรัฐฯ ยังไม่คลี่คลาย แต่ในพื้นที่หลายรัฐซึ่งรวมถึง รัฐไอดาโฮ และแอละแบมา เตรียมผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่วนรัฐเท็กซัสได้ยกเลิกคำสั่งให้ประชาชน 29 ล้านคนเก็บตัวอยู่ในบ้านแล้ว
สเปน เป็นอีกประเทศในยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างรุนแรง และมียอดผู้ติดเชื้อสะสมมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ
โดยขณะนี้ประเทศมียอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 แล้วอย่างน้อย 24,824 ราย แต่อัตราการเสียชีวิตมีได้ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
ในวันที่ 2 พ.ค. ทางการได้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ โดยอนุญาตให้ผู้ใหญ่สามารถออกกำลังกายนอกบ้าน ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 7 สัปดาห์
รัฐบาลสเปนเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรปตั้งแต่สัปดาห์ก่อน โดยอนุญาตให้เด็กออกนอกบ้านได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
ทางการได้กำหนดช่วงเวลาการออกกำลังกายนอกบ้านสำหรับกลุ่มคนวัยต่าง ๆ เช่น ผู้ใหญ่ส่วนมากสามารถออกไปเดิน, วิ่ง และปั่นจักรยานได้ระหว่างเวลา 06:00-10:00 และ 20:00-23:00
ด้านนายกรัฐมนตรีเปโดร ซานเชซ ของสเปนได้ประกาศข้อบังคับให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะตั้งแต่วันจันทร์ที่ 4 พ.ค.เป็นต้นไป
อิตาลี มีผู้เสียชีวิต 28,236 รายแล้ว ซึ่งสูงสุดในยุโรป ส่วนตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศอยู่ที่ 209,328 คน
ฝรั่งเศส มียอดผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 167,305 ราย และผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 24,628 ราย ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 3 ในยุโรป รองจาก อิตาลี และสหราชอาณาจักร
รัฐบาลฝรั่งเศสประกาศแผนขยายกรอบเวลาการใช้มาตรการสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศออกไปจนถึงวันที่ 24 ก.ค.นี้
รถไฟยูโรสตาร์ที่วิ่งให้บริการระหว่างฝรั่งเศส, อังกฤษ และเบลเยียม ประกาศข้อบังคับให้ผู้โดยสารสวมหน้ากากเมื่อใช้บริการโดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 4 พ.ค.นี้
สหราชอาณาจักร มียอดผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 ของโลกแล้วที่อย่างน้อย 28,131 ราย รองจากสหรัฐฯ และอิตาลี หลังจากรอบ 24 ชม.ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 621 คน
ส่วนยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 4,806 คน ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศอยู่ที่ 182,260 คน
อย่างไรก็ตาม ทางการระบุว่า จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลลดลงกว่า 13% เช่นเดียวกับจำนวนผู้ป่วยในห้องไอซียู และอัตราการเสียชีวิตที่เริ่มลดลงแล้ว
ขณะเดียวกัน อาสาสมัครหลายพันคนได้ลงทะเบียนเข้าร่วมการทดลอง เพื่อหาว่าจะสามารถใช้แอนติบอดีที่สกัดจากน้ำเลือดหรือพลาสมาของผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 มาใช้พัฒนายารักษาด้วยวิธีรับภูมิคุ้มกันที่ได้จากผู้อื่นมาโดยตรงหรือไม่
มาเลเซีย ตำรวจได้กวาดล้างผู้อพยพและแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ในช่วงที่ประเทศกำลังใช้มาตรการล็อดดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
สำนักงานตำรวจแห่งชาติของมาเลเซียแถลงเมื่อ 2 พ.ค. ว่าเจ้าหน้าที่ได้จับกุมคนต่างด้าวนอกระบบเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงชาวโรฮิงญา แล้วควบคุมตัวไว้ในที่เดียวกัน จนกว่ามาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลจะสิ้นสุดลง โดยปฏิบัติการครั้งนี้อยู่ในพื้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
องค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้ทางการมาเลเซียปล่อยตัวเด็กและผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคโควิด-19 ออกจากค่ายกักกันผู้อพยพที่พวกเขาถูกนำไปควบคุมตัว
ขณะที่องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์วอทช์ เตือนว่า การควบคุมตัวเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะทำให้สถานการณ์โรคระบาดในมาเลยเซียเลวร้ายลง ทั้งในแง่ของความเสี่ยงที่โรคจะระบาดภายในค่าย และอาจทำให้คนต่างด้าวนอกระบบไม่ให้ความร่วมมือกับทางการ
ปัจจุบันมาเลเซียซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 กว่า 100 คน อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศมาตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค. ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 12 พ.ค.นี้ โดยทางการจะเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรควันที่ 4 พ.ค.นี้
โควิด
Image copyrightWPA POOL

แอนติบอดี
องค์การอนามัยโลก ออกมาเตือนว่า การตรวจหาแอนติบอดีในร่างกายยังไม่ใช่หนทางที่ได้ผลในการสู้กับการระบาดของโควิด-19 WHO ระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ที่มีแอนติบอดีต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในร่างกายจะไม่กลับไปติดโรคโควิด-19 อีก ส่วนคนที่มีแอนติบอดีแล้ว ได้รับเชื้อไวรัสเดิมอีกแต่ไม่แสดง ก็สามารถแพร่เชื้อไวรัสนี้ไปให้คน




























 ประเทศไทย ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงาน เมื่อ 2 พ.ค. ว่า ไทยมียอดผู้ติดเชื้อในระดับ "ต่ำสิบ" ต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 โดยมีผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 6 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต รวมมียอดผู้ป่วยสะสม 2,966 ราย ในจำนวนนี้มี 2,732 รายที่รักษาหายกลับบ้านแล้ว และมีผู้เสียชีวิตสะสม 54 ราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงว่า ขณะนี้มีอยู่ 32 จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 28 วันที่ผ่านมา และมีอยู่ 9 จังหวัดที่เป็น "จังหวัดสีขาว" คือไม่พบผู้ป่วยโควิด-19 เลย และเมื่อเทียบสถานการณ์ทั่วโลก ถือว่าไทยมีผู้ป่วยเป็นอันดับที่ 60 ของโลก
ในวันนี้ (3 พ.ค.) รัฐบาลจะเริ่มผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มเพื่อจำกัดวงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ด้วยการเปิดให้กลุ่มกิจการ/กิจกรรม 6 ประเภทกลับมาเปิดทำการได้ แต่ต้องปฏิบัติตาม "มาตรฐานกลาง" ของรัฐอย่างเคร่งครัด
ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 คณะแพทย์และนักวิจัยทั่วโลกต่างใช้ความพยายามอย่างหนัก เพื่อคิดค้นวัคซีนเพื่อป้องกันโรคอันตรายนี้ ซึ่งอาจจะเป็นความหวังเดียวในการต่อสู้กับโรคนี้



ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 3 พ.ค. 2563

ไม่มีความคิดเห็น:

Most watched