วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

รู้จักกฎหมายอาญามาตรา 116


ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 หรือข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” เป็นกฎหมายที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก เพราะมีเหตุให้ใช้ไม่บ่อย แต่ในระยะหลังมานี่เริ่มได้เห็น หรือได้ยิน ได้ฟัง มาตรานี้บ่อยขึ้น

รู้จักกฎหมายอาญามาตรา 116
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 บัญญัติไว้ว่า
          “มาตรา ๑๑๖ ผู้ใดกระทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
          (๑) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย
          (๒) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
          (๓) เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี”
 
มาตรา 116 นี้เขียนอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ลักษณะที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร จะเห็นได้ว่า มาตรา 116 เป็นความผิดอาญาที่มุ่งเอาผิด “การทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่น” หมายความว่า กฎหมายนี้เป็นกรอบกำกับการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
 
หากเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล วิพากษ์วิจารณ์กฎหมายที่เห็นว่าไม่ชอบธรรม หรือ สำหรับยุคที่มีรัฐธรรมนูญ หากเป็นการใช้เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นตามสิทธิขึ้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 116 และที่สำคัญเมื่อกฎหมายนี้อยู่ในหมวด “ความมั่นคง” การกระทำที่จะถือว่าผิดมาตรา 116 ผู้กระทำต้องมีเจตนาให้กระทบต่อความมั่นคงด้วย 
 
สำหรับการเรียกร้องต่อสาธารณะให้แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายที่เห็นว่าไม่เป็นธรรม หรือการเรียกร้องให้เปลี่ยนรัฐบาล หรือผู้นำประเทศ หากเป็นการเรียกร้องโดยสันติวิธีไม่มีการใช้กำลังเข้าบังคับ ก็ย่อมไม่ผิดตามมาตรา 116 (1)
 
ประมวลกฎหมายอาญา ไม่ได้ตั้งชื่อเล่นหรือชื่อเรียกสั้นๆ ให้กับมาตรา 116 เหมือนความผิดฐาน “ลักทรัพย์” “ยักยอกทรัพย์” หรือ “ทำร้ายร่างกาย” มาตรา 116 จึงถูกเรียกแตกต่างกันไป บางครั้งเรียกว่าความผิดฐาน “ยุยงปลุกปั่น” ซึ่งเป็นชื่อไม่เป็นทางการที่พอจะอธิบายลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดตามมาตรานี้ได้บ้าง แต่ไม่ถึงกับสมบูรณ์นัก
 
เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ความผิดในลักษณะนี้หลายประเทศเรียกว่า Sedition Law ซึ่งบางประเทศก็เขียนไว้ในกฎหมายอาญาเหมือนกับไทย บางประเทศก็กำหนดไว้ในกฎหมายพิเศษต่างหาก


Suban Kampaeng
Blogger

วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

So smile ^^


...  ถ้าวันนี้ยังยิ้มได้ ก็จงยิ้ม...
ถ้าวันนี้ยังพูดได้ อยากจะบอกรักใครก็จงเดินไปบอก..
ถ้าวันนี้ยังไม่เป็นง่อย อยากจะกอดใคร ก็จงไปกอด..  
(** ขออนุญาตุเขาก่อนนะ เดี๋ยวเขาตบเอา 555 **)

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

พระไพศาล วิสาโล แจง...ติเตียนพระ บาปไหม? อ้างอิงยุคพุทธกาล ฆราวาสทักท้วงดั่งมีผู้ชี้ขุมทรัพย์

"ติเตียนพระจะเป็นบาปไหม? "
โดย พระไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ

ถาม - การติเตียน พระภิกษุ เป็นการบาปหรือไม่คะ กรณีที่พระทำอะไรที่ผิดพระวินัย หรือ ทำอะไรออกนอกลู่นอกทาง ไม่เหมาะ เรามีสิทธิตักเตือนได้หรือไม่?

พระไพศาล วิสาโล ตอบ - การติเตียนพระภิกษุ จะบาปหรือไม่ อยู่ที่เจตนา หรือจิตใจ เช่น ถ้าทำด้วยใจที่มุ่งร้าย หรือแม้แต่ด้วยใจที่เป็นลบ เช่น โกรธ ไม่พอใจ ภาวะจิตใจเช่นนี้เป็นอกุศล จะเรียกว่าเป็นบาป ก็ได้ แต่ไม่ใช่บาป ระดับเดียวกับศีล ๕
การตักเตือนพระเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะพระส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการฝึกฝนพัฒนาตน ควรมีผู้แนะนำและทักท้วงเมื่อเห็นท่านประพฤติไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผู้ที่ทำเช่นนั้นถือว่าเป็นทั้งกัลยาณมิตรและผู้รักษาพระธรรมวินัย อันถือว่าเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของอุบาสกอุบาสิกา

ในสมัยพุทธกาล มีพระหลายรูปที่ถูกฆราวาสทักท้วงด้วยความปรารถนาดี เช่น นางวิสาขา เป็นที่มาของสิกขาบทหลายข้อในพระวินัย การกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญ ในส่วนของพระ เมื่อมีคนวิจารณ์ทักท้วง ควรมองว่าผู้นั้นคือ “ผู้ชี้ขุมทรัพย์” ดังที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำเอาไว้
สาธุ สาธุ สาธุ


เนื้อหาจาก : visalo.org  /ปุจฉา วิสัชนา พระไพศาล วิสาโล


วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Myself

"ตัวเราเอง"
ถ้าสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุด คุ้นเคยที่สุด ยังไม่เรียนรู้ยังไม่เข้าใจ...
ก็ป่วยการที่จะไปแสวงหาความหมายของสิ่งอื่นใดในโลก

           

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Life Begins

คนที่ #แข็งแกร่ง...
ไม่ใช่คนที่ทำให้คนอื่นล้มได้
แต่เป็นคนที่ #ล้มแล้วลุก
ลุกขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง
...

Most watched