วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560

รู้จักเอชบอมบ์เขย่าโลก! เกาหลีเหนือโวจุดระเบิดประสบความสำเร็จแล้ว



ATOMIC BOMB EXPLOSION EVER CAUGHT ON CAMERA (1955) HYDROGEN BOMB TEST SOVIET RDS-37 TEST
คำแถลงความสำเร็จในการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ไฮโดรเจน หรือเอช-บอมบ์ สำหรับติดตั้งที่หัวรบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ในวันที่ 3 ก.ย.2560 เป็นอีกครั้งที่สร้างกระแสความตื่นตะลึงให้กับประชาคมโลก เพราะนอกจากเป็นการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่ 6 ของเกาหลีเหนือ ทั้งที่ถูกมาตรการลงโทษจากสหประชาชาติทุกทิศทางแล้ว

ยังเป็นอาวุธนิวเคลียร์แบบพลังงานความร้อนที่มีอานุภาพเหนือกว่าระเบิดนิวเคลียร์ทั่วไป
ระเบิดนิวเคลียร์ทั่วไป หรือเอ-บอมบ์ นั้นใช้หลักการ “แตกตัว” หรือฟิชชั่น ของอะตอมแร่โลหะหนัก เช่น ยูเรเนียม 235 ทำให้ปลดปล่อยพลังงานความร้อนมหาศาล

นายคิม จองอึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือตรวจสอบการโหลดระเบิดไฮโดรเจนเข้ากับขีปนาวุธข้ามทวีป ภาพเผยแพร่เมื่อ 3 ก.ย.  (Korean Central News Agency/Korea News Service via AP)

แต่ระเบิดนิวเคลียร์พลังงานความร้อน (เธอร์โมนิวเคลียร์) อย่างเอช-บอมบ์นั้นใช้หลักการ “รวมตัว” หรือฟิวชั่น ของ ดิวทีเรียม ซึ่งก็คือไฮโดรเจนที่มีอนุภาคนิวตรอน และทริเทียม ไฮโดรเจนที่มีอนุภาคนิวตรอน 2 อนุภาค
ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชั่น ระหว่างดิวทีเรียมกับทริเทียมจะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิราว 15 ล้านองศาเซลเซียส ดังนั้นเอช-บอมบ์ จึงมีการระเบิดขั้นแรกเป็นแบบเดียวกันกับเอ-บอมบ์ เพื่ออาศัยพลังงานจากจุดนี้ไปป้อนให้เกิดการฟิวชั่นและเกิดเป็นการระเบิดขั้นต่อมา
ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.student.chula.ac.th ระบุว่า พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันมีค่ามากกว่าพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน เมื่อเปรียบเทียบจากมวลส่วนที่เข้าทำปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันในนาม ลูกระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb)

Nuclear Fusion

เชื่อกันว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันคือ นิวเคลียสของไฮโดรเจน 4 ตัวหลอมรวมกันได้นิวเคลียสของฮีเลียม อนุภาคโพสิตรอน มีมวลส่วนหนึ่งหายไป มวลส่วนที่หายไปเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจำนวนมหาศาล

เอช-บอมบ์ที่ทรงพลังที่สุดในบันทึก คือ “ซาร์ บอมบา” (AN602) ของสหภาพโซเวียต ทดสอบเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2504 หรือปีค.ศ.1961 แรงระเบิดมากกว่าเป็น 10 เท่าของแรงระเบิดทั้งหมดที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมกัน

ทำให้ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตตกลงยุติการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
กระทั่งกลับมาเขย่าขวัญในครั้งนี้กับการทดสอบของเกาหลีเหนือ

ไม่มีความคิดเห็น:

Most watched