วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ในทางพระพุทธศาสนา การกินเจ ไม่ได้บุญ และกินเนื้อ ก็ไม่เป็นบาป สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงตรัสไว้ชัด


การกินเจ (ตั้งใจไม่กินเนื้อสัตว์) จริงๆไม่ได้บุญอธิบาย คือ เราไม่กินข้าวขาหมู แล้วคิด(จินตนาการ) ว่า หมูจะไม่ถูกฆ่า เปรียบได้กับเรานั่งอยู่บ้านเฉยๆแล้วคิด(จินตนาการ) ว่า เราไปช่วยสอนหนังสือคนอนาถา บุญที่เราไปสอนหนังสือคนอนาถานั้น ไม่มี ไม่เกิด เพราะเรา นึกๆคิดๆไปเองไม่ได้ทำ ไม่ได้กระทำจริง
ถ้าอยากได้บุญ เราต้องช่วยชีวิตสัตว์ มี ๒ ข้อ คือ
๑.ช่วยชีวิตมันโดยการไถ่ชีวิต ซื้อสัตว์ที่กำลังถูกฆ่านำมาปล่อย
๒.เมตตาสัตว์ไม่ทำร้ายมัน อย่างนี้เป็นบุญ
แต่การกินเจ บุญไม่เกิด เพราะเราไม่ได้ลงมือกระทำจริง(ช่วยชีวิตสัตว์) เป็นเพียงแต่คิดไปเอง
พระเทวทัตเคย มาเสนอให้ชาวพุทธไม่กินเนื้อสัตว์พระพุทธเจ้าปฏิเสธ พร้อมให้เหตุผลว่า
๑. เนื้อสัตว์ไม่ใช่ของเหม็น อกุศลกรรมต่างหากที่เป็นของเหม็น
๒. พระต้อง ควรเป็นผู้เลี้ยงง่าย
๓. อนุญาตในการกินเนื้อสัตว์ที่ -ไม่เห็น -ไม่รู้ -ไม่ใช่เนื้อที่ฆ่าโดยเฉพาะให้ตน
๔. อาหารเป็นแค่ของเลี้ยงกายไม่ให้ตาย อย่าสนใจมาก
การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นบุญหรือไม่ ?
การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำอะไร เป็นบุญหรือไม่เป็นบุญนั้น ต้องอาศัยกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่าด้วย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความคิดเห็นของตนให้ตรง
เมื่อเทียบเคียงกับบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ วิธี แล้ว ไม่พบว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ รับประทานแต่พืชผักเป็นวิธีทำบุญข้อใดเลย จึงไม่นับว่าเป็นวิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา ลองคิดดูว่าถ้าการกินพืช เช่น ผัก หญ้า ได้บุญ แล้วสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ก็ต้องได้บุญมากกว่ามนุษย์ เพราะสัตว์พวกนี้กินพืชตลอดชีวิตไม่กินเนื้อสัตว์เลย
การกินเนื้อสัตว์ บาป หรือ ไม่ ?
การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
๕. เตนมรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ จึงถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ ผิดศีลข้อที่ ๑ เป็นบาป แต่ถ้าไม่ได้ลงมือฆ่าเอง และไม่ได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ก็ไม่เป็นบาป ตัวอย่าง เราไปจ่ายตลาด ซื้อกุ้งแห้ง ปลาดุกย่าง ปลาทู เนื้อหมู ฯลฯ เราได้มีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เหล่านั้นหรือไม่ สัตว์เหล่านั้นย่อมตายก่อนที่เราจะไปซื้อมาเป็นอาหาร ถึงเราจะซื้อหรือไม่ซื้อ สัตว์เหล่านั้นก็ตายอยู่แล้ว เราไม่ได้มีส่วนทำให้ตาย
มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า“นตฺถิปาปํอกุพฺพโต”แปลได้ความว่า“บาป ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ”
การกินผักก็อาจจะต้องฆ่าสัตว์ทางอ้อมไปด้วยเช่นกัน เพราะต้องไถดิน ใส่ปุ๋ย ใช้ยากำจัดแมลง อาจทำให้แมลงต่างๆ ไส้เดือนตายได้ ถ้าแบบนี้บาปก็คงไม่ต้องทำสัมมาอาชีพกันเลย
หลวงปู่แหวนท่านบอกว่า”ไอ้วัวควายกินหญ้าอยู่ตั้งนาน ไม่เห็นเป็นพระอรหันต์ซักตัว”
ขอขอบคุณที่มา : พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ถ้อยคำสำหรับถวายความอาลัย ช่วงราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.๙






ถ้อยคำสำหรับถวายความอาลัย ช่วงราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.๙

ขอขอบคุณรูปภาพและเนื้อหา
Cr. / Source : เฟซบุ๊คแฟนเพจ PANguin SAD

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยน้อมดวงใจถวายดอกไม้จันทน์ ณ พระเมรุมาศจำลอง 85 แห่งทั่วประเทศ



สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยน้อมดวงใจถวายดอกไม้จันทน์ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมราชบพิตร ในวันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ณ พระเมรุมาศจำลอง 85 แห่ง ทั่วประเทศ ดังนี้

กรุงเทพมหานคร
เขตดุสิต พระลานพระราชวังดุสิต
เขตวัฒนา  สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (เดิม)
เขตพระนคร  สวนนาคราภิรมย์
เขตพระนคร  ลานปฐมบรมราชานุสรณ์ พระพุทธยอดฟ้า
เขตพระนคร  ลานคนเมือง
เขตบางนา  ศูนย์นิทรรศการ และการประชุมไบเทคบางนา
เขตลาดกระบัง  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
อำเภอลำลูกกา  สนามกีฬาธูปะเตมีย์
อำเภอพุทธมณฑล  พุทธมณฑล

ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงราย  สนามบินเก่าฝูงบิน 416
จังหวัดเชียงใหม่  ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ
จังหวัดลำพูน  สนาม อบจ.ลำพูน
จังหวัดลำปาง  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
จังหวัดแพร่  สนามหลวงจังหวัดแพร่
จังหวัดน่าน  วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง
จังหวัดพะเยา  ลานอเนกประสงค์หลังเทศบาลฯ ริมกว๊านพะเยา
จังหวัดแม่ฮ่องสอน  สนามกีฬาเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
จังหวัดอุตรดิตถ์  วัดพระแท่นศิลาอาสน์

ภาคกลาง
จังหวัดกำแพงเพชร  สนามกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร
จังหวัดชัยนาท  สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดนครนายก  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดนครปฐม  พุทธมณฑล และศาลากลางจังหวัด
จังหวัดนครสวรรค์  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดนนทบุรี  วัดบัวขวัญ
จังหวัดปทุมธานี  สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปเตมีย์) และศาลากลางจังหวัดหลังเก่า
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ลานด้านหน้าพระราชวังโบราณ
จังหวัดพิจิตร  วัดท่าหลวง
จังหวัดพิษณุโลก  ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ
จังหวัดเพชรบูรณ์  ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดลพบุรี  วัดสิริจันทนิมิต
จังหวัดสมุทรปราการ  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดสมุทรสงคราม  วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
จังหวัดสมุทรสาคร  วัดเจษฎาราม
จังหวัดสระบุรี  ลานวงเวียนพระพุทธบาท
จังหวัดสิงห์บุรี  พุทธมณฑลจังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดสุโขทัย  โรงเรียนวัดไทยชุมพล
จังหวัดสุพรรณบุรี  วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
จังหวัดอ่างทอง  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดอุทัยธานี  วัดสังกัสรัตนคีรี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดกาฬสินธุ์  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดขอนแก่น  วัดป่าแสงอรุณ
จังหวัดชัยภูมิ  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดนครพนม  ศาลางกลางจังหวัดหลังเก่า
จังหวัดนครราชสีมา  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดบึงกาฬ  ที่ว่าการอำเภอเมือง
จังหวัดบุรีรัมย์  ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า
จังหวัดมหาสารคาม  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดมุกดาหาร  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดยโสธร  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดร้อยเอ็ด  ลานสาเกต บึงผลาญชัย
จังหวัดเลย  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดศรีสะเกษ  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดสกลนคร  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดสุรินทร์  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดหนองคาย  วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง
จังหวัดหนองบัวลำภู  วัดพิศาลรัญญาวาส พระอารามหลวง
จังหวัดอำนาจเจริญ  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดอุดรธานี  สนามทุ่งศรีเมือง
จังหวัดอุบลราชธานี  วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

ภาคตะวันออก
จังหวัดจันทบุรี  ลานขนส่งสินค้า อบจ.จันทบุรี
จังหวัดชลบุรี  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดตราด  สนามหลวงจังหวัดตราด
จังหวัดระยอง  สวนศรีเมือง
จังหวัดฉะเชิงเทรา  วัดโสธรวรารามราชวรวิหาร
จังหวัดปราจีนบุรี  วัดสง่างาม
จังหวัดสระแก้ว  สนามด้านหน้า อบจ.

ภาคตะวันตก
จังหวัดกาญจนบุรี  เกาะสมเด็จญาณสังวร
จังหวัดตาก  เขื่อนภูมิพล
จังหวัดเพชรบุรี  วัดคงคารามวรวิหาร
จังหวัดราชบุรี  วัดมหาธาตุวรวิหาร พระอารามหลวง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  วัดคลองวาฬ พระอารามหลวง

ภาคใต้
จังหวัดกระบี่  สวนสาธารณะธารา เทศบาลเมืองกระบี่
จังหวัดชุมพร  โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ ตำบลบางลึก
จังหวัดตรัง  ลานวัฒนธรรมทุ่งแจ้ง
จังหวัดนครศรีธรรมราช  สนามหญ้าหน้าเมืองนครศรีธรรมราช
จังหวัดนราธิวาส  ลานเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดปัตตานี  ลานวัฒนธรรมหน้าศาลากลางจังหวัด
จังหวัดพังงา  ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า
จังหวัดพัทลุง  หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า
จังหวัดภูเก็ต  สวนสาธารณะสะพานหิน
จังหวัดยะลา  สนามโรงพิธีช้างเผือกเทศบาลนครยะลา
จังหวัดระนอง  วัดสุวรรณคีรี
จังหวัดสงขลา  สระบัว แหลมสมิหลา
จังหวัดสตูล  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดสุราษฎร์ธานี  วัดกลางใหม่

ทั้งนี้้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1257  ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด และ http://kingrama9.net/


ภาพ/ข่าว : กลุ่มสื่อสารเชิงกลยุทธ์ สำนักโฆษก
CR : ศูนย์ข้อมูลข่าวสารงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

Source : เวบไซต์รัฐบาลไทย

วันออกพรรษา /ประเพณีตักบาตรเทโว/ทอดกฐิน

ทำบุญวันออกพรรษา - วัตถุประสงค์ของกิจกรรม






วัตถุประสงค์ของกิจกรรมวันออกพรรษา

     1. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรม เรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติ


     2. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีทักษะในการคิดและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในวันออกพรรษา และสามารถเลือกสรรหลักธรรม คือปวารณา ไปใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนและสังคม


     3. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคือ ปวารณา


     4. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้งและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา


      5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนได้อย่างถูกต้อง


วันออกพรรษา หรือวันมหาปวารณา


วันมหาปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือน
เรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์

         เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่เมืองสังกัสสะนครนั้น พระองค์ทรงเนรมิตให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้ ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าเป็น “วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก” วันออกพรรษา ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิต ปรารถนาดีต่อผู้ถูกตัวเตือน ทั้งกาย วาจา ใจ ส่วนผู้ถูกตักเตือนก็ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้กล่าวตักเตือน โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันโดยมีความหมายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากันในสามลักษณะคือ ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี และด้วยการสงสัยก็ดี” ประเพณีของชาวพุทธที่นิยมกระทำในเทศกาลออกพรรษาคือ





วันออกพรรษา-ตักบาตรเทโวโรหณะ

ประเพณีตักบาตรเป็นประเพณีที่ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล

     1. ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ โดยในหลายที่ยังทำเป็นข้าวต้มลูกโยน มาไว้สำหรับใส่บาตรการตักบาตรเทโวเริ่มมาตั้งแต่ตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชนจึงได้พร้อมใจกันนำภัตตาหารมาถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จนั้นมีจำนวนมาก บางพวกที่อยู่ห่างจึงไม่สามารถใส่อาหารลงในบาตรได้ จึงต้องทำข้าวให้เป็นก้อน แล้วโยนใส่บาตร จนกระทั่งเป็นประเพณีนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

     
     ตักบาตรเทโว หมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษาตามความเชื่อของพระพุทธศาสนิกชนว่าเป็นวันที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา

      “เทโว” ย่อมาจากคำว่า “เทโวโรหนะ” ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก หมายถึง เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิณาณ แล้วทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่างๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นบิตุภูมิของพระองค์ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วนหน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองคุณพระมารดา ซึ่งหลังจากประสูติพระองค์ได้ 7 วัน ก็สิ้นพระชนม์ และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ ประชาชน พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น บางวัดก็ทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน พิธีทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนไปช้าๆ นำหน้าพระสงฆ์ พระภิกษุสามเณรถือบาตรเดินตามไปโดยลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำอาหารมาเรียงรายกันอยู่เป็นแถว ตามแนวทางที่รถบุษบกนั้นจะผ่านเพื่อตักบาตร ของที่นิยมใช้ตักบาตรเทโว ซึ่งนอกจากเป็นข้าวปลาอาหารทั่วๆ ไปแล้วยังมีข้าวต้มมัดใต้และข้าวต้มลูกโยนอีกด้วย


    การที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่เพียงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เนื่องจากมีพระประสงค์จะให้พระพุทธมารดาได้บรรลุโลกุตรธรรมอันเป็นธรรมชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาได้


      2. ประเพณีทอดกฐิน ถือเป็นกาลทาน ที่เป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง โดยมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษาคือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึงกลางเดือน 12  

ประเพณีทอดกฐินมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษา

      นอกจากประเพณีที่ถือปฏิบัติในวันออกพรรษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมและมีผู้สนใจไปร่วมกิจกรรมกันอย่างคับคั่ง คือ การชมบั้งไฟพญานาค ซึ่งเกิดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้นคือวันออกพรรษา ซึ่งจะมีพุทธศาสนิกชนไปรอชมบั้งไฟกันทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะอำเภอโพนพิสัยที่มีปริมาณบั้งไฟขึ้นเยอะกว่าที่อื่นๆ

วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ร.๑๐ ลดภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหลือร้อยละหกจุดสาม ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ถึง วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑



ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา
ออกตามในประมวลกฎหมายรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๔๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ มีความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเพพยวรางกูล มีพระราชโองการโปรดเกล้าให้ปรับปรุงการอัตราการลดภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหลือร้อยละหกจุดสามในการขายสินค้าและบริการ การนำเข้าทุกกรณี มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ไปจนถึง วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละเก้าในวันที่ `๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ฯ

พระสงฆ์ไทยห้ามยุ่งการเมืองนะจ๊ะ

  

ฮือฮา! ทั้งแผ่นดิน เมื่อมีคำสั่งเจ้าคณะปกครองฉบับพิเศษ ส่งตรงถึงเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาส ตามลำดับชั้น
               แฟนเพจ "ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย“ ถึงกับพาดหัวข่าว ”เปิดคำสั่งเจ้าคณะปกครอง !! ยกเครื่องคณะสงฆ์ไทยทั่วสังฆมณฑล พร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย"
               เนื่องจากขณะนี้ได้มีคำสั่งจากเจ้าคณะปกครอง อันประกอบด้วย
               สมเด็จพระวันรัต (จุณฑ์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.9) วัดบวรนิเวศวิหาร  เขตพระนคร กรุงเทพฯ ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุต
               สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9) วัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เจ้าคณะใหญ่หนกลาง (มหานิกาย)
               พระวิสุทธิวงศาจารย์(วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.9) วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
               สมเด็จพระพุฒาจารย์(สนิท ชวนปญฺญ ป.ธ.9) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
               พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ ป.ธ.7) วัดกะพังสุรินทร์ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง เจ้าคณะใหญ่หนใต้
               คำสั่งเจ้าคณะปกครองดังกล่าว มี 6 ข้อ โดยมีเนื้อหาเหมือนกัน เป็นการควบคุมดูแลพระภิกษุสามเณรในปกครอง ให้อยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด อีกทั้งให้กำกับดูแลการแสดงความเห็นต่างๆ ที่อาจจะเป็นไปเพื่อการยุยงปลุกปั่นอีกด้วย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวทั่วประเทศ
               ในคำสั่งฉบับพิเศษ สื่อมวลชนส่วนใหญ่เน้นการนำเสนอข้อ 5 ที่ห้ามติดแผ่นป้ายโฆษณาพระพุทธรูป พระเครื่อง วัตถุมงคล และเทวรูป ในสถานที่ต่างๆ และขอให้เจ้าคณะเขตสอดส่องดูแลการโฆษณา การจัดสร้างพระบูชาวัตถุมงคล และเทวรูปทางสื่อต่างๆ อย่างใกล้ชิด อีกทั้งพระอุโบสถ เป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรมทุกวัด จึงไม่ควรจำหน่ายพระบูชา วัตถุมงคล และเทวรูปต่างๆ ทั้งภายใน และบริเวณพระอุโบสถ
               นอกจากนั้น มีเรื่องขอให้พระสังฆาธิการตรวจสอบพฤติกรรม และควบคุมจริยาของพระภิกษุสามเณร ไม่ให้ประพฤติเสียหาย อาทิ การแสดงกิริยาวาจา ที่ไม่สมสมณสารูป ไม่สอดคล้องกับเพศ หรือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทางไม่เหมาะสม เป็นต้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปพระพุทธศาสนา
               มีรายงานข่าวว่า จริงๆแล้ว คำสั่งดังกล่าว ไม่ใช่เป็นคำสั่งใหม่ แต่เป็นคำสั่งที่เคยมีบัญญัติและเป็นสิ่งที่คณะสงฆ์สมควรปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ด้วยเวลาผ่านไป ส่วนใหญ่การบังคับใช้กฎระเบียบ มักจะถูกผู้ควบคุมกฎและผู้ปฏิบัติ ละเลย ย่อหย่อน ทำให้มีการประพฤติผิดอาบัติ จนเกิดความเสื่อมเสียแก่คณะสงฆ์มาเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย จึงได้หารือคณะกรรมการ มส. และคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ สมควรที่จะออกคำสั่งดังกล่าวออกมาแจ้งให้มีการบังคับใช้ เพื่อกำชับซ้ำให้พระสังฆาธิการคุมเข้มพฤติกรรมพระภิกษุสามเณร ไม่ให้มีพฤติกรรมเสื่อมเสีย
               ที่สำคัญ แก่นแกนของคำสั่งเจ้าคณะปกครองล่าสุด น่าจะอยู่ในข้อ 2 ที่ว่าด้วยเรื่องการเมืองและความมั่นคงแห่งรัฐ 
               “ข้อ 2 พระภิกษุสามเณร ผู้วิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงออกในแนวทางกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสุขของประชาชน หรือส่อไปในทางยั่วยุ ปลุกปั่น ทำลาย ก้าวร้าวรุนแรงและไม่สร้างสรรค์ ให้พระสังฆาธิการกวดขันควบคุมพระภิกษุ สามเณร ผู้มีพฤติกรรมดังกล่าว มิให้กระทำการเช่นว่านั้น และหากเข้าข่ายละเมิดกฎหมายบ้านบ้านเมืองให้ประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด” 
               อนึ่ง โครงสร้างการปกครองบังคับบัญชาเจ้าคณะภาค แบ่งออกเป็น เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายมหานิกาย และเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุตมีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดในคณะสงฆ์แต่ละนิกาย ในสายการบังคับบัญชา เจ้าคณะใหญ่ยังต้องอยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม มีเขตการปกครองดังนี้
               เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค 1,2,3,13,14 และ 15
               เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค 4,5,6 และ 7
               เจ้าคณะใหญ่หนใต้ ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครอง คณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค 16, 17 และ 18
               เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครอง คณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 8, 9, 10, 11 และ 12
               เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุตทุกภาค 
               เขตการปกครองคณะสงฆ์ทั้ง 18 ภาค ประกอบด้วยจังหวัด ต่างๆ ดังนี้
               ภาค 1 มี 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
               ภาค 2 มี 3 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และ สระบุรี
               ภาค 3 มี 4 จังหวัด คือ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี
               ภาค 4 มี 4 จังหวัด คือ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
               ภาค 5 มี 4 จังหวัด คือ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก และอุตรดิตถ์
               ภาค 6 มี 6 จังหวัด คือ ลำปาง พะเยา เชียงราย แพร่ และน่าน
               ภาค 7 มี 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน และ แม่ฮ่องสอน
               ภาค 8 มี 4 จังหวัด คือ อุดรธานี หนองคาย เลย และสกลนคร
               ภาค 9 มี 4 จังหวัด คือ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด
               ภาค 10 มี 5 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร ศรีสะเกษ และนครพนม
               ภาค 11 มี 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ สุรินทร์
               ภาค 12 มี 3 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา
               ภาค 13 มี 4 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
               ภาค 14 มี 4 จังหวัด คือ นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และสมุทรสาคร
               ภาค 15 มี 4  จังหวัด คือ ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์
               ภาค 16 มี 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
               ภาค 17 มี 5 จังหวัด คือ ภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ และระนอง
               ภาค 18 มี 6 จังหวัด คือ สงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การทรงเจ้าเข้าผี : สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

การทรงเจาเขาผี: วิถีพระ วิถีพุทธ
Raising Spirits of the Dead : Buddhist Path
อาจารยรัตนะ ปญญาภา*

บทคัดย่อ

การทรงเจาเขาผีถือเปนรูปแบบความเชื่อที่ถูกนําเขามาเปนสวนหนึ่งในระบบความเชื่อแบบพุทธ ทั้งที่จริง
แลวขัดแยงตอกับจุดประสงคที่แทจริงของพระพุทธศาสนาที่มุงเนนวิถีแหงปญญา อยางไรก็ตาม พระพุทธศาสนาไมได
ปฎิเสธเรื่องเทพเจาหรืออิทธิปาฏิหาริย แตชี้วา เทพเจาตกอยูภายใตกฎธรรมชาติ การวิงวอนตอเจาหรือขอพึ่งพาเทพ
เจาจึงเปนเรื่องไรสาระและเปนการดําเนินชีวิตโดยประมาท สวนประเด็นการทรงเจาในมุมมองพระพุทธศาสนาโดยสรุป
มีดังนี้ การทรงเจาและรางทรงของพระอรหันตไมสามารถเปนไปได เพราะพระอรหันตไดหลุดพนจากการเวียนวาย
ตายเกิดโดยประการทั้งปวงแลว, การทรงเจาและรางทรงของพระภิกษุ ถือเปนการผิดตอพระวินัยโดยสิ้นเชิง เพราะ
พระพุทธเจาไมทรงสนับสนุนอิทธิปาฏิหาริย ถาพระสงฆแสดงอิทธิปาฏิหาริยถือวาผิดตอพระวินัยบัญญัติ, การทรงเจา
และรางทรงของเทพ ไมใชแนวทางที่ประเสริฐตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะการวิงวอนขอความชวยเหลือจาก
เทวดาไมสามารถจะตานทานหรือกีดกันความเพียรพยายามของมนุษยได และการเขาทรงและรางทรงของวิญญาณ
ทั่วไป เชน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ควรจะพึ่งพาดวยการถือเปนแบบอยางในการดําเนินชีวิตตาม
พระจริยาวัตรอันทรงคุณประโยชนของพระองค

Abstract

Raising spirits of the dead has been brought in and became a part of Buddhist belief despite it
actually goes against the real objective of Buddhism that emphasizes on the path of wisdom. Although
Buddhism doesn’t refuse the existence of gods or magical power, it points out that gods also fall under the
law of nature. Therefore, pleading with or depending on gods is nonsense, living in negligence. The issues
about raising spirits of the dead in Buddhist aspects can be concluded as follows. Raising spirits of arahant
is impossible because arahant go into nirvana, free from the circle of life forever. Raising spirits by a monk
directly violates the Buddhist disciplines because the Buddha doesn’t support magical power. So, if a monk
shows any kinds of magical power, he violates the disciplines. Raising spirits of gods isn’t a noble path
according to the Buddhism principles because pleading with gods for helps can’t resist or obstruct humans’
attempts. And raising spirits of general spirits, for example the spirit of King Rama V, is improper. His
Majesty should be an excellent example of living, making benefits for other people.
 °°°°°°°°°°°°°°°°°°°°
*
ป.ธ.๙, อ.ม. (จริยศาสตรศึกษา) อาจารยสาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อ่านต่อ

Most watched