วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พระไตรปิฏก ความหมายและองค์ประกอบทั้งหมดของพระไตรปิฏก(คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์)

ความหมายของพระไตรปิฏก

ไตรปิฎก "ปิฎกสาม"; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า
กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับ ใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า
เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็น
หมวดหมู่แล้ว โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า
คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์
( และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา ) ๓ ชุด
หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด
กล่าวคือ
วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก
; พระไตร ปิฎก จัดแบ่งหมวดหมู่โดยย่อดังนี้
๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย
คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบ ธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ
ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์
(เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ ๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับ
อาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต
๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา
ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ
รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด ๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐
ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน ๔. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย
๑๒ ขันธกะ ๕. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ
บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย
พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่งเป็น
๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อในแบบต้นนั้นใหม่)คือ ๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์
(ศีล ๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์
(ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ๓. มหาวรรค ๔. จุลวรรค ๕. ปริวาร

บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น
๓ หมวด คือ ๑. วิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และ
ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้งสองแบบ
เข้าด้วยกัน) ๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ทั้ง
๒๒ ขันธกะหรือ ๒๒ บทตอน
(คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน) ๓. ปริวาร ว่า คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)
๒. พระสุตตันตปิฎก
ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา
คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคล
และโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า
และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่ง
เป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร ๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง
๑๕๒ สูตร ๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ
เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร ๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ
เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร ๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบาย
และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี
๑๕ คัมภีร์
๓. พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวด
พระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชา
ล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์
(เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ ๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่
แล้วอธิบายทีละประเภท ๆ ๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆแล้วตั้งเป็นหัวเรื่อง
แล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์
อายตนะ ธาตุ ๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคล
ประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ ๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ
สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ ๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ
โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ ๗. ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย๒๔
แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลาย
โดยพิสดาร
พระไตรปิฎกที่พิมพ์ด้วยอักษรไทยท่านจัดแบ่งเป็น
๔๕ เล่ม แสดงพอให้เห็นรูปเค้าดังนี้ ก. พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส
และอนิยตสิกขาบท(สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์
๑๙ ข้อแรก)
เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ
(เป็นอันครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗) เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑
๑ ของภิกษุณี เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ
ว่าด้วยการอุปสมบท
(เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธกะ
ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนังเภสัช กฐิน จีวร นิคหกรรม
และการทะเลาะวิวาท และสามัคคี เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ
ว่าด้วยเรื่องนิคหกรรม วุฏฐานวิธีและการระงับอธิกรณ์ เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ
ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยเรื่องเสนาสนะ สังฆเภท
วัตรต่างๆ การงด สวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑
และครั้งที่ ๒ เล่ม ๘ ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย
ข. พระสุตตันปิฎก ๒๕ เล่ม ๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร
หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร
ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย "มหา" เช่น มหาปรินิพพานสูตร
มหาสติ ปัฏฐานสูตร เป็นต้น เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร
เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียงเช่น จักกวัตติสูตร
อัคคัญญ สูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง
๕๐ สูตร เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลางมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลายมีพระสูตรขนาดกลาง
๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบ
บุคคลต่างๆ เช่นเทวดามาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้า
โกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่
มี ๑๑ สังยุตต์ เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลัก
ฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรม
สังสารวัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัด เป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ใ
นแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง
สมาธิและทิฏฐิต่างๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์
เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ
๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึง อสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์ เล่ม ๑๙ มหาวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗
แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์
สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์
สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณ
ของพระโสดาบันและอา นิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์
(พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญ
ของความมีกัลยาณมิตร เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)
๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑
หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔ เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖ เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด
๗-๘-๙ เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด
๑๐-๑๑
ใอังงคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ
ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะถึงปรมัตถะ ทั้งสำหรับบรรพชิต และ สำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน
๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ ขุททกปาฐะ
(บทสวดย่อยๆ โดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร
กรณียเมตตสูตร) ธรรมบท(เฉพาะตัวคาถาทั้ง ๔๒๓)
อุทาน(พุทธอุทาน ๘๐)
อิติวุตตกะ(พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย "เอวมฺเม สุตํ" แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า "อิติ วุจฺจติ"
รวม ๑๑๒ สูตร) และสุตตนิบาต
(ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่ง เป็นคาถาล้วนหรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว
รวม ๗๑ สูตร) เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือ
วิมานวัตถุ(เรื่องผู้เกิดในสวรรค์อยู่วิมาน
เล่าการทำความดีของตนใน อดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง)
เปตวัตถุ(เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน
๕๑ เรื่อง) เถรคาถา(คาถา ของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดง
ความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรมเป็นต้น)
เถรีคาถา(คาถาของ พระอรหันตเถรี ๗๓ รูป ที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น) เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑
รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อ
ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมี คาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก
ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต)
ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น
เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา
(ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต)
จบลงด้ว
ยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา
รวมอีก ๒๒ เรื่อง
บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตร
อธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร
ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตร
อธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร
ในปารายนวรรคและขัคควิสาณ สูตร ในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตร
อธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่นเรื่อง ญาณ ทิฏฐิ
อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร
เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ คาถาประพันธ์แสดงประวัติ
โดยเฉพาะในอดีตชาติ เริ่มด้วยพุทธอปทาน
(ประวัติของ พระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน
(เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถรอปทาน
(อัตตประวัติแห่งพระอร หันตเถระ) เรียงลำดับเริ่มแต่พระสารีบุตร
ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ
พระอนุรุทธ พระปุณณ มันตานีบุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ
พระอานนท์ ต่อเรื่อย ไปจนจบภาค ๑ รวม พระอรหันตเถระ ๔๑๐ รูป เล่ม ๓๓ อปทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดง
อัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐ ต่อ
นั้น เป็น เถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง
เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่ สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา
พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสี พระกีสา โคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา
พระภัททกาปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจน จบ ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มีคัมภีร์
พุทธวงส์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้า
ในอดีต ๒๔ พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคย
ได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์
เองรวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์
จบแล้วมีคัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด
แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก
แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่
ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ
ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม เล่ม ๓๔ ธัมมสังคณี ต้นเล่มแสดง มาติกา (แม่บท)
อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ
มีทั้งชุด ๓ เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง เป็นอดีตธรรม
อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และชุด ๒
เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรม
ชุดหนึ่ง รูปีธรรม อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม
โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่งเป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด
หรือ ๑๖๔ มาติกา จากนั้นขยายความมาติกาที่ ๑
เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม
และอัพยากฤตธรรมที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท
แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลาย
ในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา
ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ
(แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา) เล่ม ๓๕ วิภังค์ ยกหลักธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นมาแจก
แจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจน
จบไปเป็นเรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ
ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘อริยสัจจ์ ๔ อินทรีย์
๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌาน
อัปปมัญญา ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณ ประเภทต่าง ๆ และเบ็ดเตล็ดว่าด้วยอกุศลธรรมต่างๆ
อธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่าวิภังค์ของเรื่องนั้นๆ
เช่นอธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น รวมมี ๑๘ วิภังค์ เล่ม ๓๖ ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลาย
และข้อธรรมอื่นๆ อีก ๑๒๕ อย่าง
มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหนๆ
และปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้
เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน”
ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น
เพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ในพระพุทธศาสนา
ครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกแล้วถึง ๑๘ นิกาย
เช่นความเห็นว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้
เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจาก
กรรมเป็นต้น ประพันธ์เป็นคำปุจฉาวิสัชนา
มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑ คัมภีร์อธิบายหลักธรรม
สำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน
และทดสอบความ รู้อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
(ยมก แปลว่า คู่) เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล
เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล
เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์
(ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์
หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์
หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล
(เช่นกุศลมูล) ขันธ์
อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย
ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ
เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรม
เพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก
ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก
บรรจบเป็น ๑๐ ยมก เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑ คัมภีร์ปัฏฐานอธิบายปัจจัย
๒๔ โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัย
แก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ ธรรมที่นำมา
อธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บทหรือบท
สรุปธรรม ซึ่งกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเอง
แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่า
อภิธรรมมาติกา ปัฏฐานเล่มแรกนี้ อธิบายความหมาย
ของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน
จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ อนุโลมติกปัฏฐาน
อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย
ในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น
เช่นว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
(เพราะศรัทธา จึงให้ทาน จึงสมาทานศีล
จึงบำเพ็ญฌาน จึงเจริญวิปัสสนา ฯลฯ)
กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
(คิดถึงทานที่ตนได้ให้ ศีลที่ได้รักษาแล้ว
ดีใจ ยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิดราคะ ทิฏฐิ,
มีศรัทธา มีศีล มีปัญญา แล้วเกิดมานะว่า ฉันดีกว่า
เก่งกว่า หรือเกิดทิฏฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้นจึง
ถูกต้อง ฯลฯ) อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม
โดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะความอยากบางอย่าง
หรือเพราะมานะหรือทิฏฐิ จึงให้ทาน จึงรักษาศีล
จึงทำฌานให้เกิด ฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่ อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
(คิดถึงฌานที่ตนเคยได้แต่มาเสื่อมไปเสียแล้ว
เกิดความโทมนัส ฯลฯ) อย่างนี้เป็นต้น (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลมคือตามนัยปกติไม่
อธิบายตามนัยปฏิเสธจึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน) เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน
ต่อ คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรม
ทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น
อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
(พิจารณารูปเสียงเป็นต้น ที่ดับเป็นอดีตไปแล้วว่าเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น
ฯลฯ) เป็นต้น เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน
อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย
ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรมเป็น
ปัจจัยแก่โลกียธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะ
เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ เล่ม ๔๔ ปัฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน
แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย
ในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒
(ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา)
เช่น อธิบาย "กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม
เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ที่เป็นโลกียธรรมโดยอธิปติปัจจัย"
เป็นอย่างไร เป็นต้น
อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓
(ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๒
(ทุกมาติกา) อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓
(ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา)
โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่นอธิบายว่า
"กุศลธรรมที่เป็นอดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่
เป็นปัจจุบันธรรม" เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา)
กับธรรมในบทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่นชุดโลกียะ โลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนียปัฏฐาน
คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย
อย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ
แยกเป็น ปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ
เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ไม่ใช่ กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม+ปฏิเสธ
เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ ไม่ใช่โลกุตตรธรรมเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า
อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น
โดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร และในทั้ง ๓ แบบนี้
แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้ว
ต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๓
ชุด ๓ กับชุด ๒ ชุด ๓ กับชุด ๓
ชุด ๒ กับชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน
ดังนั้นแต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็น
ติก ทุก ทุกติก ติกทุก ติกติก ทุกทุก ตามลำดับ
(เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน
ปัจจนียทุกปัฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้ เรื่อยไป จนถึงท้ายสุดคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)
คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียด
เฉพาะเล่มต้นๆ เท่านั้นเล่มหลังๆ
ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้
ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้วเอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง
โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐
หน้ากระดาษพิมพ์ ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมดจะ
เป็นเล่มหนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว
ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า "มหาปกรณ์"
แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งโดยขนาดและโดยความสำคัญ
พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมี
เนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

Source : www.84000.org

ในทางพระพุทธศาสนา การกินเจ ไม่ได้บุญ และกินเนื้อ ก็ไม่เป็นบาป สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงตรัสไว้ชัด


การกินเจ (ตั้งใจไม่กินเนื้อสัตว์) จริงๆไม่ได้บุญอธิบาย คือ เราไม่กินข้าวขาหมู แล้วคิด(จินตนาการ) ว่า หมูจะไม่ถูกฆ่า เปรียบได้กับเรานั่งอยู่บ้านเฉยๆแล้วคิด(จินตนาการ) ว่า เราไปช่วยสอนหนังสือคนอนาถา บุญที่เราไปสอนหนังสือคนอนาถานั้น ไม่มี ไม่เกิด เพราะเรา นึกๆคิดๆไปเองไม่ได้ทำ ไม่ได้กระทำจริง
ถ้าอยากได้บุญ เราต้องช่วยชีวิตสัตว์ มี ๒ ข้อ คือ
๑.ช่วยชีวิตมันโดยการไถ่ชีวิต ซื้อสัตว์ที่กำลังถูกฆ่านำมาปล่อย
๒.เมตตาสัตว์ไม่ทำร้ายมัน อย่างนี้เป็นบุญ
แต่การกินเจ บุญไม่เกิด เพราะเราไม่ได้ลงมือกระทำจริง(ช่วยชีวิตสัตว์) เป็นเพียงแต่คิดไปเอง
พระเทวทัตเคย มาเสนอให้ชาวพุทธไม่กินเนื้อสัตว์พระพุทธเจ้าปฏิเสธ พร้อมให้เหตุผลว่า
๑. เนื้อสัตว์ไม่ใช่ของเหม็น อกุศลกรรมต่างหากที่เป็นของเหม็น
๒. พระต้อง ควรเป็นผู้เลี้ยงง่าย
๓. อนุญาตในการกินเนื้อสัตว์ที่ -ไม่เห็น -ไม่รู้ -ไม่ใช่เนื้อที่ฆ่าโดยเฉพาะให้ตน
๔. อาหารเป็นแค่ของเลี้ยงกายไม่ให้ตาย อย่าสนใจมาก
การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นบุญหรือไม่ ?
การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำอะไร เป็นบุญหรือไม่เป็นบุญนั้น ต้องอาศัยกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่าด้วย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความคิดเห็นของตนให้ตรง
เมื่อเทียบเคียงกับบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ วิธี แล้ว ไม่พบว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ รับประทานแต่พืชผักเป็นวิธีทำบุญข้อใดเลย จึงไม่นับว่าเป็นวิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา ลองคิดดูว่าถ้าการกินพืช เช่น ผัก หญ้า ได้บุญ แล้วสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ก็ต้องได้บุญมากกว่ามนุษย์ เพราะสัตว์พวกนี้กินพืชตลอดชีวิตไม่กินเนื้อสัตว์เลย
การกินเนื้อสัตว์ บาป หรือ ไม่ ?
การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
๕. เตนมรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ จึงถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ ผิดศีลข้อที่ ๑ เป็นบาป แต่ถ้าไม่ได้ลงมือฆ่าเอง และไม่ได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ก็ไม่เป็นบาป ตัวอย่าง เราไปจ่ายตลาด ซื้อกุ้งแห้ง ปลาดุกย่าง ปลาทู เนื้อหมู ฯลฯ เราได้มีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เหล่านั้นหรือไม่ สัตว์เหล่านั้นย่อมตายก่อนที่เราจะไปซื้อมาเป็นอาหาร ถึงเราจะซื้อหรือไม่ซื้อ สัตว์เหล่านั้นก็ตายอยู่แล้ว เราไม่ได้มีส่วนทำให้ตาย
มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า“นตฺถิปาปํอกุพฺพโต”แปลได้ความว่า“บาป ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ”
การกินผักก็อาจจะต้องฆ่าสัตว์ทางอ้อมไปด้วยเช่นกัน เพราะต้องไถดิน ใส่ปุ๋ย ใช้ยากำจัดแมลง อาจทำให้แมลงต่างๆ ไส้เดือนตายได้ ถ้าแบบนี้บาปก็คงไม่ต้องทำสัมมาอาชีพกันเลย
หลวงปู่แหวนท่านบอกว่า”ไอ้วัวควายกินหญ้าอยู่ตั้งนาน ไม่เห็นเป็นพระอรหันต์ซักตัว”
ขอขอบคุณที่มา : พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ถ้อยคำสำหรับถวายความอาลัย ช่วงราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.๙






ถ้อยคำสำหรับถวายความอาลัย ช่วงราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.๙

ขอขอบคุณรูปภาพและเนื้อหา
Cr. / Source : เฟซบุ๊คแฟนเพจ PANguin SAD

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยน้อมดวงใจถวายดอกไม้จันทน์ ณ พระเมรุมาศจำลอง 85 แห่งทั่วประเทศ



สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยน้อมดวงใจถวายดอกไม้จันทน์ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมราชบพิตร ในวันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ณ พระเมรุมาศจำลอง 85 แห่ง ทั่วประเทศ ดังนี้

กรุงเทพมหานคร
เขตดุสิต พระลานพระราชวังดุสิต
เขตวัฒนา  สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (เดิม)
เขตพระนคร  สวนนาคราภิรมย์
เขตพระนคร  ลานปฐมบรมราชานุสรณ์ พระพุทธยอดฟ้า
เขตพระนคร  ลานคนเมือง
เขตบางนา  ศูนย์นิทรรศการ และการประชุมไบเทคบางนา
เขตลาดกระบัง  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
อำเภอลำลูกกา  สนามกีฬาธูปะเตมีย์
อำเภอพุทธมณฑล  พุทธมณฑล

ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงราย  สนามบินเก่าฝูงบิน 416
จังหวัดเชียงใหม่  ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ
จังหวัดลำพูน  สนาม อบจ.ลำพูน
จังหวัดลำปาง  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
จังหวัดแพร่  สนามหลวงจังหวัดแพร่
จังหวัดน่าน  วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง
จังหวัดพะเยา  ลานอเนกประสงค์หลังเทศบาลฯ ริมกว๊านพะเยา
จังหวัดแม่ฮ่องสอน  สนามกีฬาเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
จังหวัดอุตรดิตถ์  วัดพระแท่นศิลาอาสน์

ภาคกลาง
จังหวัดกำแพงเพชร  สนามกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร
จังหวัดชัยนาท  สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดนครนายก  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดนครปฐม  พุทธมณฑล และศาลากลางจังหวัด
จังหวัดนครสวรรค์  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดนนทบุรี  วัดบัวขวัญ
จังหวัดปทุมธานี  สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปเตมีย์) และศาลากลางจังหวัดหลังเก่า
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ลานด้านหน้าพระราชวังโบราณ
จังหวัดพิจิตร  วัดท่าหลวง
จังหวัดพิษณุโลก  ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ
จังหวัดเพชรบูรณ์  ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดลพบุรี  วัดสิริจันทนิมิต
จังหวัดสมุทรปราการ  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดสมุทรสงคราม  วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
จังหวัดสมุทรสาคร  วัดเจษฎาราม
จังหวัดสระบุรี  ลานวงเวียนพระพุทธบาท
จังหวัดสิงห์บุรี  พุทธมณฑลจังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดสุโขทัย  โรงเรียนวัดไทยชุมพล
จังหวัดสุพรรณบุรี  วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
จังหวัดอ่างทอง  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดอุทัยธานี  วัดสังกัสรัตนคีรี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดกาฬสินธุ์  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดขอนแก่น  วัดป่าแสงอรุณ
จังหวัดชัยภูมิ  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดนครพนม  ศาลางกลางจังหวัดหลังเก่า
จังหวัดนครราชสีมา  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดบึงกาฬ  ที่ว่าการอำเภอเมือง
จังหวัดบุรีรัมย์  ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า
จังหวัดมหาสารคาม  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดมุกดาหาร  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดยโสธร  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดร้อยเอ็ด  ลานสาเกต บึงผลาญชัย
จังหวัดเลย  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดศรีสะเกษ  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดสกลนคร  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดสุรินทร์  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดหนองคาย  วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง
จังหวัดหนองบัวลำภู  วัดพิศาลรัญญาวาส พระอารามหลวง
จังหวัดอำนาจเจริญ  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดอุดรธานี  สนามทุ่งศรีเมือง
จังหวัดอุบลราชธานี  วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

ภาคตะวันออก
จังหวัดจันทบุรี  ลานขนส่งสินค้า อบจ.จันทบุรี
จังหวัดชลบุรี  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดตราด  สนามหลวงจังหวัดตราด
จังหวัดระยอง  สวนศรีเมือง
จังหวัดฉะเชิงเทรา  วัดโสธรวรารามราชวรวิหาร
จังหวัดปราจีนบุรี  วัดสง่างาม
จังหวัดสระแก้ว  สนามด้านหน้า อบจ.

ภาคตะวันตก
จังหวัดกาญจนบุรี  เกาะสมเด็จญาณสังวร
จังหวัดตาก  เขื่อนภูมิพล
จังหวัดเพชรบุรี  วัดคงคารามวรวิหาร
จังหวัดราชบุรี  วัดมหาธาตุวรวิหาร พระอารามหลวง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  วัดคลองวาฬ พระอารามหลวง

ภาคใต้
จังหวัดกระบี่  สวนสาธารณะธารา เทศบาลเมืองกระบี่
จังหวัดชุมพร  โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ ตำบลบางลึก
จังหวัดตรัง  ลานวัฒนธรรมทุ่งแจ้ง
จังหวัดนครศรีธรรมราช  สนามหญ้าหน้าเมืองนครศรีธรรมราช
จังหวัดนราธิวาส  ลานเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดปัตตานี  ลานวัฒนธรรมหน้าศาลากลางจังหวัด
จังหวัดพังงา  ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า
จังหวัดพัทลุง  หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า
จังหวัดภูเก็ต  สวนสาธารณะสะพานหิน
จังหวัดยะลา  สนามโรงพิธีช้างเผือกเทศบาลนครยะลา
จังหวัดระนอง  วัดสุวรรณคีรี
จังหวัดสงขลา  สระบัว แหลมสมิหลา
จังหวัดสตูล  ศาลากลางจังหวัด
จังหวัดสุราษฎร์ธานี  วัดกลางใหม่

ทั้งนี้้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1257  ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด และ http://kingrama9.net/


ภาพ/ข่าว : กลุ่มสื่อสารเชิงกลยุทธ์ สำนักโฆษก
CR : ศูนย์ข้อมูลข่าวสารงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

Source : เวบไซต์รัฐบาลไทย

Most watched