วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

'แอตต้า' ชงนายกฯ อัดยาแรง ฟรีวีซ่าหน้าด่านฟื้นท่องเที่ยวข่าวกรุงเทพธุรกิจ

แอตต้า” ชง “บิ๊กตู่” อัดยาแรง ฟรีค่าธรรมเนียมวีซ่าหน้าด่านตม. ดึงทัวริสต์ต่างชาติจากประเทศปลอดเชื้อในเอเชีย ทันทีที่ไทยมั่นใจว่ายุติการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้สำเร็จ หนุนภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวหลังโคม่ามานานกว่า 3 เดือน

หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางไปยังสำนักงานของสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) เพื่อประชุมร่วมกับคณะกรรมการแอตต้า รับฟังสถานการณ์ของธุรกิจท่องเที่ยวในปัจจุบัน รวมถึงความเดือดร้อนและข้อเสนอแนะด้วยตัวเอง หลังภาคท่องเที่ยวไทยเผชิญผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก ถือเป็นวิกฤติครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปีนับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มส่งเสริมภาคท่องเที่ยวนำรายได้เข้าประเทศ
นายวิชิต ประกอบโกศล นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า สมาคมฯได้เสนอขอให้รัฐบาลพิจารณาออกมาตรการหลายเรื่อง ได้แก่ การออกมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival : VoA) เมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในไทยยุติจนเป็นประเทศปลอดเชื้อ เพื่อเป็นยาแรงหนุนภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็ว ช่วยดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติจากประเทศปลอดเชื้อมาเที่ยวไทย เบื้องต้นคาดว่านักท่องเที่ยวเอเชียมีแนวโน้มเริ่มกลับมาเที่ยวไทยภายใน 3 เดือนหรือราวเดือน ก.ค.นี้ เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และประเทศในกลุ่มอาเซียน ส่วนนักท่องเที่ยวจากยุโรปและอเมริกาคาดจะเริ่มกลับมาในช่วงปลายปีนี้
นอกจากนี้ ยังขอให้รัฐบาลพิจารณาเพิ่มวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ให้ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นการเฉพาะอีก 10,000 ล้านบาทเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง เพิ่มเติมจากที่ธนาคารออมสินจัดวงเงินซอฟท์โลนให้แล้ว 10,000 ล้านบาท เนื่องจากไม่เพียงพอ และยังขอให้รัฐบาลพิจารณาขยายเวลาการจ่ายเงินชดเชยการว่างงานจากเหตุสุดวิสัยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้กับลูกจ้างในธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวที่ต้องปิดกิจการชั่วคราว ในอัตรา 62% ของค่าจ้างรายวันออกไปมากกว่า 3 เดือน เป็นอย่างต่ำ 6 เดือน เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาเที่ยวไทยเป็นปกติเมื่อใด
“ในรอบ 60 ปีของภาคท่องเที่ยวไทยไม่เคยเจอวิกฤติที่รุนแรงและยาวนานขนาดนี้ เพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการหนักมาก ไม่มีนักท่องเที่ยวและรายได้เลยในทุกๆ ภูมิภาคของประเทศไทย เพราะบางวิกฤติที่ผ่านมา อาจกระทบเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯและภูเก็ต แต่ยังมีการเดินทางไปในจังหวัดอื่นๆ เมื่อไม่มีรายได้ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวก็ไม่มีเงินไปจ่ายค่าจ้างพนักงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆ โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี มีเงินสำรองน้อยอยู่ได้นาน 2-3 เดือนเท่านั้น ทำให้ต้องปิดกิจการชั่วคราว”
ขณะเดียวกันสมาคมฯยังได้ขอให้รัฐบาลพิจารณายกเว้นหรือลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว เพราะเหมือนเป็นการส่งออกบริการแก่ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อช่วยลดต้นทุนแก่ผู้ประกอบการ เหมือนกับบางประเทศที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการลด VAT มาอยู่ที่ระดับ 0-3%

อีกเรื่องคือขอให้รัฐบาลพิจารณาให้ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดประชุมสัมมนาหรือท่องเที่ยว ใช้บริการผ่านบริษัทนำเที่ยวหรือบริษัททัวร์ แทนการจัดกันเอง เพื่อกระตุ้นให้การท่องเที่ยวภายในประเทศฟื้นตัวและเริ่มขับเคลื่อนได้ในเดือน ก.ค.นี้ หลังสถานการณ์โรคโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะคลี่คลายดีขึ้นได้ในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.นี้
“ทั้งนี้ภาคเอกชนท่องเที่ยวยินดีให้ความร่วมมือในการดำเนินมาตรการคุมเข้มและใช้ยาแรงของรัฐบาล เพื่อยุติการแพร่ระบาดของโรค หลังภาคท่องเที่ยวเจ็บมานานกว่า 3 เดือน หากทนเจ็บต่ออีกสัก 1 เดือน แต่สามารถจบการแพร่ระบาดภายในประเทศได้ก็ยอม เพื่อไม่ให้เสียของ”
โดยในช่วงครึ่งแรกของปี ถือเป็นช่วงทำรายได้ของบริษัททัวร์ ครองสัดส่วนถึง 70% ของรายได้บริษัททัวร์ตลอดปีปกติ จึงเป็นสาเหตุทำให้บริษัททัวร์เจ็บหนักจากโควิด-19 และคาดหวังว่าช่วงครึ่งปีหลังนี้จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาบ้างเพื่อให้บริษัททัวร์อยู่รอด
นายวิชิต กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเริ่มมีความพร้อมในการออกเดินทางท่องเที่ยว ยังต้องดูความพร้อมของทั้งฝั่งไทยและจีน หากสามารถเคลียร์ให้เป็นประเทศปลอดเชื้อได้เร็ว ตลาดจีนเที่ยวไทยก็จะสามารถฟื้นตัวได้เร็ว โดยจากการสอบถามคู่ค้าในประเทศจีนล่าสุด แจ้งมาว่าประเทศไทยถือเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ที่ชาวจีนต้องการออกไปเที่ยวมากที่สุด
“ในกรณีที่ประเทศจีนและไทยสามารถยุติการแพร่ระบาดได้ มีโอกาสที่ชาวจีนจะเดินทางมาไทยในเดือน ก.ค.นี้ เบื้องต้นเริ่มที่กลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุน พ่อค้าก่อน และคาดว่าจะกลับมาเดินทางเป็นปกติ 100% หรือมีชาวจีนเดินทางเข้าไทยเดือนละไม่ต่ำกว่า 9 แสนคนในเดือน ต.ค.นี้เป็นต้นไป” นายกแอตต้ากล่าว

Source : อ่านเนื้อหาข่าวได้ที่ กรุงเทพธุรกิจ

** ตามรูปภาพ
     Covid-19 เชื้อไวรัสมงกุฎมฤตบูมรณะล้างโลก แพร่เชื้อไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อแล้วกว่าวามล้านคนและมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่าสองแสนคนทั่วโลก[04 /05 /2563[  ส่งผลกระทบไปทุกๆมิติ ทั้งเศรษฐกิจและสังคมของไทย โดยเฉพาะธุรกิจด้านการท่องเที่ยวสายการบิน บริษัททัวร์  โรงแรม เป็นต้น ต้องหยุดชนักทันที ตามมารตการหยุดการแพร่เชื้อโควิด-19 เมืองท่องเที่ยวชายทะเลอย่างเมืองพัทยาจึงเงียบบรรยากาศในยามค่ำคืนที่เคยคราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวอย่างหนาตา สถานบริการที่เคยคึกคัก กลายเป็นเงียบเหงา แม้บนถนนก็ไร้รถรา ตามที่ทางการได้ประกาศใช้ พรบ. บริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 และประกาศเคอร์พิวส์ รวมทั้งเมืองพัทยาได้ทำการปิดเมือง [Lockdown] ตั้งแต่วันที่20 เมษายนจนถึงวันที่ 4 พ.ค.2563 ที่ผ่านมานั้น  เพื่อหยุดการแพร่เชื้อ Covid-19  ตามเวลาที่เมืองพัทยาได้ปิดเมือง[Lockdown]ตั้งด่านคัดกรองเพื่อตรวจเชื้อ Covid-19 อย่างเข้มข้นและไม่อนุญาตบุคคลที่ไม่ได้พักอาศัยในเมืองพัทยาเข้าสู่พื้นที่เมืองพัทยาโดยเด็ดขาด และผลปรากฎว่าไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 14 วัน--สุบรรณ์ : ถ่ายภาพ /คำบรรยาย-


--------------------------------------
ติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์
ข้อความคำคมแวะเติมกำลังใจ
ปลุกพลังบวก และ หลักคิด
ข่าวสารการตลาดที่น่าสนใจ
----------------------------------------
                    Suban  Kampaeng
                 Cryptocurrency Expert
                 
               Mobile:064-005-11377

                 Blogger SubanBlog 
      suban2008.blogspot.com
l[icense number|pub-1584973184431863]








      


วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

COVID-19 Update 05-05-2020

 ข้อมูล ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2563

๐ World | ทั้งโลก ๐
ติดเชื้อสะสม  3,439,957
             ตาย  244,918
    รักษาหาย  1,095,389
  กำลังรักษา   2,099,650

๐ ประเทศไทย ๐
ติดเชื้อรายใหม่ +1
ติดเชื้อสะสม    2,988
             ตาย     54
    รักษาหาย     2,747
    กำลังรักษา    187



----------------------------------------
ติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์
ข้อความคำคมแวะเติมกำลังใจ
ปลุกพลังบวก และ หลักคิด
ข่าวสารการตลาดที่น่าสนใจ
----------------------------------------
 Suban  Kampaeng
   064-005-1137

       Blogger
Cryptocurrency Expert

license number|pub-1584973184431863


จี้ 'ประกันสังคม' จ่ายชดเชยว่างงาน 5 แสนราย โวย 'นายจ้าง' รับรองสิทธิ์แล้วยังไม่ได้เงิน|ข่าวกรุงเทพธุรกิจ

ผู้ประกันตนเดือดร้อน! จี้ "ประกันสังคม" เร่งจ่ายเงินว่างงาน 5 แสนราย บางคนโวย "นายจ้าง" รับรองสิทธิ์ส่งเรื่องแล้ว แต่ช้ายังไม่ได้เงิน


เช้าวันนี้ (5 พ.ค.) มีผู้ประกันตนเข้าไปสอบถามในเพจเฟซบุ๊คของ "สำนักงานประกันสังคม"กระทรวงแรงงาน จำนวนมาก กรณีจ่ายเงินให้กับผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ลงทะเบียนขอรับเงินทดแทน กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย หรือเพราะโควิด อัตรา 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน หลังชี้แจงเมื่อ 3 พ.ค. 2563 ซึ่งล่าช้า มีจำนวนผู้ประกันตนยื่นขอใช้สิทธิจำนวน 1,177,841 ราย ได้สั่งจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนไปแล้วทั้งสิ้น 426,358 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ 243,974 ราย และอยู่ระหว่างติดตามนายจ้างจำนวนกว่า 50,000 สถานประกอบการให้เข้ามารับรองสิทธิลูกจ้างจำนวน 507,509 ราย

อ่านรายละเอียดข่าวจาก : กรุงเทพธุรกิจ

----------------------------------------
ติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์
ข้อความคำคมแวะเติมกำลังใจ
ปลุกพลังบวก และ หลักคิด
ข่าวสารการตลาดที่น่าสนใจ
----------------------------------------
 Suban  Kampaeng
   064-005-1137

       Blogger
Cryptocurrency Expert
license number|pub-1584973184431863

เมื่อวิกฤติโลกซ้ำซาก กับความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย


จากเมืองที่ไม่เคยหลับไหล..
กลายเป็นเมืองที่เงียบเหงาและถนนที่ไร้รถรา..

                    -เขียนโดย สุบรรณ์ คำแพง-

เศรษฐกิจไทยที่เปราะบางเพราะต้องพึ่งพาและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกหรือนานาประเทศทั้งหลาย..
แม้ว่าไทยเองจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิด19ได้ดีกว่าใครๆ...  แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้น เจ็บตัวอีกครา..  เพราะพึ่งพาการท่องเที่บว และส่งออก เมื่อการระบาดของโควิด19ส่งผลกับกิจกรรมเศรษฐกิจที่หยุดนิ่ง จากมารตการหยุดการระบาดของนานาประเทศ การ Lockdown หรือปิดประเทศเกือบทั้งโลก การท่องเที่ยวต้องหยุดชงักทันที ภาคการท่องเที่บวก็ต้องเดี้ยงอย่างปฏิเสธไม่ได้  ทั้งการบิน ทัวร์ โรงแรม นิ่งทันที !! คาดการว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยถดถอย ติดลบไม่น้อยกว่าร้อยละห้าในปีนี้..
    ผลจากวิกฤติการเงินสหรัฐเมื่อปี2008 และมีวิกฤติซ้ำซากเรื่อยมา สงครามการค้าของสหรัฐ-จีน
ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตเพียงน้อยนิดเรื่อยมาเช่นกัน...

Update : Covid19 04 พ.ค.2563



ติดเชื้อแล้วกว่าสามล้านคนทั่วโลก ยอดผู้เสียชีวิตทะลุเกินสองแสนคนแล้ว และสหรัฐอเมริกา ยังคงมีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลก ตัวเลขผู้ติดเชื้อทะลุเกินหนึ่งล้านคนและ ยอดผู้เสียชีวิตร่วมๆเจ็ดหมื่นคนแล้ว

ข้อมูล ณ 04 พ.ค.2563
รวมติดเชื้อ 3,591,703
เสียชีวิตแล้ว 249,057



สหรัฐอเมริกาพบผู้ติดเชื้อเพิ่มวันเดียวสามพันกว่าคน และมีคนตายเพิ่มวันเดียวสูงถึงร้อยกว่าคน

 UK. ติดเชื้อแสนแปดกว่าๆ
เสียชีวิตใกล้ๆสามหมื่นแล้ว

จีนยังคงอยู่ที่แปดหมื่นกว่าๆ
ตายเกือบห้าพัน

รัสเซียก็ทะลุไปล้านกว่าๆ
ตายพันกว่าคน

สถานการณ์ยังคงวิกฤติต่อไป เมื่อยังวิจัยวัคซีนไม่สำเร็จ..  ตัวเลขคงเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย...

Toggle navigation​ ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโล เวลานี้ คงไม่มีประเด็นใดที่คนสนใจได้มากเท่ากับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ยกระดับให้เป็น “ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic)” แล้ว แม้มีข่าวดีจากจีนที่สถานการณ์เริ่มทรงตัว แต่การแพร่ระบาดในประเทศอื่นนอกจีนกลับขยายไปมากกว่า 60 ประเทศ โดยข้อมูล ณ 15 มี.ค. 63 มีผู้ติดเชื้อสะสม 1.4 แสนราย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 10 อันดับแรกมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันสูงถึงกว่า 2 ใน 5 ของโลก

This Time is Different: ผลกระทบครั้งนี้ไม่เหมือนอดีต

          นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกออกมาวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกว่าจะมีผลกระทบผ่านห่วงโซ่อุปทานโลกจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบ เนื่องจากจีนซึ่งเป็นโรงงานผลิตและส่งออกสินค้าขั้นกลางรายใหญ่ของโลก จำเป็นต้องหยุดการผลิตตามที่ทางการจีนมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด “อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” ต่างจากการระบาดของโรคซาร์สในมณฑลกวางตุ้งในปี 2546 โดยเฉพาะการปิดเมืองอู่ฮั่นซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดรวมทั้งเมืองใหญ่อื่น ๆ

          ต้องไม่ลืมว่าเมืองอู่ฮั่นเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ เป็นศูนย์กลางการค้าการขนส่งของจีน ทั้งรถไฟและสนามบินที่เชื่อมต่อกับสายการบินหลักของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่วิกฤตินี้จะส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรง อย่างไรตาม ผลกระทบต่อการผลิตอาจต่างกันในแต่ละประเทศขึ้นกับการพึ่งพาวัตถุดิบขั้นกลางจากจีนและความแตกต่างกันของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ส่วนใหญ่มีระบบการผลิตแบบสินค้าคงคลังเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory) หรือ Just in time มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงมากกว่า

ผลกระทบคาดว่าจะรุนแรงกว่าซาร์ส

          หลายสถาบันคาดว่า COVID-19 จะสร้างมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงกว่ากรณีของโรคซาร์สที่มีจุดกำเนิดที่จีนเช่นกัน โดยครั้งนั้นมีการประเมินว่าทำให้ GDP โลกลดลง 54,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็น 0.14%สำหรับผลกระทบครั้งนี้ ในด้านการค้าโลกรายงานของ UNCTAD (2020) ชี้ว่าดัชนีภาคการผลิต (PMI) ของจีนเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ลดลงต่ำสุดตั้งแต่ปี 2547 และประเมินว่าจะสร้างความเสียหายต่อการส่งออกในห่วงโซ่อุปทาน 50,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีผลกระทบมากสุดใน EU (15,600 ล้านดอลลาร์ สรอ.) รองลงมาคือ สหรัฐฯ (5,800 ล้านดอลลาร์ สรอ.) ญี่ปุ่น (5,200 ล้านดอลลาร์ สรอ.) เกาหลี (3,800 ล้านดอลลาร์ สรอ.) เวียดนาม (2,300 ล้านดอลลาร์ สรอ.) ขณะที่ไทยติดอยู่ที่อันดับ 11 ด้วยมูลค่าความเสียหาย 700 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยอุตสาหกรรมผลิตยางและพลาสติก เครื่องมือเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์ ในไทยเป็นสาขาที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด




          ด้านการท่องเที่ยว สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ประเมินว่ากรณีที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัด รายรับการท่องเที่ยวโลกจะลดลง 63,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเอเชียจะได้รับผลกระทบสูงสุด รองลงมาคือ ยุโรปอื่น ญี่ปุ่น อิตาลี และเยอรมนี ซึ่งล้วนเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนักท่องเที่ยวจีนขณะที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประเมินว่า จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และสูญเสียรายได้กว่า 2.5 แสนล้านบาท

          เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลกระทบครั้งนี้คาดว่าจะมากกว่าในกรณีของการระบาด 3 ครั้งใหญ่ ได้แก่ โรคซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ 2009 และโรคเมอร์ส เนื่องจากเศรษฐกิจจีนมีขนาดใหญ่กว่าเดิม รวมทั้งมีความเชื่อมโยงทั้งการค้า การลงทุน การขนส่งกับโลกมากขึ้น ในปี 2561 เศรษฐกิจจีนมีขนาด 16% ของเศรษฐกิจโลก ใหญ่กว่าช่วงการระบาดของซาร์ส 4 เท่า และมีขนาดคิดเป็น 13% ของมูลค่าการส่งออกโลก 39% ของการผลิตอุตสาหกรรมโลก และคิดเป็น 18% ของมูลค่าการท่องเที่ยวโลก รวมทั้งปัจจุบันที่มีระดับโลกาภิวัตน์ขั้นสูงที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกันทั้งด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคมวัฒนธรรมมากขึ้นกว่าในอดีต



สถานการณ์ข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง แต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาสและสร้างบทเรียนเสมอ

          สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดการเงินโลกเคลื่อนไหวเร็วตามความกังวลของนักลงทุน ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี รวมถึงตลาดหุ้นไทยปรับลดลงทุบสถิติต่ำสุดในรอบหลายปี OECD (3 มี.ค. 63) มองเหตุการณ์เป็น 2 สถานการณ์ สถานการณ์แรก การแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัด โดยสถานการณ์ในจีนจะรุนแรงสูงสุดในไตรมาส 2 และทยอยคลี่คลายลง ขณะที่สถานการณ์นอกจีนมีการแพร่ระบาดมากขึ้นแต่ยังอยู่ในวงจำกัด ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกปี 2563 ขยายตัวต่ำลง 0.5% แต่จะกลับมาดีขึ้นในไตรมาส 3 สถานการณ์ที่สอง การแพร่ระบาดขยายวงกว้าง ประเทศอื่นนอกจีนควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ กรณีนี้ความเสียหายน่าจะสูงและกินเวลานานเป็นปี ขณะที่ความเห็นของ IMF (4 มี.ค. 63) ระบุว่าผลกระทบจะทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวต่ำกว่าปีก่อน แต่จะลดลงเท่าใดคาดเดายาก ขึ้นกับความสามารถในการควบคุมการระบาดของประชาคมโลก



          แม้สถานการณ์จะรุนแรงแต่ในวิกฤตย่อมมีโอกาสและสร้างบทเรียนเสมอ รายงานของ World Economic Forum (2020) นำเสนอกรณีศึกษาของจีนพบว่า การระบาดครั้งนี้ทำให้เห็นพัฒนาการหลายอย่าง อาทิ (1) ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชนในการจัดการวิกฤติ COVID-19 ที่มีความโปร่งใส รับฟังความเห็นของประชาชนผ่าน Social Media ทั้ง WeChat และ Weibo (2) การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังที่รวดเร็วเพื่อลดผลกระทบ และ (3) โอกาสใหม่ๆ ของภาคธุรกิจ วิกฤติครั้งนี้ช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี มีการให้บริการแก่ผู้บริโภคทางออนไลน์มากขึ้นทั้งการค้า การศึกษา และธุรกิจบันเทิง



          ในระยะข้างหน้า สิ่งสำคัญที่เราน่าจะได้เห็นจากเหตุการณ์นี้คือ การพัฒนาด้านสาธารณสุขและการยกระดับความร่วมมือการทางแพทย์ทั่วโลกจะมีความสำคัญมากขึ้น การเปิดรับ Social Norms ใหม่ ๆ ที่เป็นผลพวงจากการใช้ระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อาทิ สังคมไร้เงินสด การทำงานทางไกล และ เหนือสิ่งอื่นใด ประชาคมโลกต้องร่วมกันปฏิบัติตามมาตรฐานสุขภาพระหว่างประเทศเพื่อลดผลกระทบจากภัยคุกคามนี้ และเราจะผ่านเหตุการณ์นี้ไปด้วยกันเพราะ “We are in the same boat and live under the same sky”

เอกสารอ้างอิง:

- Knobler S, Mahmoud A, Lemon S, et al., editors. Learning from SARS: Preparing for the Next Disease Outbreak: Workshop Summary. Washington (DC): National \Academies Press (US); 2004.Available from:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK92473/

- IATA (2020), COVID-19 Initial impact Assessment of the Novel Coronavirus, IATA Economics, 20 February

- UNCTAD (2020), Technical Note Global trade impact of the Coronavirus (COVID-19) Epidemic 4 Marchhttps://unctad.org/en/PublicationsLibrary/ditcinf2020d1.pdf

- UNCTAD (2020), Coronavirus Outbreak Has Cost Global Value Chains $50 billion in Exports, UNCTAD news, 4 March

- UN (2020), Coronavirus COVID-19 Wipes $50 billion off Global Exports in February Alone, as IMF Pledges Support for Vulnerable Nations, Economic Development, UN News, 4 Marchhttps://news.un.org/en/story/2020/03/1058601

- WEF World Economic Forum (2020), Coronavirus in China – Insights on the Impacts and Opportunities for Change, 4 March

Source : ธนาคารแห่งประเทศไทย

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

----------------------------------------
ติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์
ข้อความคำคมแวะเติมกำลังใจ
ปลุกพลังบวก และ หลักคิด
ข่าวสารการตลาดที่น่าสนใจ
----------------------------------------

 Suban  Kampaeng
   064-005-1137

 




       Blogger
Cryptocurrency Expert
SubanBlog |suban2008.blogspot.com
license number|pub-1584973184431863

“หยวนดิจิทัล” ความพยายามของจีนที่จะโค่น US Dollar"

จีนกำลังจะเป็นประเทศแรกของโลกที่ออกเงินดิจิทัลของชาติบนบล็อคเชน ในตอนนี้เงินดิจิทัลนี้กำลังถูกทดสอบใน 4 เมืองทั่วประเทศจีน ได้แก่ เซินเจิ้น สงอัน เฉิงตูและซูโจว โดยที่เมืองสงอันจะมีการมุ่งเน้นการทดสอบในร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ เช่น McDonald และ Starbucks



      จีนยุคใหม่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมาก รัฐบาลเองก็สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีทุกรูปแบบ
ที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นว่าจีนเน้นไปที่ AI แต่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้ประกาศในการประชุมกับทางสำนักการเมืองของคณะกรรมการกลางของพรรคว่าจะสนับสนุนบล็อคเชนเทคโนโลยีเพื่อ “เป็นผู้นำในตลาดเกิดใหม่ของบล็อคเชน” ในช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงตอนนี้เราจึงได้ยินข่าวเรื่องการพัฒนาบล็อคเชนจากจีนเยอะมาก ถึงแม้จีนจะเพิ่งประกาศออกมาแต่แท้ที่จริงแล้วจีนได้ซุ่มพัฒนาเงินดิจิทัลบนบล็อคเชนของตัวเองมานานถึง 6 ปีแล้ว และในปีนี้โปรเจคลับที่ซุ่มทำมานานถึง 6 ปีก็พัฒนามาถึงขั้นทดสอบเรียบร้อย

DCEP (DC/EP) หรือ Digital Currency Electronic Payment คือสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติของจีนซึ่งถูกสร้างขึ้นบนเทคโนโลยีบล็อคเชนและการเข้ารหัส (Cryptographic) เป็นหลัก (แต่มีเทคโนโลยีอื่นผสมด้วยเพราะข้อจำกัดบางประการของบล็อคเชน) DCEP จะถูกยึดกับเงินหยวนในอัตรา 1:1 สกุลเงินนี้แตกต่างจาก Libra ของ Facebook ที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทเอกชนตรงที่ DCEP ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐบาลจีนเอง ดังนั้นเราสามารถเรียกมันได้อย่างเต็มปากว่าหยวนดิจิทัล DCEP จะมีการใช้งานหลักๆอยู่สองแบบ หนึ่งคือการใช้สำหรับการค้าทั่วไป สองคือการใช้โอนเงินภายในของธนาคาร

ทีนี้ก็มาถึงคำถามสำคัญ ทำไมจีนถึงสร้างหยวนดิจิทัลขึ้นมา?
ผู้นำสถาบันวิจัยสกุลเงินดิจิทัลของจีนให้เหตุผลในการสร้างสกุลเงินดิจิทัลว่า “เพื่อปกป้องอธิปไตยทางการเงินและสถานะทางการเงินของจีน เราต้องวางแผนสำหรับในช่วงเวลาคับขัน” อาจเป็นเพราะประวัติศาสตร์ที่เคยโดนล่าอาณานิคมทำให้จีนหวงแหนอำนาจอธิปไตยของตัวเองมาก

James A. Garfield ประธานาธิบดีคนที่ 20 ของอเมริกาเคยกล่าวไว้ว่า “Whoever controls the volume of money in any country is absolute master of a7ll industry and commerce” แปลได้ว่าใครก็ตามที่สามารถควบคุมเงินในประเทศไหนก็ได้คือผู้ชนะในทุกอุตสหกรรมและการค้า สิ่งที่ทำให้อเมริกาเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งเป็นเวลานานนั้นไม่ใช่เพราะแสนยานุภาพของกองทัพแต่เป็นสกุลเงิน US Dollar ต่างหาก เงินดอลลาร์ถือได้ว่าเป็นสกุลเงินของโลกมาเป็นเวลานาน ข้อมูลจาก IMF ชี้ว่าในปัจจุบันมากกว่า 61% ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกเป็นเงินดอลลาร์ซึ่งอยู่ในรูปเงินสด พันธบัตร และตราสารหนี้ต่างๆ และกว่า 40% ของหนี้ทั่วโลกก็อยู่ในสกุลดอลลาร์เช่นกัน ถ้าจีนไม่รีบพัฒนาเงินดิจิทัลของตัวเองขึ้นมาแล้วปล่อยให้ทางอเมริกาไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือ Facebook ทำสำเร็จก่อน จีนเองจะมีความเสี่ยงที่จะโดนดอลลาร์ควบคุมมากขึ้นกว่าเดิม

แต่นอกจากเพื่อรักษาอธิปไตยทางการเงินแล้ว จีนยังต้องการผลักดันให้เงินหยวนดิจิทัลกลายเป็นตัวเลือกในการใช้ทำ Cross Border Payment หรือการชำระเงินข้ามพรมแดนแทน SWIFT ซึ่งจะเป็นการเพิ่มการหมุนเวียนของเงินหยวนในระดับโลก แน่นอนว่าความหวังสูงสุดของจีนคือการได้เป็นสกุลเงินของโลกแบบเงินดอลลาร์

โปรเจคระดับชาติของประเทศที่เป็นมหาอำนาจลำดับสองของโลกย่อมต้องสร้างแรงสั่นสะเทือนไปในทุกระดับ แต่ในบทความนี้เราจะโฟกัสไปที่ผลกระทบของหยวนดิจิทัลกับเรื่องการเงินของโลกเท่านั้น

สำหรับเงินหยวน: ในขั้นต้นสกุลเงินหยวนไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรเพราะ DCEP คือการเปลี่ยนรูปเงินหยวนแบบกระดาษไปสู่รูปแบบดิจิทัลเท่านั้นเอง ดังนั้นมันจึงไม่มีผลกระทบอะไรมาก แต่ถ้าในระยะยาวหยวนดิจิทัลถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นซึ่งรวมถึงการค้าระหว่างประเทศหรือเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ในตอนนั้นเงินหยวนจะมีอำนาจมากขึ้นในเวทีโลก

สำหรับอเมริกา: นักวิเคราะห์ของนิตยสาร Fortune ได้วิเคราะห์ไว้ว่า ชัยชนะของจีนในสังเวียนสกุลเงินดิจิทัลอาจจะส่งผลเสียต่ออเมริกาและกลุ่มทุนของประเทศทางตะวันตกถ้าธุรกิจระหว่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องผ่านธนาคารหรือองค์กรที่อเมริกาควบคุมอยู่ อเมริกาจะสูญเสียสิทธิในการลงโทษ (Sanction) ประเทศอื่นๆเวลาทำผิดกฏการค้าหรือทำอะไรให้อเมริกาไม่พอใจ นอกจากนี้ประเทศคู่ค้าของจีนก็จะไม่จำเป็นต้องกังวลถึงความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์ (ปกติการค้าระหว่างประเทศจะถูกแปลงเป็นเงินดอลลาร์ก่อนเพราะเราใช้ระบบ Money Settlement ของอเมริกา) ทำให้ประเทศเหล่านี้ไม่ต้องตุนดอลลาร์ไว้ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศซึ่งจะส่งผลให้เงินดอลลาร์มีความต้องการน้อยลงและอาจส่งผลต่อความเสื่อมอำนาจของเงินดอลลาร์

ธนาคารกลางประเทศต่างๆ: ในขั้นแรกธนาคารกลางของประเทศต่างๆอาจจะไม่รู้สึกถึงผลกระทบของหยวนดิจิทัล แต่เมื่อเวลาผ่านไปธนาคารกลางของหลายประเทศที่จีนเป็นคู่ค้าสำคัญหรือประเทศที่ประชาชนไม่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจหรือรัฐบาลของประเทศตัวเองอาจจะเริ่มปวดหัวไปตามๆกัน ในประเทศเหล่านี้ประชาชนอาจจะพอใจที่จะใช้เงินหยวนมากกว่าเงินของประเทศตัวเอง เราอาจจะเคยเห็นมาแล้วว่าประชาชนในประเทศที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจหรือการเมืองพอใจที่จะถือสกุลเงินต่างประเทศมากกว่าของประเทศตัวเอง ด้วยความที่หยวนชนิดใหม่นี้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลทำให้มันไร้พรมแดน คนสามารถเก็บเงินจำนวนมหาศาลไว้ในโทรศัพท์เครื่องเดียวได้ หากประชาชนจำนวนมากเลิกใช้เงินของประเทศตัวเองเมื่อไหร่นั้นหมายความว่าประเทศนั้นได้เสียอำนาจอธิปไตยทางการเงินของตัวเองไปเรียบร้อยแล้ว หยวนดิจิทัลอาจจะมากระตุ้นให้เกิดสิ่งเหล่านี้เร็วขึ้น

ส่วนธนาคารกลางของประเทศที่เห็นจีนเป็นภัยคุกคามก็จะเริ่มออกสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติออกมาเพื่อพยายามรักษาอำนาจทางการเงินของประเทศตัวเอง อย่างน้อยเราสามารถมั่นใจได้เลยว่าประเทศในกลุ่ม G20 หรือแม้กระทั้งไทยเองจะต้องออกสกุลเงินของตัวเองในรูปแบบดิจิทัลออกมาในที่สุด

ธนาคารพาณิชย์ประเทศต่างๆ: ธนาคารพาณิชย์ในประเทศต่างๆอาจจะต้องเริ่มทบทวนบทบาทและโมเดลธุรกิจของตัวเองใหม่ แม้ว่าหยวนดิจิทัลจะยังไม่มีผลกระทบทางตรงกับธนาคารเหล่านี้ แต่ผลกระทบทางอ้อมนั้นก็รุนแรงไม่แพ้กัน นั้นก็คือถ้าธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้ออกสกุลเงินดิจิิทัลของประเทศออกมาในที่สุด ประชาชนอาจจะเริ่มตั้งคำถามแล้วว่าทำไมเรายังต้องเอาเงินไปฝากธนาคารในเมื่อเราสามารถเก็บไว้กับตัวได้ ธนาคารพาณิชย์ที่มีโมเดลธุรกิจในการเอาเงินฝากของลูกค้ามาทำธุรกิจอาจจะต้องเตรียมพร้อมถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงในอนาคต

สำหรับประเทศไทย(และประเทศอื่นๆ): หยวนดิจิทัลจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อไทยอย่างรวดเร็วแบบ Libra ของ Facebook นั้นก็เพราะว่าประเทศจีนไม่ได้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มที่มีคนไทย 40 กว่าล้านคนใช้งานอยู่แล้ว คนไทยโดยส่วนใหญ่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรในการจองใช้เงินหยวน อย่างไรก็ตามไทยอาจโดนจีนบีบให้ใช้หยวนดิจิทัลในการทำการค้ากับจีนเพื่อที่จะกระตุ้นความต้องการเงินหยวนในระดับโลก คุ้นๆเรื่อง Belt and Road Initiative หรือเส้นทางสายไหมยุคใหม่ที่จีนเป็นคนเริ่มไหมครับ?  นั้นแหละครับ Think Future คิดว่าคงโดนบังคับใช้กันทุกประเทศในเส้นทางเลย ผู้ประกอบการที่ทำการค้ากับจีนอาจจะต้องเปิดบัญชีบนบล็อคเชนของหยวนดิจิทัลเพื่อที่จะสามารถทำธุรกิจได้เช่นเดียวกับที่ผู้ประกอบการเหล่านี้เปิดรับ Alipay และ Wechat Pay และแน่นอนถ้าไทยใช้หยวนดิจิทัลเมื่อไหร่จีนก็จะรู้ความเคลื่อนไหวของเงินระหว่างไทย-จีนมากขึ้นกว่าเดิมซึ่งอาจจะทำให้เกิดความได้เปรียบทางการค้ากับไทยในอนาคต

Source : THINK FUTURE
----------------------------------------
>  ติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์ 
>  ข้อความคำคมแวะเติมกำลังใจ
>   ปลุกพลังบวก และ หลักคิด
>   ข่าวสารการตลาดที่น่าสนใจ
------------------------------------------
 S B   Suban Kampaeng
     
             Blogger
   [Cryptocurrency Expert]
   
   Mobile 0640051137         SubanBlog | suban2008.blogspot.com
license number|pub-1584973184431863

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Special News Report : 3 เดือนโควิด-19 ระบาดพลิกชะตาสหรัฐฯ

  Special News Report

3 เดือนโควิด-19 ระบาดพลิกชะตาสหรัฐฯ



3 เดือนก่อนหน้านี้ คงไม่มีใครคาดคิดว่า สหรัฐฯ จะกลายเป็นประเทศที่ครองอันดับ 1 ผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-19 มากที่สุดในโลก เกิดอะไรขึ้นในสังคมอเมริกันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เหตุใดสถานการณ์การแพร่ระบาดลุกลามไปอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ติดตามสถานการณ์ข่าวได้ในรายการ
Source 
ThaiPBS  ข่าวค่ำ มิติใหม่ทั่วไทย
ชมย้อนหลังได้ทาง

----------------------------------------
>  ติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์ 
>  ข้อความคำคมแวะเติมกำลังใจ
>   ปลุกพลังบวก และ หลักคิด
>   ข่าวสารการตลาดที่น่าสนใจ
------------------------------------------------
 S B   Suban Kampaeng
     
             Blogger
   [Cryptocurrency Expert]
   
   Mobile 0640051137         SubanBlog | suban2008.blogspot.com
license number|pub-1584973184431863

หูเป่ยเผยรายงาน ไม่พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 30 วันติดต่อกันแล้ว : XinhuaThai

รายงานข่าวจากสำนักข่าวชินหัวของจีน ในเช้าวันนี้
(04 พฤษภาคม 2563 ,08:00) : XinhuaThai


หูเป่ยเผยรายงาน ไม่พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 30 วันติดต่อกันแล้ว

อ่านรายละเอียดข่าว : XinhuaThai

Source :  สำนักข่าวซินหัว / ภาษาไทย
https://www.xinhuathai.com/china/102497_20200504
----------------------------------------
>  ติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์
>  ข้อความคำคมแวะเติมกำลังใจ
>   ปลุกพลังบวก และ หลักคิด
>   ข่าวสารการตลาดที่น่าสนใจ
-----------------------------------------





   Suban Kampaeng
     [064-0051337]

        Blogger
   Cryptocurrency expert

SubanBlog | suban2008.blogspot.com
license number: pub-1584973184431863]


Most watched