วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นาฬิกาชีวิต


ช่วงเวลา ระบบที่เกี่ยวข้อง 
01.00-03.00 น. ตับ นอนหลับพักผ่อนให้หลับสนิท
03.00-05.00 น. ปอด ตื่นนอน สูดอากาศบริสุทธ์
05.00-07.00 น. ลำไส้ใหญ่ ขับถ่ายอุจจาระ
07.00-09.00 น กระเพราะอาหาร กินอาหารเช้า
09.00-11.00 น. ม้าม พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ
11.00-13.00 น. หัวใจ หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปว
13.00-15.00 น. ลำไส้เล็ก งดกินอาหารทุกปะเภท
15.00-17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เหงื่อออก ( ออกกำลังกายหรืออบตัว )
17.00-19.00 น. ไต ทำให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน
19.00-21.00 น. เยื่อหุ้มหัวใจ ทำสมาธิหรือสวดมนต์
21.00-23.00 น. ระบบความร้อนของร่างกาย ไม่ควรอาบน้ำเย็น และตากลม ควรทำให้ร่างกายอบอุ่น
23.00-01.00 น. ถุงน้ำดี ดื่มน้ำปริมาณน้อยก่อนเข้านอน

การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์ อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่านอวัยวะภายในร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง

อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต

อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบความร้อนของร่างกาย ( ชานเจียว )

การไหลเวียนของพลังชีวิต ( ลมปราณ ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลา 2 ชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “ นาฬิกาชีวิต “

ตัวอย่าง เช่นการไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น. และสูงสุดในช่วงประมาณ 04.00 น. จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลง และออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น. การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดจึงควรอยู่ระหว่างเวลา 05.00 น.

ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตก คือ ยาดิติตาลิส ในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว ( มีการคั่งของน้ำในปอด ) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น. จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่นเป็นต้น

การเคลื่อนไหวของพลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฎเกณฑ์แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา ( นาฬิกาชีวิต ) ร่างกายเราจึงมีกลไกการปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทำงานของระบบต่าง ๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป

การดำเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็นหลักฐานของการมีสุขาพที่ดีและมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้

01.00 - 03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนกลางคืนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน
( melatonin ) เพื่อฆ่าเชื้อโรคทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งมีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดฟิน ( endorphin ) ออกมาด้วยจึงไม่ควรกินอาหารเพราะจำทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว
หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ
1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย
2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อย ๆ จะทำให้ตับทำงานหนัก ตับจะหลั่งน้ำย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทำหน้าที่หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ

03.00 - 05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์และรับแสงแดดในยามเช้าผู้ที่ตื่นนอนในช่วงนี้เป็นประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้น คนตื่นสาย ปอดจะไม่แข็งแรง

05.00 - 07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ให้ดื่มน้ำ 2 แก้ว เพื่อขับของเสียออกจากร่างกายผ่านอุจจาระและปัสสาวะ

07.00 - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารเช้าในช่วงนี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย

09.00 - 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้ายและมีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศีรษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ
- ม้ามโต ม้ามจะไปเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย
- ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมันจึงทำให้อ้วนง่าย

ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00 – 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ

11.00 - 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรืออาการตกใจให้ได้

13.00 - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก จึงควรงดกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลำไส้ทำงาน ลำไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารที่เป็นน้ำทุกชนิด เช่น วิตามิน ซี บี โปรตีนเพื่อสร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมองซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

15.00 - 17.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจากหัวตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า
นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับระบบความจำ ไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด
ช่วงเวลานี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัว กระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง
การอั้นปัสสาวะบ่อย ๆ ปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เหงื่อออกมามีกลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ

17.00 - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนหลับแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก
- ไตซ้าย จะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน
- ไตขวา จะคุมสมองด้านซ้าย ซึ่งควบคุมด้านความจำ ถ้าไตขวามีปัญหาความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว ( ผู้ที่ไตแข็งแรงจะเป็นคนที่มีอายุยืน เป็นคนกล้า )
ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กไม่ได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ไตทำงานหนัก จึงกลายเป็นโรคไต ผู้ที่เป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ
การดูแล คือ แช่เท้า ในน้ำอุ่นควรใส่สมุนไพรที่ถูกกับโรคของผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง และใช้สมุนไพรขับเมือกมันในลำไส้ เช่น จตุผลาธิกะ

19.00 - 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงเวลานี้ควรจะสวดมนต์ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือหัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง
เยื่อหุ้มหัวใจ มีผลต่อการทำให้โคเรสเตอรอลสูง มีผลทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว เส้นเลือดตีบในสมองหรือคนที่เป็นเส้นเลือดขอด ให้ใช้กระเจี๊ยบแดงต้มกับพุทราไทยหรือจีนก็ได้ เติมน้ำตาลกรวดเล็กน้อย เอาไว้ล้างไขมันในเลือดได้ดีครับ

21.00 - 23.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น ไม่ควรอาบน้ำเย็น หรือตากลมในช่วงเวลานี้ เพราะจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่า

23.00 - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี ( ถุงน้ำดีเป็นถุงสำรองเก็บน้ำย่อยที่ออกมาจากตับ ) อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมาดึงน้ำจากถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกจะบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม ( ถุงน้ำดีจึงโยงไปถึงปอด ) จะปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบ ดังนั้นควรดื่มน้ำปริมาณน้อย ก่อนเข้านอน 


Cr 

ไม่มีความคิดเห็น:

Most watched