วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ร.๑๐ ลดภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหลือร้อยละหกจุดสาม ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ถึง วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑



ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา
ออกตามในประมวลกฎหมายรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๔๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ มีความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเพพยวรางกูล มีพระราชโองการโปรดเกล้าให้ปรับปรุงการอัตราการลดภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหลือร้อยละหกจุดสามในการขายสินค้าและบริการ การนำเข้าทุกกรณี มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ไปจนถึง วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละเก้าในวันที่ `๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ฯ

พระสงฆ์ไทยห้ามยุ่งการเมืองนะจ๊ะ

  

ฮือฮา! ทั้งแผ่นดิน เมื่อมีคำสั่งเจ้าคณะปกครองฉบับพิเศษ ส่งตรงถึงเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาส ตามลำดับชั้น
               แฟนเพจ "ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย“ ถึงกับพาดหัวข่าว ”เปิดคำสั่งเจ้าคณะปกครอง !! ยกเครื่องคณะสงฆ์ไทยทั่วสังฆมณฑล พร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย"
               เนื่องจากขณะนี้ได้มีคำสั่งจากเจ้าคณะปกครอง อันประกอบด้วย
               สมเด็จพระวันรัต (จุณฑ์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.9) วัดบวรนิเวศวิหาร  เขตพระนคร กรุงเทพฯ ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุต
               สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9) วัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เจ้าคณะใหญ่หนกลาง (มหานิกาย)
               พระวิสุทธิวงศาจารย์(วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.9) วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
               สมเด็จพระพุฒาจารย์(สนิท ชวนปญฺญ ป.ธ.9) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
               พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ ป.ธ.7) วัดกะพังสุรินทร์ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง เจ้าคณะใหญ่หนใต้
               คำสั่งเจ้าคณะปกครองดังกล่าว มี 6 ข้อ โดยมีเนื้อหาเหมือนกัน เป็นการควบคุมดูแลพระภิกษุสามเณรในปกครอง ให้อยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด อีกทั้งให้กำกับดูแลการแสดงความเห็นต่างๆ ที่อาจจะเป็นไปเพื่อการยุยงปลุกปั่นอีกด้วย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวทั่วประเทศ
               ในคำสั่งฉบับพิเศษ สื่อมวลชนส่วนใหญ่เน้นการนำเสนอข้อ 5 ที่ห้ามติดแผ่นป้ายโฆษณาพระพุทธรูป พระเครื่อง วัตถุมงคล และเทวรูป ในสถานที่ต่างๆ และขอให้เจ้าคณะเขตสอดส่องดูแลการโฆษณา การจัดสร้างพระบูชาวัตถุมงคล และเทวรูปทางสื่อต่างๆ อย่างใกล้ชิด อีกทั้งพระอุโบสถ เป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรมทุกวัด จึงไม่ควรจำหน่ายพระบูชา วัตถุมงคล และเทวรูปต่างๆ ทั้งภายใน และบริเวณพระอุโบสถ
               นอกจากนั้น มีเรื่องขอให้พระสังฆาธิการตรวจสอบพฤติกรรม และควบคุมจริยาของพระภิกษุสามเณร ไม่ให้ประพฤติเสียหาย อาทิ การแสดงกิริยาวาจา ที่ไม่สมสมณสารูป ไม่สอดคล้องกับเพศ หรือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทางไม่เหมาะสม เป็นต้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปพระพุทธศาสนา
               มีรายงานข่าวว่า จริงๆแล้ว คำสั่งดังกล่าว ไม่ใช่เป็นคำสั่งใหม่ แต่เป็นคำสั่งที่เคยมีบัญญัติและเป็นสิ่งที่คณะสงฆ์สมควรปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ด้วยเวลาผ่านไป ส่วนใหญ่การบังคับใช้กฎระเบียบ มักจะถูกผู้ควบคุมกฎและผู้ปฏิบัติ ละเลย ย่อหย่อน ทำให้มีการประพฤติผิดอาบัติ จนเกิดความเสื่อมเสียแก่คณะสงฆ์มาเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย จึงได้หารือคณะกรรมการ มส. และคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ สมควรที่จะออกคำสั่งดังกล่าวออกมาแจ้งให้มีการบังคับใช้ เพื่อกำชับซ้ำให้พระสังฆาธิการคุมเข้มพฤติกรรมพระภิกษุสามเณร ไม่ให้มีพฤติกรรมเสื่อมเสีย
               ที่สำคัญ แก่นแกนของคำสั่งเจ้าคณะปกครองล่าสุด น่าจะอยู่ในข้อ 2 ที่ว่าด้วยเรื่องการเมืองและความมั่นคงแห่งรัฐ 
               “ข้อ 2 พระภิกษุสามเณร ผู้วิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงออกในแนวทางกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสุขของประชาชน หรือส่อไปในทางยั่วยุ ปลุกปั่น ทำลาย ก้าวร้าวรุนแรงและไม่สร้างสรรค์ ให้พระสังฆาธิการกวดขันควบคุมพระภิกษุ สามเณร ผู้มีพฤติกรรมดังกล่าว มิให้กระทำการเช่นว่านั้น และหากเข้าข่ายละเมิดกฎหมายบ้านบ้านเมืองให้ประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด” 
               อนึ่ง โครงสร้างการปกครองบังคับบัญชาเจ้าคณะภาค แบ่งออกเป็น เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายมหานิกาย และเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุตมีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดในคณะสงฆ์แต่ละนิกาย ในสายการบังคับบัญชา เจ้าคณะใหญ่ยังต้องอยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม มีเขตการปกครองดังนี้
               เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค 1,2,3,13,14 และ 15
               เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค 4,5,6 และ 7
               เจ้าคณะใหญ่หนใต้ ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครอง คณะสงฆ์ มหานิกาย ภาค 16, 17 และ 18
               เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครอง คณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 8, 9, 10, 11 และ 12
               เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุตทุกภาค 
               เขตการปกครองคณะสงฆ์ทั้ง 18 ภาค ประกอบด้วยจังหวัด ต่างๆ ดังนี้
               ภาค 1 มี 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
               ภาค 2 มี 3 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และ สระบุรี
               ภาค 3 มี 4 จังหวัด คือ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี
               ภาค 4 มี 4 จังหวัด คือ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
               ภาค 5 มี 4 จังหวัด คือ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก และอุตรดิตถ์
               ภาค 6 มี 6 จังหวัด คือ ลำปาง พะเยา เชียงราย แพร่ และน่าน
               ภาค 7 มี 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน และ แม่ฮ่องสอน
               ภาค 8 มี 4 จังหวัด คือ อุดรธานี หนองคาย เลย และสกลนคร
               ภาค 9 มี 4 จังหวัด คือ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด
               ภาค 10 มี 5 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร ศรีสะเกษ และนครพนม
               ภาค 11 มี 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ สุรินทร์
               ภาค 12 มี 3 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา
               ภาค 13 มี 4 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
               ภาค 14 มี 4 จังหวัด คือ นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และสมุทรสาคร
               ภาค 15 มี 4  จังหวัด คือ ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์
               ภาค 16 มี 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
               ภาค 17 มี 5 จังหวัด คือ ภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ และระนอง
               ภาค 18 มี 6 จังหวัด คือ สงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การทรงเจ้าเข้าผี : สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

การทรงเจาเขาผี: วิถีพระ วิถีพุทธ
Raising Spirits of the Dead : Buddhist Path
อาจารยรัตนะ ปญญาภา*

บทคัดย่อ

การทรงเจาเขาผีถือเปนรูปแบบความเชื่อที่ถูกนําเขามาเปนสวนหนึ่งในระบบความเชื่อแบบพุทธ ทั้งที่จริง
แลวขัดแยงตอกับจุดประสงคที่แทจริงของพระพุทธศาสนาที่มุงเนนวิถีแหงปญญา อยางไรก็ตาม พระพุทธศาสนาไมได
ปฎิเสธเรื่องเทพเจาหรืออิทธิปาฏิหาริย แตชี้วา เทพเจาตกอยูภายใตกฎธรรมชาติ การวิงวอนตอเจาหรือขอพึ่งพาเทพ
เจาจึงเปนเรื่องไรสาระและเปนการดําเนินชีวิตโดยประมาท สวนประเด็นการทรงเจาในมุมมองพระพุทธศาสนาโดยสรุป
มีดังนี้ การทรงเจาและรางทรงของพระอรหันตไมสามารถเปนไปได เพราะพระอรหันตไดหลุดพนจากการเวียนวาย
ตายเกิดโดยประการทั้งปวงแลว, การทรงเจาและรางทรงของพระภิกษุ ถือเปนการผิดตอพระวินัยโดยสิ้นเชิง เพราะ
พระพุทธเจาไมทรงสนับสนุนอิทธิปาฏิหาริย ถาพระสงฆแสดงอิทธิปาฏิหาริยถือวาผิดตอพระวินัยบัญญัติ, การทรงเจา
และรางทรงของเทพ ไมใชแนวทางที่ประเสริฐตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะการวิงวอนขอความชวยเหลือจาก
เทวดาไมสามารถจะตานทานหรือกีดกันความเพียรพยายามของมนุษยได และการเขาทรงและรางทรงของวิญญาณ
ทั่วไป เชน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ควรจะพึ่งพาดวยการถือเปนแบบอยางในการดําเนินชีวิตตาม
พระจริยาวัตรอันทรงคุณประโยชนของพระองค

Abstract

Raising spirits of the dead has been brought in and became a part of Buddhist belief despite it
actually goes against the real objective of Buddhism that emphasizes on the path of wisdom. Although
Buddhism doesn’t refuse the existence of gods or magical power, it points out that gods also fall under the
law of nature. Therefore, pleading with or depending on gods is nonsense, living in negligence. The issues
about raising spirits of the dead in Buddhist aspects can be concluded as follows. Raising spirits of arahant
is impossible because arahant go into nirvana, free from the circle of life forever. Raising spirits by a monk
directly violates the Buddhist disciplines because the Buddha doesn’t support magical power. So, if a monk
shows any kinds of magical power, he violates the disciplines. Raising spirits of gods isn’t a noble path
according to the Buddhism principles because pleading with gods for helps can’t resist or obstruct humans’
attempts. And raising spirits of general spirits, for example the spirit of King Rama V, is improper. His
Majesty should be an excellent example of living, making benefits for other people.
 °°°°°°°°°°°°°°°°°°°°
*
ป.ธ.๙, อ.ม. (จริยศาสตรศึกษา) อาจารยสาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อ่านต่อ

วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

พรบ.แรงงานฉบับที่ 6 ปี พ.ศ.2560

นายจ้างลูกจ้างในการทำงานร่วมกันจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด เพราะกฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างจะกำหนดกฎกติกามารยาทให้มีมาตรฐานขั้นต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายที่คุ้มครองแรงงานไม่ได้คุ้มครองนายจ้าง เพื่อให้ทำงานร่วมกันอย่างสงบสุข เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 ได้มีการแก้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560 เกี่ยวกับการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มบางประเภท การจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ลดขั้นตอนไม่ต้องส่งให้กับทางราชการอีกต่อไป เพียงแต่ประกาศโดยเปิดเผยเท่านั้น และสามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย รวมถึงการแก้ไขข้อบังคับก็เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับเรื่องการเกษียณอายุของลูกจ้างให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างและต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน การฝ่าฝืนไม่จ่ายเงินเลิกจ้างจากการเกษียณอายุมีบทลงโทษจำคุกและปรับ ซึ่งนายจ้างจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รายละเอียดปรากฏตามเนื้อหาของกฎหมายข้างล่างนี้


พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560


อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มบางประเภท
มาตรา 87 ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นโดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ  มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม


การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะกำหนดให้ใช้เฉพาะกิจการ งานหรือสาขาอาชีพประเภทใด เพียงใด ในท้องถิ่นใดก็ได้


เพื่อเป็นการส่งเสริมการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงานสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มหรือบางประเภทคณะกรรมการค่าจ้างอาจพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่แตกต่างจากที่พิจารณากำหนดในวรรคสองเพื่อใช้สำหรับลูกจ้างกลุ่มนั้นหรือประเภทนั้นในกิจการ  งานหรือสาขาอาชีพประเภทใด เพียงใดในท้องถิ่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ค่าจ้างดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดตามวรรคสอง


ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละอาชีพตามมาตรฐานฝีมือที่กำหนดไว้ โดยวัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้และความสามารถ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด


การจัดให้มีข้อบังคับการทำงาน
มาตรา 108 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย และข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการ ดังต่อไปนี้

(1) วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
(2) วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
(3) หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
(4) วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด
(5) วันลาและหลักเกณฑ์การลา
(6) วินัยและโทษทางวินัย
(7) การร้องทุกข์
(8) การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ

ให้นายจ้างประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป และให้นายจ้างจัดเก็บสำเนาข้อบังคับไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา

ให้นายจ้างเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง หรือเพิ่มเติมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยก็ได้ เพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบและเข้าถึงได้โดยสะดวก


การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการทำงาน
มาตรา 110
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างประกาศใช้ตามมาตรา 108 ให้นายจ้างประกาศข้อบังคับที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น และให้มาตรา 108 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม


การเกษียณอายุให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง
มาตรา 118/1 การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง


ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้  หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง


การทำงานร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างต้องอาศัยความเข้าใจกันมากกว่าการใช้กฎระเบียบมาบังคับ







ขอบคุณข้อมูลจาก decha.com

HBD Google 27 September 2017 วันเกิดปีที่ 19 ของ Google

HBD Google 27 September 2017
วันเกิดปีที่ 19 ของ Google

[Sourcehttps://www.google.com/doodles/googles-19th-birthday]
  • 27 กันยายน ค.ศ. 2017

    วันเกิดปีที่ 19 ของ Google

  • They say life is full of surprises, and Google’s history is chock-full of them. In fact, we wouldn’t be here without them.
    In 1997, one of Google’s co-founders, Larry Page, had just arrived at Stanford University to pursue his P.h.D in computer science. Of all the students on campus, Google’s other co-founder, Sergey Brin, was randomly assigned to show Page around. This chance encounter was the happy surprise that started it all.
    From there, the two came together with a common goal in mind: to organize the world’s information and make it universally accessible and useful, a mantra that would go on to become Google’s mission statement. The two hunkered down in a garage - Google’s first office - and got to work.
    Billions of searches later, perhaps the happiest happenstance has been how Google has grown throughout the past 19 years. Named for the number “googol” (a 1 followed by one hundred zeroes), Google inches closer to its namesake each year, currently serving more than 4.5 billion users in 160 countries speaking 123 languages worldwide.
    Upon clicking today's Doodle, we invite you to explore 19 surprises we've launched over the past 19 years - including our brand new Search easter egg: Snake Game! So give it a spin and thanks for celebrating with us!

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกำหนดวันสุดท้ายของการกราบถวายบังคมพระบรมศพ ถึง 5 ต.ค. 60


ตามที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชานุญาตให้ประชาชนได้เข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นมา นั้น และเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๖๐ สำนักพระราชวังได้มีประกาศ เรื่องการเข้ากราบถวายบังคม พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จะขอเปิดให้ประชาชนได้เข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ เป็นวันสุดท้าย เพื่อดำเนินการจัดเตรียมการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้เป็นไปด้วยความสมบูรณ์เรียบร้อย และสมพระเกียรติไปแล้วนั้น

     บัดนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตระหนักถึงความอาลัยรัก ความศรัทธา และความจงรักภักดีของประชาชนทุกหมู่เหล่า ที่มีต่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้มุ่งมั่นที่จะเดินทางเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพ สักครั้งหนึ่งในชีวิตของตนเองเพื่อความเป็นสิริมงคล ภายในห้วงระยะเวลาที่เหลืออยู่จากประกาศของสำนักพระราชวังที่ได้กำหนดไว้ ก่อนที่จะถึงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เพื่อส่งเสด็จสู่สวรรคาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

     ด้วยทรงซาบซึ้งในน้ำใจ ทรงห่วงใยว่าประชาชนจะมีโอกาสกราบถวายบังคมพระบรมศพได้ไม่ทั่วถึง และเพื่อพระราชทานขวัญและกำลังใจแก่ประชาชน ในการนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เลื่อนกำหนดวันสุดท้ายของการกราบถวายบังคมพระบรมศพ จากเดิมวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ ออกไป เป็นถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. ของคืนวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน สำนักพระราชวัง

Source : JS100

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

Most watched