ลิงก์ผู้สนับสนุน เรียบเรียงข้อมูลโดย Ch7 News Online
จากกรณีที่ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้
ซึ่งรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับใหม่นี้ ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนของความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน ที่สำคัญเอาไว้ดังนี้
ผู้จงใจให้ตนเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือตาย โดยไม่ใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
กฎหมายเดิม ไม่ได้รับสิทธิความคุ้มครอง
กฎหมายใหม่ ได้รับสิทธิความคุ้มครองผู้
ประกันตนประสบอันตรายหรือบาดเจ็บ
กฎหมายเดิม ได้รับเฉพาะค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ากินอยู่ และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์ ค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย
กฎหมายใหม่ เพิ่มสิทธิประโยชน์ในเรื่องค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนในกรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ผู้ประกันตนคลอดบุตร
กฎหมายเดิม สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรสำหรับตนเองหรือภริยา หรือสำหรับหญิงซึ่งอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยากับผู้ประกันตนโดยเปิดเผย ซึ่งได้ประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรให้ผู้ประกันตนแต่ละคนมีสิทธิได้รับสำหรับการคลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง โดยเหมาจ่ายครั้งละ 13,000 บาท และเงินสงเคราะห์กรณีหยุดงาน 90 วัน
กฎหมายใหม่ คงสิทธิตามเดิม แต่ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการรับสิทธิประโยชน์ เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมพิจารณาจากการที่ประเทศไทยมีอัตราการเกิดที่น้อยลง ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น จึงเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจให้ผู้ประกันตนมีความสามารถในการดูแลบุตรได้มากขึ้นการสงเคราะห์บุตรของผู้ประกันตนกฎหมายเดิม ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุ 0-6 ปี โดยบุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น โดยเป็นการเหมาจ่ายรายเดือนๆ ละ 400 บาทต่อคน จำนวนคราวละไม่เกิน 2 คนกฎหมายใหม่ แก้ไขสิทธิเพิ่มเติมเป็นคราวละไม่เกิน 3 คน
ผู้ประกันตนทุพพลภาพ
กฎหมายเดิม ให้สิทธิประโยชน์ในกรณีที่ผู้ประกันตน ต้องสูญเสียสมรรถภาพของร่างกาย 50% ขึ้นไป ถึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ และผู้ทุพพลภาพอยู่ก่อนวันที่ 31 มี.ค. 2538 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 15 ปี
กฎหมายใหม่ เพิ่มสิทธิให้ผู้ประกันตนซึ่งสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายไม่ถึง 50% ก็มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพตามกฎหมาย และให้สิทธิแก่ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพที่อยู่ก่อนวันที่ 31 มี.ค. 2538 ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตลอดชีวิต
ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย โดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
กฎหมายเดิม ถ้าก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 10 ปี ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับ 50% ของค่าจ้างรายเดือนที่คำนวณได้ คูณด้วย 3
กฎหมายใหม่ คงสิทธิประโยชน์ และปรับเพิ่มเป็นคูณด้วย 4กรณีก่อนถึงแก่ความตาย
ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
กฎหมายเดิม ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับ 50% ของค่าจ้างรายเดือนที่คำนวณได้ คูณด้วย 10 นั้นกฎหมายใหม่ คงสิทธิประโยชน์ และปรับเป็นคูณด้วย 12การระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพกฎหมายเดิม กำหนดให้ผู้ประกันตนที่ไม่มีทายาท เช่น บิดา มารดา บุตร และคู่สมรส ไม่สามารถทำหนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ โดยเงินบำเหน็จชราภาพจะตกเป็นของกองทุน
กฎหมายใหม่ ผู้ประกันตนสามารถทำหนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพล่วงหน้าได้ โดยมีสิทธิได้รับร่วมกับทายาท หรือหากไม่มีทายาทหรือไม่มีบุคคลที่ทำหนังสือระบุ จะให้สิทธิแก่พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ได้ รวมทั้งขยายระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนจาก 1 ปี เป็น 2 ปีสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน
กรณีเจ็บป่วยเรื้อรังจนถึงแก่ความตาย
กฎหมายเดิม ไม่ได้กำหนดสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน
กฎหมายใหม่ เพิ่มสิทธิประโยชน์ ได้แก่ เงินค่าทำศพ เงินสงเคราะห์กรณีตาย เงินชราภาพ แม้ส่งเงินสมทบไม่ครบตามสิทธิกรณี
ผู้ประกันตนว่างงาน
กฎหมายเดิม ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานเมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออกเท่านั้นกฎหมายใหม่ เพิ่มให้ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานแก่ผู้ประกันตนกรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว เนื่องจากเหตุสุดวิสัยโดยยังไม่มีการเลิกจ้าง จะมีการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้ลูกจ้างทั้งนี้
การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา โดยสำนักงานประกันสังคม จะเร่งออกกฎหมายลูกอีก 17 ฉบับ เพื่อรองรับกฎหมายภายในกรอบเวลา 120 วันอีกด้วย
เรียบเรียงข้อมูลโดย Ch7 News Online
ร่วมแบ่งปันข่าวสาร โดย Suban Blog
www.suban2008.blogspot.com/